- ชื่อเรื่อง : การคัดเลือกสายต้นมะคาเดเมียกลายพันธุ์ที่มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นพันธุ์การค้า (สหกิจศึกษา)
- title : Selection of Mutant Macadamia Tree Clone Trending to Improve as Commercial Variety
- ผู้แต่ง : นางสาวปวันรัตน์ โฉมจังหรีด
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมาพร เรืองสังข์ หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.ราชาวดี ยอดเศรณี ปีการศึกษา : 2563 - บทคัดย่อ :
โครงการกรณีศึกษาเรื่อง การคัดเลือกสายต้นมะคาเดเมียกลายพันธุ์ที่มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นพันธุ์การค้า มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของต้นและผลมะคาเดเมียที่มีลักษณะกลายพันธุ์ 2) เพื่อวิเคราะห์ผลผลิตของต้นมะคาเดเมียที่มีลักษณะกลายพันธุ์ 3) เพื่อคัดเลือกสายต้นมะคาเดเมียกลายพันธุ์ที่มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นพันธุ์การค้า
ผลการสารวจสายต้นมะคาเดเมียจากต้นพันธุ์ทั้งหมด 860 ต้นที่ปลูก ณ แปลงทดลองมะคาเดเมียศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเขาค้อ อาเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ศึกษาเฉพาะต้นที่มีลักษณะกลายพันธุ์ จากพันธุ์พื้นเมืองออสเตรเลีย ทั้งหมด 19 เบอร์ต้น พบว่าทั้ง 19 เบอร์ต้นมีลักษณะต้น ใบ ดอก ผล และผลผลิตแตกต่างกัน คัดเลือกได้ 3 เบอร์ต้น ที่มีลักษณะกลายพันธุ์ไปในทางที่ดี คือ เบอร์ 191, 524 และ 870 โดยเบอร์ 191 มีลักษณะ ผลขนาดเล็ก เปลือกหนา 0.2 มิลลิเมตร ผิวกะลาเรียบผสมขรุขระ กะลาบาง เนื้อในเต็มกะลาเล็กน้อย เมล็ดเล็ก ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาเฉลี่ยต่อไร่สูงสุดคือ 666 กก./ไร่/ปี รองลงมาคือเบอร์ 524 มีผลขนาดใหญ่ปานกลาง เปลือกหนา 0.2 มิลลิเมตร ผิวกะลาเรียบ กะลาหนาเล็กน้อย เนื้อในเต็มกะลา เมล็ดใหญ่ ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาเฉลี่ย 645 กก./ไร่/ปี และเบอร์ 870 มีผลขนาดใหญ่ เปลือกหนา 0.2 มิลลิเมตร ผิวกะลาเรียบ กะลาบาง เนื้อในเต็มกะลา เมล็ดใหญ่ ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาเฉลี่ย 624 กก./ไร่/ปี จึงมีแนวโน้มใช้เป็นพันธุ์แนะนาเกษตรกรได้ในอนาคต
- เอกสารอ้างอิง :
กรมวิชาการเกษตร. 2564. มะคาเดเมีย. กรุงเทพ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรรณิการ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. 2554. การประมาณค่าเส้นพรมแดนการผลิตเชิงเฟ้นสุ่ม ภายใต้ ฟังก์ชั่น การตัดสินใจเลือกผลิต กรณีศึกษาการผลิตกาแฟอาราบิก้า และถั่วแมคคาเดเมียใน ภาคเหนือของไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรวิชณ์ โยธวงษ์, ลดาวัลย์ สิงห์เงา, วิมลนันท์ พงศ์ภัทรกานต์. 2562. การผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือก แมคคาเดเมียที่กระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์, น. 35-43. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์ นวัตกรรมเพื่อชุมชน”. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
จิตอาภา จิจุบาล. 2551. เทคโนโลยีการผลิตและการจัดการคุณภาพของมะคาเดเมีย. ศูนย์วิจัยพืช สวนเพชรบูรณ์. สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. กรมวิชาการเกษตร.
จารอง ดาวเรือง. 2544. มะคาเดเมีย. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์.
ฐานิกา จันทร์เกิด, ชัญญานุช ชาวน่าน, มัทนา พรมมา, วิสาขา สายสุวรรณ. 2562. แมคคาเดเมียอบ. ปริญญาตรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิจิตร ศรีปินตา. 2553. การปรับปรุงพันธุ์มะคาเดเมีย. รายงานโครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร.
61 หน้า.
พิจิตร ศรีปินตา. 2553. โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มะคาเดเมีย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมวิชาการเกษตร.
พิจิตร ศรีปินตา. 2558. การปรับปรุงพันธุ์มะคาเดเมีย. รายงานโครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร. อ้างถึง กรมศุลกากร. 2552. สถิติการนาเข้าส่งออก.(ระบบออนไลน์). http://www.custos.go.th/statistic/.Index.jsp.
พิจิตร ศรีปินตา,ยุพาพร ภาพันธ, จิตอาภา จิจุบาล, วิมล แก้วสีดา. 2558. การทดสอบพันธุ์มะคาเดเมีย
ในแหล่งต่างๆ. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง). ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์. ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย.
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่. 2551. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตรจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลักสูตร “Farm Management on Upland
Crops”. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการ เกษตร. 275 หน้า.
อรดา สถาพร. 2549. การศึกษาการสกัดน้ามันและคุณสมบัติของน้ามันจากมะคาเดเมียที่ปลูกที่บ้าน ดอยช้าง, น. 1-54. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อนุ สุวรรณโฉม, จิตอาภา จิจุบาล, บุญปิยะธิดา คล่องแคล่ว, วิมล แก้วสีดา. 2558. การอนุรักษ์และ ศึกษาเชื้อพันธุกรรมมะคาเดเมีย. น. 30-60. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่จอนหลวง) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวน เชียงราย. กรมวิชาการเกษตร.
อภิชัย รุจิระชุณท์,ปราณี วราสวัสดิ์, อุมาพร ศิริพินท์, ธเนศ แก้วกาเนิด, สุมิตร เชื่อมชัยตระกูล, พัตรเพ็ญ เพ็ญจารัส และ ณัฐวีพร จันทพันธ์. 2546. รายงานผลการวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการแปรรูปผลผลิตในพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมการปลูกจากสถานีทดลองเกษตรที่สูง วาวี บ้านดอยช้าง. สภาวิจัยแห่งชาติสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อาทิตย์ วาณิชอดิศักดิ์, วารุณี เตีย, อาภาพรรณ ชัฏไพศาล. 2552. การศึกษาปริมาณกรดไขมันของ
มะคาเดเมีย. วิทยาศาสตรเกษตร. 40(3)(พิเศษ): 157-160.
Bittenbender, H.C. and Hirae, H.H. 1990. Common Problems of Macadamia Nut in Hawaii. Research Extension Series 112. College of Tropical Agriculture and Human Resources, HITAHR, University of Hawaii. p. 112.
Hamilton, R.A. 1988. Problems encountered in using rough shell macadamia M. tetraphylla as a rootstock for macadamia. Hawaii Macadamia Nut Assoc. 28th Annu. Proc: p. 22.
Urata U. 1954. Pollination requirements of macadamia. Hawaii Agricultural Experiment Station, University of Hawaii No. 22.
https://puechkaset.com/แมคคาเดเมีย/
https://web.facebook.com/AD-Mac-PY-319077921853575/photos/708644269563603
https://eda-land.ru/images/article/cropped/300-225/2015/06/maslo-makadamii-9.jpg
https://www.sanook.com/health/24313/
https://www.jatujakmall.com/macadamia-honey-2
https://old.mahidol.ac.th/th/research_innovation/2554/magca_coal.htm
https://oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว%20สศก./35118/TH-TH
https://sites.google.com/site/extension5701222068/kar-dulae-raksa
https://www.post-property.com/property/ขายสวนมะคาเดเมีย-ปลูก5ปี.html
https://www.nanagarden.com/product/311895
|