- ชื่อเรื่อง : ผลของ BA KN และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของว่านสี่ทิศในหลอดทดลอง
- title : EFFECT OF BA, KN AND NAA ON AMARYLLIS GROWTH IN VITRO
- ผู้แต่ง : นางสาวภรณ์ทิพย์ ชาญวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมกฤษณ์ แสงเงิน หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.ราชาวดี ยอดเศรณี ปีการศึกษา : 2563 - บทคัดย่อ :
การศึกษาผลของ BA KN และ NAA เพื่อให้ได้ระดับความเข้มข้นสารควบคุม การเจริญเติบโตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของว่านสี่ทิศในสภาพปลอดเชื้อ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยนาส่วนฐานหัวมาผ่าขนาด 0.5 เซนติเมตร เพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ระดับความเข้มข้น 0, 1, 2, 3 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายใต้ความความเข้มแสง 1,000 ลักซ์ ที่อุณหภูมิ 26 ± 2 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ความสูงมากที่สุดเฉลี่ย 7.85 เซนติเมตร และมีจานวนใบเฉลี่ย 2.87 ใบต่อต้น สาหรับสูตรอาหาร MS ที่เติม KN ระดับความเข้มข้น 0, 1, 2, 3 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า อาหารสูตรที่ไม่เติม KN ให้ความสูงมากที่สุดเฉลี่ย 3.64 เซนติเมตร และมีจานวนใบเฉลี่ย 1.00 ใบต่อต้น สาหรับการชักนารากโดยนาหัวว่านสี่ทิศขนาด 0.5 เซนติเมตร มาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม NAA ระดับความเข้มข้น 0, 0.25, 0.5, 0.75 และ 1.00 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.75 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จานวนรากมากที่สุดเฉลี่ย 16.33 รากต่อต้นราก เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรอาหารที่ไม่เติม NAA ให้การชักนารากน้อยที่สุดเฉลี่ย 2.93 รากต่อต้น
- เอกสารอ้างอิง :
กัญจนา แซ่เตียว, อิทธิสุนทร นันทกิจ และ วนิดา ดวงก้งแสน. 2554. ผลของวิธีการย้ายปลูกและวัสดุ ปลูกที่มีต่อการย้ายปลูกว่านสี่ทิศและซ่อนกลิ่น (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะ เทคโนโลยีการเกษตร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์. 2559. การใช้สารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินทดแทน ธาตุอาหารในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่านสี่ทิศ. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 44(1): 103-110.
ชลอ ดวงดารา. 2542. ไม้ดอกประเภทหัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร, สถาบันราช ภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
ดวงทิพย์ วิทยศักดิ์. 2539. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยา และเซลล์วิทยาของ ว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นพพร พัฒนพรพันธุ์. 2551. ว่านสี่ทิศ. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, กรุงเทพฯ.
ปรีดี เอกะวิภาค. 2526. การผลิตไม้ดอกประเภทหัวเขตร้อน. ภาควิชาพืชสวน, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 234 น.
ภพเก้า พุทธรักษ์, จินตนา แก้วดวงติ๊บ และ วารุต อยู่คง. 2554ก. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่านสี่ทิศและ บอนสีในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 19(1): 18-23.
ภพเก้า พุทธรักษ์, วารุต อยู่คง และ มณฑล สงวนเสริมศรี. 2554ข. การขยายพันธุ์ว่านสี่ทิศโดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ. ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. แหล่งที่มา: http://www.stdb.most.go.th/research_detail.aspx?Rese
วัฒนาวดี จินตภากร. 2542 การเจริญเติบโตของหัวว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เกษตรศาสตร์), สาขาวิชาพืชสวน, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 109 น.
สภาวุฒิ บุญอ่อน. 2546. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงกลีบหัวในสภาพปลอดเชื้อของว่านสี่ทิศ ดอกสีส้ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุชาดา พัฒนกนก. 2541. การสร้างลูกผสมว่านสี่ทิศกับรางนาค. ปัญหาพิเศษ, วิทยาศาสตร ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชาดา พัฒนกนก. 2542ก. เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
archld=14790, 9 มกราคม 2563.
สุชาดา พัฒนกนก. 2542ข. การปรับปรุงพันธุ์ว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชาดา พัฒนกนก. 2544. งานวิจัยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ว่านสี่ทิศไทย. สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
สุชาดา พัฒนกนก. 2545. งานวิจัยเรื่องการผลิตว่านสี่ทิศไทยพันธุ์ใหม่. สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
สุชาดา พัฒนกนก. 2549. งานวิจัยเรื่องลักษณะประจาพันธุ์บางประการของลูกผสมว่านสี่ทิศไทย ปี 2549. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.ปทุมธานี.
Aamir, A., Rabia, S,N., Saira, Y., Abdul, M. and Naima, H.N. (2013). Effect of Different Cytokinins and Auxins on Microopropagation and Callogenesis in Amaryllus (Amaryllis vittata). Asian Journal of Chemistry 25(1): 287-291.
Anuntalabhochai, S., Sitthiphrom, S. and Thongtaksin, W. (2007). Hybrid detection and characterization of Curcuma spp. Using sequence characterized DNA markers. Scientia Horticulturae 111: 389-393.
Huxley, A., Griffiths, M., and Levy, M. (1992). The new royal horticultural society dictionary of gardening. London: Macmillan.
Kantamaht, K., Tidarat, P., Wimon, W. and Kamnoon, K. (2011). Regeneration of lily (Lilium longiflorum ‘Easter lily’) by callus derived from leaf explants cultured in vitro. ScienceAsia 37: 373-376.
Murashige, T. and Skoog, F. (1962). A revised medium of rapid growth and bioassays with tobacco tissue cultures. Physiologia Plantarum 15: 473-497
Okubo, H. 1993. Hippeastrum. In A. Hertogh., & Le Nard M., (Eds.). The physiology of flower bulbs. pp. 323-334. Amsterdam: Elsevier Science.
Rees, A. R. 1992. Ornamental Bulbs, Corms and Tubers. Melksham, UK: Redwood.
Read, V. M. 2004. Hippastrum the Gardener’s Amaryllis. Cambridge; Timber Press.
อรดี สหวัชรินทร์. 2546. การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ว่านสี่ทิศ. แหล่งที่มา: https://www.ku.ac.th/e-magazine/february46/agri/bulb.html, 4 ธันวาคม 2562.
Zakizadeh, S., Kaviani, B. and Onsinejad, R. (2013). In vitro rooting of amaryllis (Hippeastrum johnsonii), a bulbous plant, via NAA and 2-iP. Annals of Biological Research 4(2): 69-71.
|