- ชื่อเรื่อง : การศึกษาสูตรเต้าหู้นมสดที่ทดแทนด้วยน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์
- title : A STUDY OF MILK CURD PRODUCT FORMULATING WITH CASHEW NUT MILK
- ผู้แต่ง : นางสาวรุ่งรวิน แจ่มศรี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัฒนี บุญวิทยา หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประธานหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันท์ปภัทร์ ทองคำ ปีการศึกษา : 2563 - บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเต้าหู้นมสดโดยใช้น้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งสูตรพื้นฐานที่ผ่านการคัดเลือกประกอบด้วย เจลาติน ผงวุ้น นมสด นมข้นจืด นมข้นหวาน และ น้ำ จากนั้นแปรอัตราส่วนน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ : นมสด เป็น 5 ระดับ ได้แก่ 0:100, 50:50, 75:25 และ 100:0 พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนการยอมรับเต้าหู้นมสดที่ทดแทนด้วยน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (75:25) ในด้านรสชาติ และความชอบโดยรวมสูงที่สุด (p<0.05) โดยค่าสี L* และ b* มีความสว่าง และความเป็น สีเหลืองน้อยที่สุด ขณะที่ค่า a* มีความเป็นสีแดงสูงที่สุด (p<0.05) ด้านความแข็ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระดับการแปรอัตราส่วนของน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (p<0.05) ส่วนค่าความยืดหยุ่นมีแนวโน้มลดลง (p≥0.05) องค์ประกอบทางเคมี สูตรที่ทดแทนด้วยน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (75:25) พบปริมาณ ไขมัน และเส้นใย สูงกว่าสูตรควบคุม (p≥0.05) เต้าหู้นมสดสูตรควบคุม และสูตรที่ทดแทนด้วยน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (75:25) คะแนนการยอมรับทางด้านสี กลิ่น เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีแนวโน้มลดลงตามระยะการเก็บรักษาที่นานขึ้น (p<0.05) จากการประเมินทางประสาทสัมผัส พบว่า ผู้ทดสอบชิม ให้คะแนนการยอมรับทางด้านความชอบรวมของสูตรควบคุม มีอายุการเก็บรักษา 6 วัน ขณะที่สูตรที่ทดแทนด้วยน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (75:25) เก็บรักษาได้ 4 เนื้อสัมผัสด้านความแข็ง และความยืดหยุ่นของทั้ง 2 สูตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในวันที่ 0-4 แต่มีแนวโน้มลดลงในวันที่ 6 (p<0.05) ในด้านสีค่า L* (ความสว่าง) และ a* ของทั้ง 2 สูตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยสูตรควบคุมมีแนวโน้มเป็นสีเขียว (-a*) และสูตรที่ทดแทนด้วยน้ำนมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (75:25) มีแนวโน้มเป็นสีแดง (a*) มากขึ้น ระยะเวลาการเก็บรักษาที่นานขึ้นไม่ส่งผลต่อ ค่า aw ในขณะที่ pH ของทั้ง 2 สูตร ค่อนข้างเป็นกรด
- เอกสารอ้างอิง :
กมลทิพย์ การไพเราะ. 2559. การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากดาหลาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเชิงสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี,มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
จุฑามาศ เรือนก้อน, ปิยะพร คงน้อย, พิมพ์ชนก พริกบุญจันทร์, ประภาศิริ ใจผ่อง และคำรบ สมะวรรธนะ. 2560. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบเต้าหู้นมสดด้วยนมเม็ดบัว. วารสารแก่นเกษตร. 45 ฉบับพิเศษ 1 : (2560)
ชูศักดิ์ แสงธรรม. 2542. มะม่วงหิมพานต์. พิมพ์ครั้งที่2. นนทบุรี: ศูนย์ผลิตตำราเกษตรเพื่อชนบท.
ไทยเกษตรศาสตร์. 2014. คุณค่าทางโภชนาการของนมพร้อมดื่ม. ไทยเกษตรศาสตร์. www.thaikasetsart.com . 20 ตุลาคม 2563.
ธีรนุช ฉายศิริโชติ และสุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี. 2558. การพัฒนาเต้าหู้นมสดเสริมใยอาหารจากเปลือกส้มโอผง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก,มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
นภาพร พันธุสุข. 2547. ผลของแป้งข้าวโพดและสตาร์ชดัดแปรต่อคุณลักษณะของโยเกิร์ตนดสด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2549. เคมีอาหาร(Food Chemistry). พิมพ์ครั้งที่2. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานครฯ.
ปรรัตน์ ศุภมิตรโยธิน. 2556. เทคโนโลยีผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่1. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานครฯ.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. คุณภาพและมาตรฐานของน้ำนม. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 27 ตุลาคม 2562.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. นมข้นไม่หวาน / Condensed milk. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 27 ตุลาคม 2562.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Sweeten condensed milk / นมข้นหวาน. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 27 ตุลาคม 2562.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Gelation / การเกิดเจล. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 7 สิงหาคม 2561.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. ม.ป.ป. บรรจุภัณฑ์ / ภาชนะบรรจุ. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com . 2 สิงหาคม 2561.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Polypropylene (PP) / พอลิโพรไพลีน. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 8 สิงหาคม 2561.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Water activity / แอคติวิตีของน้ำ. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com.10 มีนาคม 2563.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Zeaxanthin / ซีแซนทิน. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 12 มีนาคม 2563.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Color / สี. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 26 พฤษภาคม 2563.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. การเสื่อมเสียของน้ำนม. Food Network Solution. http://www.foodnetworksolution.com. 9 ตุลาคม 2563
เพรชสุวรรณ์ ถาวรทรัพย์. 2562. การใช้ใบเครือหมาน้อยทดแทนผงวุ้นและเจลาตินในเต้าฮวยนมสด. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พรทิพย์ พสุกมลเศรษฐ์, อำพร แจ่มผล, สุนิสา ด้วงนุ่ม และพิสชา ชาญณรงค์. 2561. คุณลัษณะทางกายภาพและคุณค่าทางโภชนาการของพุดดิ้งที่ทดแทนด้วยน้ำนมถั่วขาว. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 34(1) : 2561
วิชชุดา สังข์แก้ว และทวีศักดิ์ พงษ์ปัญญา. 2561. การพัฒนาเต้าฮวยนมสดมะพร้าวอ่อนเสริมเวย์โปรตีน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49(2) พิเศษ: 101-104
ศิวาพร ศิวเวชช. 2529. วัตถุเจือปนอาหาร. พิมพ์ครั้งที่4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. กรุงเทพมหานครฯ.
สายสมร พูลพันธ์. 2547. ผลของสารที่ทำให้เกิดเจลต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่รสนมผสมน้ำสตรอเบอร์รี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี,มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมโภช เปลี่ยนบางยาง. ม.ป.ป. การพาสเจอร์ไรส์. สสวท. https://web.ku.ac.th. 27 ตุลาคม 2562.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนมผช. เต้าหู้นมสด
(มผช.๕๒๘/๒๕๔๗). http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps518_47.pdf. 27 ตุลาคม 2562.
เสาวลักษณ์ ภูมิวสนะ. 2525. นมและผลิตภัณฑ์นม. ม.ป.ท, ม.ป.ท. แปลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ อันดับที่ 63. นมและผลิตภัณฑ์นม. ม.ป.ท, ม.ป.ท.
ฤทัย เรืองธรรมสิงห์,พรทิพย์ ปิยะสุวรรณยิ่ง และน้องนุช ศิริวงศ์. 2559. การพัฒนาสูตรพุดดิ้งนมสดที่ทดแทนด้วยน้ำนมข้าวโพด. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 44(2): 345-354
อาทิตย์ จตุพรพงศ์ชัย. 2552. กรรมวิธีผลิตเต้าหู้นมสดจากน้ำนมแพะ. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 9(1) : 2552
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. ม.ป.ป. มะม่วงหิมพานต์. องค์การสวนพฤกษศาสตร์. http://www.qsbg.org. 1 พฤศจิกายน 2562.
AOAC. (2000). Official methods of analysis of AOAC International. 17th ed.
Honestdocs. 2562. แพ้แลคโตส (Lactose Intolerance). HONESTDOCS. https://www.honestdocs.co. 27 ตุลาคม 2562.
Honestdocs. 2563. ประโยชน์ของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ต่อสุขภาพ. HONESTDOCS. https://www.honestdocs.co. 10 มีนาคม 2563.
Healthy milk. 2562. คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำนม. HEALTHY MILK. http://genuinemill24.online. 10 มีนาคม 2563.
N. Rattanapanon, Food chemisty, 2nd ed. Bangkok: O.S. Printing House, 2008
Pobpad. ม.ป.ป. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ของว่างเปี่ยมคุณค่าทางโภชนาการ. POBPAD. https://www.pobpad.com. 1 พฤศจิกายน 2562.
Pobpad. ม.ป.ป. แพ้นมถั่วเหลือง. POBPAD. https://www.pobpad.com. 8 มกราคม 2563.
Pobpad. ม.ป.ป. อาหารไขมันดี เลือกกินให้ถูกเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ. POBPAD. https://www.pobpad.com. 10 ตุลาคม 2563.
Puechkaset. 2016. มะม่วงหิมพานต์ สรรพคุณ และการปลูกมะม่วงหิมพานต์. เว็บเพื่อพืชเกษตรไทยpuechkaset.com. https://puechkaset.com. 27 ตุลาคม 2562.
Singh S., and J. David. 2014. Development of pudding with different levels of water chestnut (Trapa birpinosa). The Pharma Innovation Journal. 34(2) : 2561
Thaihealthlife. ม.ป.ป. นมโค และสารอาหาร. Thaihealthlife.com. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. https://thaihealthlife.com. 27 ตุลาคม 2562.
Whanjai. 2561. นมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ทางเลือกสำหรับคนที่แพ้นมวัว. Modern Lady House. https://www.facebook.com/LadyHousethailand. 3 ตุลาคม 2562.
|