- ชื่อเรื่อง : ผลของ PBZ และ IAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นโฮย่าจักรพรรดิในสภาพปลอดเชื้อ
- title : EFFECTS OF PBZ AND IAA ON HOYA IMPERIALIS LINDI. GROWTH IN ASEPTIC CONDITION
- ผู้แต่ง : นายบุรินทร์ สองห้อง
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมกฤษณ์ แสงเงิน หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา ปีการศึกษา : 2564 - บทคัดย่อ :
การศึกษาผลของ PBZ และ IAA เพื่อให้ได้ระดับความเข้มข้นสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโฮย่าจักรพรรดิในสภาพปลอดเชื้อ วางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) โดยนาส่วนข้อมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม PBZ ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายใต้ความเข้มแสง 1,000 ลักซ์ อุณหภูมิ 26 ± 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต PBZ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางด้านความสูงดีที่สุด และอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม PBZ ความเข้มข้น 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งเสริมทางด้านจานวนใบ จานวนกอ และจานวนยอดดีที่สุด สาหรับผลของการชักนาให้เกิดรากโดยย้ายเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม IAA เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม IAA ความเข้มข้น 0.75 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางด้านจานวนราก ความยาวรากดีที่สุด
- เอกสารอ้างอิง :
เกศินี ศรีปฐมกุล, อารยา อาจเจริญ เทียนหอม และทัศไนย จารุวัฒนพันธ์. 2563. การขยายพันธุ์หญ้าพันธุ์เกลียว (Ceropegia thailandica Meve) พืชใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในประเทศไทย. Thai Journal of Science and Technology 9 (1): 77-89.
นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2537. ฮอร์โมนพืชและสำรควบคุมกำรเจริญเติบโตของพืช. โรงพิมพ์สหมิตร ออฟเซท, กรุงเทพฯ. 124 น.
นงนุช เลาหะวิสุทธิ์, อัจฉรี เรืองเดช และสมชาย หวังวิบูลย์กิจ. 2560. ผลของ KN และ IAA ต่อการเจริญเติบโตและการต้านอนุมูลอิสระจากพรรณไม้น้าพรมมิ. วำรสำรพระจอมเกล้ำ 35 (2): 76-83.
เบญจพร ภูกาบหิน, สุรพล แสนสุฃ และปิยะพร แสนสุข. 2559. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมหาอุดมแดง (Curcuma pierreana Gagnep.) เพื่อการอนุรักษ์พืชหายากในประเทศไทย. วำรสำรวิทยำศำสตร์มหำลัยขอนแก่น 44 (2): 294-306.
บ้านและสวน. 2540. โฮย่า. เรื่องน่ำรู้ไม้ประดับ. แหล่งที่มา: http://www.ptcn.ac.th/student, 3 มีนาคม 2564.
พลังเกษตร. 2563. ไม้ดอกไม้ประดับ. โฮย่ำพันธุ์กลิ่นหอมทั้งวันทั้งคืนมำแรงทั้งตลำดใน และต่ำงประเทศ. แหล่งที่มา: https://www.palangkaset.com, 3 มีนาคม 2564.
ยุพาภรณ์ จิโรภาสภาณุวงศ์, สุภาวดี รามสูตร, เกศศิรินทร์ มหรรณพ และธิดารัตน์นิลกระวัตร. 2558. การเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อม่วงเทพรัตน์ในสภาพปลอดเชื้อโดยใช้ พาโคลบิวทราโซล. วำรสำรวิชชำมหำวิทยำลัยรำชภัฏนครศรีธรรมรำช 34(1): 53-60.
เยาวพา จิระเกียรติกุล, ภาณุมาศ ฤทธิไชย, สุวิมล ปัจจัยคา และกนกวรรณ ส่งเสริม. 2561. การขยายพันธุ์รางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วำรสำรพืชศำสตร์สงขลำนครินทร์ 5 (2): 18-24.
วิชาการเกษตร. 2556. โฮย่าจักรพรรดิ. ดอกโฮย่ำกับวิธีกำรปลูก. แหล่งที่มา: http://www.vichakaset.com, 23 กุมภาพันธ์ 2562.
อรุณี ม่วงแก้วงาม และสมปอง เตชะโต. 2559. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อดาหลา. วำรสำรวิทยำลัยนรำธิวำสรำชนครินทร์ 8 (1): 111-116.
|