- ชื่อเรื่อง : การศึกษาลักษณะของพิทูเนียลูกผสม
- title : TO STUDY THE CHARACISTICS OF PETUNIA HYBRID
- ผู้แต่ง : นางสาวสุรางคณา นาคพุ่ม
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.ราชาวดี ยอดเศรณี ปีการศึกษา : 2564 - บทคัดย่อ :
การศึกษาลักษณะของพิทูเนียลูกผสม โดยใช้พิทูเนีย 5 สายพันธุ์ ที่ได้จากการขยายพันธุ์โดยการปักชา ได้ทาการทดลอง ณ โรงเรือนไม้ดอกของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม 2562 การวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยทาการปักชาพิทูเนีย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 3 พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 6 พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 18 พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ RED6A3 พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ RED61B พบว่าหลังจากการปักชา 14 วัน ของพิทูเนียลูกผสมทั้ง 5 เบอร์ พบว่าในการปักชามีเปอร์เซ็นต์การรอดของการปักชาที่ดีที่สุดค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 33 เปอร์เซ็นต์ จานวนดอกในระยะออกดอกเต็มที่ ระยะ 45-50 วัน โดยนับดอกทั้งหมดของการปักชาพิทูเนียลูกผสม พิทูเนียพันธุ์ Petunia hybriba Vilm จานวน 5 เบอร์ พบว่าในพิทูเนียเบอร์18 มีการปักชามีการติดดอกเยอะที่สุด 17 ดอก ทาการสุ่มวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกจานวน 3 ดอก ต่อ 1 ต้น ในระยะที่ดอกบานเต็มที่ (45-50 วัน) โดยพบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกเฉลี่ยดอกบานมากที่สุดอยู่ที่ช่วง 5.87 เซนติเมตร ทาการสุ่มวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบจานวน 3 ใบ ต่อ 1 ต้น ในระยะ 45-50 วัน หลังปักชา โดยพบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของใบมีขนาดเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในช่วง 2.58 เซนติเมตร ทาการสุ่มวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของทรงพุ่มทั้ง 5 พันธุ์ ในระยะ 45-50 วัน หลังปักชา โดยพบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของทรงพุ่มมีขนาดเฉี่ยมากที่สุดอยู่ในช่วง 14.50 เซนติเมตร มีแนวโน้มในการนาไปใช้ประโยชน์เพื่อผลผลิตเป็นไม้ดอกกระถางได้ และสามารถนาไปพัฒนาต่อได้
- เอกสารอ้างอิง :
จักรกฤษ แย้มสุดใจ. 2560. กำรปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอกใหญ่โดยวิธีกำรผสมกลับและกำร
ทดสอบลูกผสมโดยกำรปักชำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จักรกฤษ แย้มสุดใจ และ ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. 2561. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอก
ใหญ่โดยวิธีการผสมข้ามและทดสอบลูกผสมโดยการปักช่า. วำรสำรวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยีไทย 7 (3): 250-260
เจมจิรา ลองพิชัย. 2551. กำรปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอกสีเหลืองเพื่อให้ทนฝนและสำมำรถ
ขยำยพันธุ์โดยกำรปักชำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนพร ขจรผล. 2541. กำรปรัปปรุงพันธุ์และกำรคัดเลือกพันธุ์พิทูเนียที่ขยำยพันธุ์โดยวิธีกำรปักชำ.ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. 2546. เขียนเรื่องดอกไม้ไว้อ่ำนเล่น 2. ส่านักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง,กรุงเทพฯ.
นันทิยา สมานนท์. 2535. คู่มือกำรปลูกไม้ดอก. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ.
นันทิยา วรรธนะภูติ. 2545. คู่มือกำรปลูกไม้ดอก. ซิลค์วอร์มบุคส์, เชียงใหม่
นฤมล ประสานไมตรี. 2554. ลักษณะดอกพิทูเนียดอกเล็กซ้อน. พิทูเนีย.
แหล่งที่มา: http://lovesplant.blogspot.com/2015/02/double-petunia.html,
2 กันยายน 2558.
ปรัชญา เตวิยะ. 2545. กำรคัดเลือกพันธุ์และศึกษำลักษณะบำงประกำรของพิทูเนียลูกผสมกลับ.
ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปิยะณัฎฐ ผกามาศ. 2558. ผลของ NAA IBA และชนิดของกิ่งต่อการออกรากของกิ่งปักช่าสบู่ด่า.วำรสำรเกษตร 31 (3): 251-258
พัชร์ อัญมณี. 2551. ลักษณะของพิทูเนียดอกใหญ่ชั้นเดียว. พิทูเนีย.
แหล่งที่มา: https://www.myhomemygardening.com/2018/10/petunia.html,10 ตุลาคม 2562.
มงคล มหาเจริญเกียรติ. 2544. กำรศึกษำลักษณะประจำพันธุ์บำงลักษณะของพิทูเนีย 8 พันธุ์.ปัญหาพเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วีรภัทร ปั้นฉาย. 2563. ผลของออกซินต่อการเกิดรากและอัตราการรอดของกิ่งชามะเดื่อฝรั่งพันธุ์แบล็คเจนัว. วำรสำรผลิตกรรมกำรเกษตร 2 (3): 15-23
ศศิธร วุฒิวณิชย์. 2545. โรคของผักและกำรควบคุม. ส่านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.
สนั่น ข่าเลิส. 2523. หลักกำรและวิธีกำรขยำยพันธุ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.สมเพียร เกษมทรัพย์. 2524. ไม้ดอกกระถำง. โรงพิมพ์อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ.
______. 2525. ไม้ดอกไม้กระถำง. โรงพิมพ์อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ.
______. 2526. ไม้ดอกไม้กระถำง. โรงพิมพ์อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ.
- ปัญหาพิเศษพิทูเนีย
- ชื่อเรื่อง : การศึกษาลักษณะของพิทูเนียลูกผสม 5 พันธุ์
- title : A STUDY CHARACTERISTICS OF 5 VERIETIES OF PETUNIA HYBRIDA
- ผู้แต่ง : นางสาวกมลชนก แก้วเพชร
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.ราชาวดี ยอดเศรณี ปีการศึกษา : 2564 - บทคัดย่อ :
จากการศึกษาการเจริญเติบโต การออกดอก และศึกษาลักษณะของพันธุ์พิทูเนียลูกผสมโดย วิธีการปักชำ และคัดเลือกต้นที่มีลักษณะเหมาะสมในการนำมาเป็นไม้ดอกไม้กระถางได้ ทดลองปลูกเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ โดยมี การวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยทดลองปักชำพิทูเนียลูกผสม จำนวน 5 เบอร์ จำนวนเบอร์ละ 12 ต้น จากการทดลองพบว่า ในการปักชำมีเปอร์เซ็นต์ การรอดชีวิตของการปักชำที่ดีที่สุดคือ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 61A และ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 71A2 ค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 33 เปอร์เซ็นต์ และน้อยที่สุดคือ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 66B2 เท่ากับ 17 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การติดดอกมากที่สุดคือ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 71A2 มีการติดดอก 14 ดอก และน้อยที่สุดคือ พันธุ์พิทูเนียลูกผสมเบอร์ 66B2 มีการติดดอก 1 ดอก ทรงพุ่มมีขนาดเฉลี่ยมากที่สุดคือ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 71A2 อยู่ที่ 33.10 เซนติเมตร และน้อยที่สุดคือ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 66B2 อยู่ที่ 15.80 เซนติเมตร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พันธุ์ที่เหมาะสมแก่การนำมาเป็นไม้กระถางมากที่สุดคือ พันธุ์พิทูเนียลูกผสม เบอร์ 71A2 เพราะมีอัตราการรอดชีวิตของกิ่งชำสูงที่สุด คือ 33 เปอร์เซ็นต์ และพบว่ามีการให้ดอกสูงที่สุดถึง 14 ดอกต่อต้นและดอกมีขนาดใหญ่สวยงาม ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เฉลี่ย 3.90 เซนติเมตร
- เอกสารอ้างอิง :
จักรกฤษ แย้มสุดใจ. 2560. การปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอกใหญ่โดยวิธีการผสมกลับและการ
ทดสอบลูกผสมโดยการปักชำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จักรกฤษ แย้มสุดใจ และ ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. 2561. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พิทูเนีย
ดอกใหญ่โดยวิธีการผสมข้ามและทดสอบลูกผสมโดยการปักชำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย 7 (3): 250-260
เจมจิรา ลองพิชัย. 2551. การปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอกสีเหลืองเพื่อให้ทนฝนและสามารถ
ขยายพันธุ์โดยการปักชำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนพร ขจรผล. 2544. การปรัปปรุงพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์พิทูเนียที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการปัก
ชำ. ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. 2546. เขียนเรื่องดอกไม้ไว้อ่านเล่น 2. สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง,กรุงเทพฯ.
_____. 2558. การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก. แดเน็กอินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, กรุงเทพฯ
นันทิยา สมานนท์. 2535. คู่มือการปลูกไม้ดอก. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ.
นันทิยา วรรธนะภูติ. 2545. คู่มือการปลูกไม้ดอก. ซิลค์วอร์มบุคส์, เชียงใหม่
ปรัชญา เตวิยะ. 2545. การคัดเลือกพันธุ์และศึกษาลักษณะบางประการของพิทูเนียลูกผสมกลับ. ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปิยะณัฎฐ ผกามาศ. 2558. ผลของ NAA IBA และชนิดของกิ่งต่อการออกรากของกิ่งปักชำสบู่ดำ.วารสารเกษตร 31 (3): 251-258
มงคล มหาเจริญเกียรติ. 2544. การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์บางลักษณะของพิทูเนีย 8 พันธุ์.
ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิสิษฐ์ อรินทร. 2558. พิทูเนียประเภทดอกใหญ่ซ้อน. พิทูเนียดอกซ้อน.
แหล่งที่มา: https://www.nanagarden.com/product/238966, 17 มีนาคม 2558.
วีรภัทร ปั้นฉาย. 2563. ผลของออกซินต่อการเกิดรากและอัตราการรอดของกิ่งชำมะเดื่อฝรั่งพันธุ์
แบล็คเจนัว. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 2 (3): 15-23
ศศิธร วุฒิวณิชย์. 2545. โรคของผักและการควบคุม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.
สนั่น ขำเลิส. 2523. หลักการและวิธีการขยายพันธุ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพฯ.
สุภาพร สุกประเสริฐ. 2562. อิทธิพลของวัสดุปักชำต่อการเกิดรากและไรโซมในการปักชำแผ่นใบ
ของกวักมรกต. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37 (3): 427-435
สมเพียร เกษมทรัพย์. 2524. ไม้ดอกกระถาง. โรงพิมพ์อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ.
______. 2525. ไม้ดอกไม้กระถาง. โรงพิมพ์อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ.
______. 2526. ไม้ดอกไม้กระถาง. โรงพิมพ์อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ.
อิสาภรณ์ อันสนั่น. 2555. พิทูเนียประเภทดอกใหญ่ชั้นเดียว. พิทูเนีย แหล่งที่มา: http://dogpetunia.blogspot.com/2012/02/petunia.html,
10 กุมภาพันธ์ 2555.
|
|