- ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงหาวมะนาวโห่แช่อิ่มอบแห้ง
- title : DEVELOPMENT OF KARANDA FRUIT (Carissa carandas L.) BY OSMOTIC ALLY DEHYDRATION AND DRYING METHOD
- ผู้แต่ง : นางสาวสุภาวดี อ่อนมา
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาสุรี ฤทธิเลิศ หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประธานหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันท์ปภัทร์ ทองคำ ปีการศึกษา : 2562 - บทคัดย่อ :
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณแคลเซียมคลอไรด์ที่เหมาะสมในการแช่มะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยแปรปริมาณแคลเซียมคลอไรด์เป็นร้อยละ 0, 0.2, 0.4, 0.6 และ 0.8 ต่อปริมาณมะม่วงหาวมะนาวโห่ทั้งหมด พบว่าเมื่อปริมาณแคลเซียมคลอไรด์เพิ่มขึ้น ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) ลดลง แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≥0.05) ส่วนค่า aw ในทุกระดับแคลเซียมคลอไรด์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≥0.05) โดยปริมาณแคลเซียมคลอไรด์ที่เหมาะสม คือร้อยละ 0.6 มีคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสทางด้านลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส อยู่ในระดับความชอบปานกลาง และมีคะแนนด้านความความชอบรวม อยู่ในระดับความชอบมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) แต่มะม่วงหาวมะนาวโห่แช่อิ่มอบแห้งมีสีไม่สม่ำเสมอ บางชิ้นเป็นสีเหลือง บางชิ้นเป็นสีส้ม และบางชิ้นเป็นสีแดง จึงปรับปรุงคุณภาพด้านสีของผลิตภัณฑ์ โดยแปรปริมาณน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่เป็นร้อยละ 0, 10, 15, 20 และ 25 ต่อปริมาณมะม่วงหาวมะนาวโห่ทั้งหมด พบว่าเมื่อปริมาณน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่เพิ่มมากขึ้น ค่าความสว่าง (L*) ค่าวความเป็นสีเหลือง (b*) ลดลง ค่าความเป็นสีแดง (a*) เพิ่มขึ้น (p≤0.05) ส่วนค่า aw มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปริมาณน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ที่เหมาะสมคือร้อยละ 25 ผู้บริโภคให้คะแนน การยอมรับผลิตภัณฑ์ทางด้านลักษณะปรากฏ รสชาติ และความชอบอยู่ในระดับความชอบปานกลาง ส่วนด้านสีผู้บริโภคให้คะแนนความชอบอยู่ในระดับความชอบมาก (p≤0.05) มะม่วงหาวมะนาวโห่แช่อิ่มอบแห้งมีปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดมากกว่าสูตรควบคุม โดยมีปริมาณไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ และเพลาร์โกนิดิน-3-กลูโคไซด์ เท่ากับ 74.230 และ 39.446 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และมีจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 25 โคโลนีต่อกรัม จำนวนยีสต์และราน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานชุมชนผักและผลไม้แช่อิ่มชนิดแห้ง
- เอกสารอ้างอิง :
ไกรยศ แซ่ลิ้ม และ กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ. 2559. ผลของการใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ ต่อคุณภาพของแคนตาลูปตัดแต่งพร้อมบริโภคระหว่างการเก็บรักษา. วารสารพืชศาสตร์ สงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยบูรพาคณะเทคโนโลยีการเกษตร, สระแก้ว. คณิตตา พัฒนาภา และนันทวัน เทิดไทย. 2552. อิทธิพลของสารออสโมซิสต่อคุณภาพของส้มสาย น้ำผึ้งแช่อิ่มอบแห้ง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาพัฒนา ผลิตภัณฑ์, กรุงเทพฯ
เจนจิรา ใจแข็ง, ณัฐนารี คุณเดชะ, พีรดา โชคชัยธนาวิวัฒน์ และเบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์. 2561. ผลของความเข้มข้นของน้ำเชื่อมต่อลักษณะทางเคมีกายภาพของสตรอเบอรี่แช่อิ่มใน น้ำเชื่อม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 49 (ฉบับที่2): หน้า 245-248.
ดวงกมล สุมนาชยานันท์, นินนาท ชินประหัษฐ์ และชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล. 2556. ผลของอุณหภูมิ และรูปทรงต่อการทำแห้งมะเดื่อฝรั่งที่ผ่านการออสโมติกดีไฮเดรชั่น. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร, กรุงเทพฯ
ธงชัย พุ่มพวง, ประพันธ์ ชานนท์, พิมพ์ใจ ทรงประโคน, กัลยาณี วรรณศรี, ดำรงเกียรติ มาลา และ พรประภา รัตนแดง. 2556. มะม่วงหาว มะนาวโห่ ผลไม้ในวรรณคดีไทยที่มากมายด้วย คุณค่าและราคาดี. นิตยสารเกษตรโฟกัส. 2(20): 24-39.
ธนิตชยา พุทธมี, ภาวินีย์ ผิวจันทร์, มาริษารัตนโชติและ รุศมา มฤบดี. 2561. การเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพและทางเคมีของผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ในระหว่างการพัฒนาของผล. คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, แก่นเกษตร 46 ฉบับพิเศษ 1
ธัญญลักษณ์. มปป. ความหมายของบรรจุภัณฑ์. แหล่งที่มา:http://www.crnfe.ac.th/packaging/unit1.htm,
10 มิถุนายน 2561
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Salt / เกลือ. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร ครบวงจร. แหล่งที่มา:http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1464/salt, 6 มิถุนายน 2561 พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป. Sucrose / น้ำตาลซูโครส. ศูนย์เครือข่าย ข้อมูลอาหารครบวงจร. แหล่งที่มา : http://www.foodnetworksolution.com, 6 มิถุนายน 2561. ภาสุรี ฤทธิเลิศ. 2560. คู่มือการแปรรูปผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง: มะม่วงหาวมะนาวโห่, คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี
ภัทราพร ยุราชิต. 2541. การพัฒนากระบวนการผลิตมะม่วงแช่อิ่มอบแห้ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
44
ยุทธนา กุลอินทรประเสริฐ. 2548. เทคโนโลยีอบแห้งในอุตสาหกรรมอาหาร. สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), ที. เอส. บี. โปรดักส์. แปลจาก Dr. Shuichi Yamamoto. Department of Chemical Engineering.School of Engineering, Yamaguchi University.
วชิราภรณ์ ผิวล่อง, สุรศักดิ์ สัจจบุตร, ศิริลักษณ์ สิงห์เพชร และจารุรัตน์ เอี่ยมศิริ. 2556. อิทธิพลของ ระยะเวลาสุกต่อสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของมะม่วงหาวมะนาวโห่. วารสารวิทยาศาสตร์ เกษตร. 44 (ฉบับพิเศษ 2): 337-340.
วิชมณี ยืนยงพุทธกาล. 2013. ปัจจัยที่มีผลต่อการดึงน้ำออกด้วยวิธีออสโมซิสของผักและผลไม้. ภาควิชา วิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วิไล รังสาดทอง. 2545. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร.สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะ วิทยาศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิไล รังสาดทอง. 2547. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. บริษัท เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ.
ลาวัลย์ คาปวน และจำนงค์ อุทัยบุต. 2559. การยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์เขียวมรกตที่ อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา, เชียงใหม่
ลดาวัลลย์ ช่างชุบ และเสาวนีย์ เลิศวรสิริกุล. 2554. การพัฒนากรรมวิธีการผลิตเปลือกมะนาวแช่อิ่ม อบแห้งแบบออสโมซีส. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาพัฒนา ผลิตภัณฑ์, กรุงเทพฯ
เว็บเพื่อพืชเกษตร ไทย, มปป. การแช่อิ่ม ผลไม้แช่อิ่ม และวิธีทำผลไม้แช่อิ่ม. เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย. แหล่งที่มา : http://puechkaset.com, 6 มิถุนายน 2561
ศุรัฐนันท์ คงวรรณ. 2016. ผลของแคลเซียมคลอไรด์และสภาวะกรดต่อปริมาณสาร GABA อิสระ และคุณสมบัติด้านความหนืดของข้าวกล้องงอกพันธุ์ขาวบ้านนา 432. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือคณะอุตสาหกรรมเกษตร, จันทบุรี
ศศิธร อุดชาชน และศักดิ์สิทธิ์ จันทร์. (2558). การหาปริมาณแอนโทไซยานินในน้ำเม่าโดยสเปกโทร ฟลูออโรโฟโทเมทรี. วารสารวิจัย มข. (บศ), 15(2), 39-47
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร. (มปป.). ผลไม้ แช่อิ่ม. แหล่งที่มา :http://www.tistr-foodprocess.net/fruit_other.html, 6 มิถุนายน 2561
สกุลการต์ สิมลา. 2016. มะนาวโห่: พืชในวรรณคดีไทยที่มากมายด้วยประโยชน์. คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม
สุภาพร ฟักเงิน และศิรประภา มีรอด. 2560. การสกัดแยกหาปริมาณแอนโทไซยานินจากลูกมะม่วง หาวมะนาวโห่. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพรชคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กำแพงเพรช
สิรินทัศน์ เลื่อมเหลี่ยม. 2551. คุณภาพของมะเดื่อ (มะดอด) แช่อิ่มอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้ง แบบถาด. ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, เชียงใหม่.
45
อดิศักดิ์ จูมวงษ์. 2554. ผลของระยะเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพทางกายและเคมีของผลหม่อนสายพันธุ์ บุรีรัมย์ 60. วิทยาศาสตร์เกษตร. 42 (ฉบับบพิเศษ 1) : 249-251.
Adam Figieland Anna Michalska. (2016). Overall Quality of Fruits and Vegetables Products Affected by the Drying Processes with the Assistance of Vacuum- Microwaves.
Dermesonlouoglou, E.K., Giannakourou, M.C., & Taoukis, P.S. (2007). Stability of dehydrofrozen tomatoes pretreated with alternative osmotic solutes. Journal of Food Engineering, 78, 272-280.
El-Aouar, A.A., Azoubel, P.M., Barbosa, J.L., Elizabeth, F. & Murr, X. (2006). Influence of the osmotic agent on the osmotic dehydration of papaya (Carica papaya L.) Journal of Food Engineering, 75, 267–274
Flink, J.M. (1979). Dehydrated carrot slices; Influence of osmotic concentration on air drying behavior and product quality. Food Process Eng, 1, 412-418.
Garcia, M., Diaz, R., Martinez, Y. & Casariego, A. (2010). Effect of chitosan coating on mass transfer during osmotic dehydration of papaya. Food Research International, 43, 1656-1660.
Kowalska, H., & Lenart, A. (2001). Mass exchange during osmotic pretreatment of vegetable. Journal of food engineering, 49, 137-140.
Kumar, S., P. Gupta, and V. Gupta K.L. 2013.A criticalreview on Karamarda (Carissa carandas Linn.). Int J Pharm Bio Arch. 4(4): 637 -642.
Marani, C.M., Agnelli, M.E., & Mascheroni, R.H. (2007). Osmo-frozen fruits: mass transfer and quality evaluation. Journal of Food Engineering, 79, 1122- 1130.
Mukadam, S.J., and P.M. Haldankar. 2013. Effect of paclobutrazol and post floweringfoliar sprays of nutrients for accelerating harvesting of Karonda (Carissa carandas Linn.). JPlant St. 2(1): 145-151.
Maheshwari, R., A. Sharma, and D. Verma. 2012. Phyto-therapeutic Significance of Karaunda.BEnvironPharmacol Life Sci. 1(12): 6-34.
Philippine Medicinal Plants. 2012. Caranda. Available:http://goo.gl/kBShxE. Accessed Aug. 6,2014.
Patel, S. 2013. Food, pharmaceutical and industrial potential of Carissa genus: an overview. Rev Environ Science Biotech. 12(3): 201-208.
Pornanong A., B. Nipaporn, and S. Teerapol. 2010. The properties and stability of anthocyanins in mulberry fruit. In Food Research International. 43(1): 1093- 1097.
46
Rahman, M. & J. Lamb. (1990). Osmotic dehydration of pineapple. Journal of Food Science and Technology. 27, 150-152.
Raoult-Wack, A. L. (1994). Recent advances in the osmotic dehydration foods. Trend Food Sci. Tech, 5, 255-260.
Torreggiani, D. (1993). Osmotic dehydration in fruit and vegetable processing. Food Res. Int, 26, 59-68.
Luna-Guzman, I. and Barrett, D. M. 2000. Comparison of calcium choride and calcium lactate effectiveness in maintaining shelf stability and quality of fresh-cut cantaloupes. Postharvest Biology and Technology. 19: 61-72.
Sablani, S.S., & Rahman, M.S. (2003). Effect of syrup concentrate on temperature and sample geometry on equilibrium distribution coefficients during osmotic dehydration of mango. Food Research International, 36, 65–71.
Sankat, C.K., Castaigne, F. & Maharaj, R. (1996). The air drying behavior of fresh and osmotically dehydrated banana slices. International Journal Food Science and Technology, 31, 123-135.
Yuenyongputtakal, W. (2006). Osmotic pre-treatment in fruit product development from persimmon (Diospyros kaki). Ph.D. thesis, Kasetsart University
|