- ชื่อเรื่อง : การศึกษากระบวนการผลิตชาเลือดมังกรต่อคุณภาพของน้ำชา และการนำไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่ม
- title : A STUDY OF DRAGON BLOOD TEA PRODUCTION PROCESS ON TEA QUALITY AND UTILIZATION IN READY-TO-DRINK JELLY PRODUCTS
- ผู้แต่ง : นางสาวนลินนิภา อัตถผล
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาสุรี ฤทธิเลิศ หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประธานหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาสุรี ฤทธิเลิศ ปีการศึกษา : 2565 - บทคัดย่อ :
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำแห้งที่เหมาะสม สำหรับการผลิตชาจากใบเลือดมังกร ทำการคัดเลือกใบเลือดมังกรที่แตกยอดอ่อน 3-5 วัน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -มีนาคม ทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำมาคั่วด้วยกระทะที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 10 และ 15 นาที แล้วนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็น เวลา 5 ชั่วโมง ตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพ เคมี และประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส ผลการทดลองพบว่าน้ำชาเลือดมังกรมีสีแดงใส โดยมีค่าสี L* a* และ b* เท่ากับ 41.65 , 38.38 และ 38.40 ตามลำดับ มีค่าความเป็นกรด - ด่างเท่ากับ 8.95 มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เท่ากับ 0.10 °Brix ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบต่อใบชาที่เตรียมโดยการคั่วนาน 15 นาที แล้วนำไปอบแห้งที่ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 ชั่วโมง เพราะให้กลิ่นหอมของชา มีคะแนนความชอบด้านกลิ่น และความชอบโดยรวมอยู่ในระดับชอบปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่ม โดยการแปรปริมาณคาราจีแนนเป็น 6 ระดับ คือร้อยละ 0.0, 0.20, 0.31, 0.42, 0.52 และ 0.62 พบว่าการใช้ปริมาณคาราจีแนนเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าความสว่าง (L*) เพิ่มขึ้น ค่าความเป็นสีแดง (a*) ลดลง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เพิ่มขึ้น ค่าเนื้อสัมผัสมีความแข็งเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณคาราจีแนนเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสต่อผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มที่ใช้คาราจีแนนร้อยละ 0.20 โดยให้คะแนนความชอบอยู่ที่ระดับชอบ ปานกลาง (p≤0.05) จากการศึกษาปริมาณสารให้ความหวานมอลทิมอลทดแทนน้ำตาลทรายในการผลิตเยลลี่พร้อมดื่ม โดยแปรปริมาณน้ำตาลทรายต่อมอลทิทอลร้อยละ 100:0, 75:25, 50:50 และ 0:100 พบว่าปริมาณมอลทิทอลมีผลต่อค่าสี L*, a* และ b* ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำได้ ค่าความเป็นกรด - ด่าง ของเยลลี่พร้อมดื่มมีค่าเพิ่มขึ้น และยังทำให้มีเนื้อสัมผัส ค่าความแข็ง เพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับเยลลี่พร้อมดื่มที่ใช้น้ำตาลร้อยละ 100 ในส่วนของอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ พบว่าเยลลี่พร้อมดื่มสามารถเก็บรักษาได้นาน 12 วัน ที่อุณหภูมิแช่เย็น 4 ± 2 องศาเซลเซียส โดยมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 100 โคโลนีต่อกรัม ยีสต์และราน้อยกว่า 1 × 104 โคโลนีต่อกรัม เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เยลลี่เหลว (มผช.520/2547)
- เอกสารอ้างอิง :
กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ. (2531) เยลลี่ผลไม้ : งานถนอมอาหารและเทคโนโลยีอาหาร. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน
เกศดาพร วงษ์ซิ้ม. 2563. การทำชาสมุนไพรจากย่านางแดงด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม/กรุงเทพฯ.
กุสุมา ทินกร ณ อยุธยา และนัทมน พุฒดวง. 2559. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่ธัญพืชเพื่อสุขภาพ.
วารสารเทคโนโลยีการอาหาร. 11(1): 13-20 จิรวัส พรหมศร. (2549) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคของกองพัฒนา
ศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/
กรุงเทพฯ.
จรรยา โท๊ะนาบุตร, ฐิติพร วันดี, ปาณิสรา คำมูล, ชญานิน นันติยะ. 2562. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่
พร้อมดื่มน้ำ นมถั่วลายเสือ. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 32 (2): 50-59.
ชิดชนก เอมอมร, ธันย์ชนก จรเสมอ. 2554. การใช้ประโยชน์จากแกนสับปะรดและชาภูฟ้าใน
ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่ม. 1-47.
ณัฐยา คนซื่อ และ ปิยาภัรณ์ เชื่อมชัยตระกูล. 2547. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่ขิงพร้อมดื่ม. 1-15.
ณิชาภัทร สมบูรณ์. (2556). สมบัติของเจลผสมระหว่างวุ้นกับเจลาตินปลา. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ, มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์. ณัฐรัตน์ ศรีสังวาลย์. (2555). การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของขนมอาลัวและฝอยทองโดยใช้
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยี
อาหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2539. เคมีอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะ
อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 340 หน้า.
เบญจวรรณ แจ่มใส. 2556. เปรียบเทียบการผลิตสีและกลิ่นใบเตยโดยวิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอย
กับวิธีการตกผลึกร่วมกับซูโคส. ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร/มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยนุสร์ น้อยด้วง และนคร บรรดิจ, 2558, การใช้มอลทิทอลและซูคราโลสในการผลิตคุกกี้เนย
แคลอรี่ต่ำ, สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 4(2): 42-51.
ภาสุรี ฤทธิเลิศ. 2564. คุณภาพทางเคมีกายภาพและการยอมรับทางประสาทสัมผัสของชาดอก
แก่นตะวัน. Thai Journal of Science and Technology 10(2): 196-207.
ภาสุรี ฤทธิเลิศ และกมลวรรณ วารินทร์. 2563. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่มะม่วงหาวมะนาว
โห่. วราสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9 (2): 343-354.
มาตรฐานสินค้าการเกษตร. 2561. มาตรฐานสินค้าการเกษตรใบชาสด. มกษ. 5703-2561.
มงคล เกษประเสริฐ. 2547. บุกและการใช้ประโยชน์จากบุกในประเทศไทย. เอกสารวิชาการลำดับที่
22/2547. สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร.
56
ลดาวรรณ์ จันทสิงห์ หทัยรัตน์ และพิสิฏฐ์ ธรรมวิธี. 2558. การศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ ปัจจัยที่มี
ต่อการเลือกซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เยลลี่โดยใช้
แบบสอบถาม. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53,
กรุงเทพ. หน้า 971-977.
วรรณคล เชื้อมงคล. 2551. สารให้ความหวาน: การใช้ และความปลอดภัย. ไทยเภสัชศาสตร์และ
วิทยาการสุขภาพ. 3(1): 161-168.
ศศิอาภา บุญคง และรักชนก ปั้นอินทร์. 2557. การพัฒนาเยลลี่มะนาวโห่พร้อมดื่ม. การประชุมทาง
วิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57, กรุงเทพ. หน้า 506-510.
ศิวาพร ศิวเวชช. 2529. วัตถุเจือปนอาหารเล่มที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์.
และเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 182 หน้า.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเยลลี่เหลว. มผช
518/2547.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเยลลี่แห้ง, มผช.
520-2547, กรุงเทพฯ.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเยลลี่อ่อน. มผช
519/2547.
สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์, 2554, การพัฒนาแยม มังคุดแคลอรี่ต่ำผสมเปลือกมังคุด, KKU Res. J.
16(7): 825-834.
สุขใจ ชูจันทร์. 2555. สารให้ความหวานพลังงานต่ำ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สายลม สัมพันธ์เวชโสภา. (2552). โครงการเก็บและกำหนดพันธุ์ ชาที่เหมาะสมในพื้นที่ปลูก
ภาคเหนือของไทย. รายงานการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ฉบับสมบูรณ์ สำนักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ 129 หน้า.
สิปราง เจริญผล. 2556. กระบวนการแปรรูปชาสู่การออกแบบศูนย์การเรียนรู้ ชาดอยแม่สลอง
จังหวัดเชียงราย. 144 หน้า.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 เชียงใหม่นิวส์. 2564. เกษตรกรที่เวียงแก่น ปลูกชาเลือดมังกร สมุนไพร
สารพัดประโยชน์ สร้างรายได้เสริม. คู่มือส่งเสริมการเกษตรที่ 64. แหล่งที่มา:
https://shorturl.asia/6Dmqe, 5 กุมภาพันธ์ 2564
แสงระวี ณ พัทลุง รวินันท์ นนทรี เลิศเกียรติ เสริมกิจ และ ศดานันท์ สุทจิตร. 2561. 5AF-O03:
การพัฒนาเยลลี่พร้อมดื่มจากเมล่อน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5. 454-461.
สินีนาถ สุขทนารักษ์ กรรณิกา พุ่มระย้า นัทธมน เอี่ยมแพร และธิดารัตน์ บอกกลับ. 2560. การ
พัฒนาผลิตภัณฑ์แยมมะขามเทศลดน้ำตาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี 1 (1):41-49.
สินีนาถ สุขทนารักษ์. 2565. การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมมะขามเทศลดน้ำตาล. วารสารวิจัยและ
นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1 (1): 36-44. อ้างถึง พูนศิริ ทิพย์เนตร.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. 2558. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผัก และผลไม้แห้ง. มผช.
57
264-2558.
สถาบันวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. ม.ป.ป. การวิจัยชา-กาแฟ. สรรสาระ.
แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/7rw4q. 23 ตุลาคม 2565
สมพล นิลเวศน์. 2558. วิจัยการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตชา. กรมวิชาการเกษตร.
หรรษา จักรพันธุ์ ณ อยุธยา. 2527. พืชสะสมแป้ง (เป็นอาหารและยา) เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ.
กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพ. 13. Al-Ghazzewi, F. H. and Tester, R.F. 2010. Effect of konjac glucomannan hydrolysates
and probiotics on the growth of the skin bacterium Propionibacterium
acnesin vitro. Journal of Cosmetic Science 32: 139-142.
Chiu, Y.T., & Stewart, M. (2012). Comparison of konjac glucomannan digestibility and
fermentability with other dietary fibers in vitro. Journal of Medicinal Food, 15:
120-125. Dobreva, A. (2010). Technological investigations on the yield and chemical composition of the essential oil from white rose (Rosa alba L.). PhD
thesis. University of Food Technologies, Plovdiv, Bulgaria. Huang, H.; Lin, T.; Lai, M.; Lin, T. International journal of hospitality management environmental consciousness and green customer behavior: An examination of motivation crowding effect. Int. J. Hosp. Manag. 2014,40, 139–149.
Kanpairo, K., & Srisuk, S (2016). Development of Low Calories in Torch ginger
(Etlingeraelatior (Jack) R.M. Smith) Gummy jelly with Sucralose.In
Proceedings of the 14th Naresuan Research Conference. (pp. 309-315).
Lehmann, J., Rondon, M., 2006. Bio-char soil management on highly weathered
soils in the humid tropics. In: Uphoff, N., Ball, A.S., Palm, C., Fernandes, E.,
Pretty, J., Herrren, H., Sanchez, P., Husson, O., Sanginga, N., Laing, M., Thies, J.
(Eds.), Biological Approaches to Sustainable Soil Systems. CRC Press, Boca
Raton, FL, pp. 517–530.
Notre, C. and Tinti, J.-M. (2000). Neotame: discovery, properties, utility. Journal of Food
Chemistry, 69, 245-257.
Newsome, R. 1993. Sugar substitutes, In A.M. Altschull (ed.), Low–calorie handbook,
New York: Marcel Dekker Inc. pp. 139– 170. Puyanda I.R., Uriyapongson S. and Uriyapongson J. (2020). Influence of drying method
on qualities of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) tuber harvested
in Northeastern Thailand. Songklanakarin Journal of Science and
Technology. 42(6): 1279-1285.
Prodanov, M.P., Dominguez, J.A., Blazquez, I., Salinas, M.R. and Alonso, L., 2004, Some
aspects of the quantitative/qualitative assessment of commercial
58
anthocyanin–rich extracts, Food Chemistry, 90: 585–596.
Ramos, A. M., R. Nieto, R. Tomé, L. Gimeno, R. M. Trigo, M. L. R. Liberato, and D. Lavers
(2016), Atmospheric rivers moisture sources from Carrageenan Earth Syst. Dyn.,7,
371–384, doi:10.5194/esd-7-371-2016. Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci. 19(2):
316-325, 2018.
|