- ชื่อเรื่อง : ผลของหัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่าต่อการเจริญเติบโตของพริกหนุ่มขาว
- title : Effect of Concentrated Liquid Bolete Mushroom (Boletus colossum Heim.) on Growth of Green Chili (Capsicum annuum L.).
- ผู้แต่ง : นางสาวจิราภรณ์ เทพตาแสง
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.คมกฤษณ์ แสงเงิน หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช ปีการศึกษา : 2560 - บทคัดย่อ :
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของหัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่าต่อการเจริญเติบโตของพริกหนุ่มขาว โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (randomized completely block design) 4 ทรีทเมนต์ (ปริมาตรหัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่า) ทรีทเมนต์ ละ 10 ตัวอย่าง คือ ไม่ใส่หัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่า (ชุดควบคุม) ใส่หัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่าในปริมาตร 30 60 และ 90 มิลลิลิตรต่อต้น พร้อมการย้ายต้นกล้าพริกอายุ 22 และ 50 วัน บันทึกข้อมูลทุกๆ 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 120 วันหลังการเพาะเมล็ด พบว่า การใส่หัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่าในปริมาตรที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มท้าให้ต้นพริกที่ย้ายกล้าปลูกอายุ 22 วัน มีกิ่งแขนงที่มากขึ้น วันออกดอกที่เร็วขึ้น และท้าให้จ้านวนผลของต้นพริกที่ย้ายกล้าปลูกอายุ 22 และ 50 วัน มีจ้านวนเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ นอกจากนี้การใส่หัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่ากับต้นพริกที่ย้ายกล้าปลูกอายุ 50 วัน พบว่า การใส่หัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่าปริมาตร 30 มิลลิลิตรต่อต้น ท้าให้ต้นพริกมีความสูงมากที่สุดเท่ากับ 68.70 เซนติเมตร และการใส่หัวเชื้อชนิดน้้าเห็ดตับเต่าในปริมาตร 60 มิลลิลิตรต่อต้น ท้าให้ต้นพริกมีค่าเฉลี่ยจ้านวนใบ น้้าหนักสดและน้้าหนักแห้งของทั้งต้น และเฉพาะส่วนรากสูงที่สุดเท่ากับ 173.00 ใบ 149.00 กรัมน้้าหนักสดทั้งต้น 22.29 กรัมน้้าหนักแห้งทั้งต้น 13.97 กรัมน้้าหนักสดเฉพาะส่วนราก และ 2.03 กรัมน้้าหนักแห้งเฉพาะส่วนราก ตามล้าดับ
- เอกสารอ้างอิง :
ณัฐกานต์ ไทยนุกูล. 2555. ผลของเชื้อเห็ดตับเต่าไอโซเลท TR1 ต่อการเติบโตทางกิ่งใบและผลผลิต ของพริกหนุ่มพันธุ์หยกสวรรค์. ปัญหาพิเศษ ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
ปานทิพย์ ขันวิชัย และประภาพร ตั้งกิจโชติ. 2555. ผลของเชื้อเห็ดตับเต่า (Boletus colossus Heim.) ไอโซเลทต่างๆ ต่อการเติบโตทางกิ่งใบ และมวลชีวภาพของต้นกล้าฝรั่ง Okinawa, น.232-239. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
ประภาพร ตั้งกิจโชติ, มัญชนี เขียววิชัย และกวิศรวานิชกุล. 2554. ผลของเชื้อเห็ดตับเตาตอการ เติบโตทางกิ่งใบของมะละกอพันธุเม็กซิโก-เกษตร, น.296-303. ใน เรื่องเต็มการประชุมทาง วิชาการ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรครั้งที่ 49. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ.
ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์. (ม.ป.ป.). การปลูกและการขยายพันธุ์พริก พืชเศรษฐกิจร้อนแรง สร้างเงิน ล้าน. สานักพิมพ์เพชรกระรัต จากัด, กรุงเทพฯ
พิทักษ์ เทพสมบูรณ์. 2540. การปลูกพริก. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
พืชเกษตร. ม.ป.ป. เห็ดตับเต่าดา เห็ดตับเต่าขาว สรรพคุณ และการเพาะเห็ดตับเต่า. เว็บเพื่อพืช เกษตรไทย. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com
รักบ้านเกิด. 2558. เห็ดตับเต่า (เห็ดผึ้งหรือเห็ดเผิ่ง). แหล่งที่มา: http://www.rakbankerd.com
ราชบัณทิตยสถาน. 2550. เห็ดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัททีฟิมล์ จากัด, นนทบุรี
รุ่งฟ้า จีนแส. 2555. การใช้เชื้อเห็ดตับเต่า (Boletus colossus Heim.) ส่งเสริมการเจริญ เติบโตของต้นเต้าซื่อ (Diospyros lotus) ระยะต้นกล้า. ปัญหาพิเศษ ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ เด่นห้า. ม.ป.ป. พริกหนุ่ม. แหล่งที่มา: http://tree. t5denha.ac.th
สานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2553. เห็ดตับเต่า เห็ดเผิ่ง. ระบบ ฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น. แหล่งที่มา: http://www.bedo.or.th
อานนท์ เอื้อตระกูล. 2553. ชื่อต้นไม้ที่สามารถเพาะเห็ดตับเต่าได้. แหล่งที่มาข้อมูล : http://anonbiotec.gratis-foros.com/t185-topic#387 .
|