- ชื่อเรื่อง : การประเมินความสามารถในการทนเค็มของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ ในสภาพโรงเรือน
- title : EVALUATION OF SALINITY TOLERANCE OF 7 COMERCIAL CHILI VARIETIES UNDER GREENHOUSE CONDITION
- ผู้แต่ง : นายนพเก้า ศิลปชัย
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา ปีการศึกษา : 2566 - บทคัดย่อ :
พริก เป็นพืชผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง พริกในประเทศไทยมีหลายชนิด ได้แก่ พริกชี้ฟ้า และพริกขี้หนู เป็นต้น ความเค็มเป็นปัญหาหนึ่งทางด้านการเกษตรของประเทศ เพราะพื้นที่ที่มีความเค็มไม่สามารถทำการเกษตรหรือปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้เพราะความเค็ม ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือ โซเดียมคลอไรด์ ที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) แบ่งออกเป็น 5 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น ได้แก่ 1.เหลืองลูกผสม 2.เขียวหนุ่มลูกผสม 3.เขียวหนุ่ม 4.แดงจินดา 5.หนุ่มขาวลูกผสม 6.กะเหรี่ยง 7.หยวกลูกผสม ทรีทเมนต์ที่ 1 Control (น้ำกลั่น) ทรีทเมนต์ที่ 2 เกลือ NaCl เข้มข้น 25 mM ทรีทเมนต์ที่ 3 เกลือ NaCl เข้มข้น 50 mM ทรีทเมนต์ที่ 4 เกลือ NaCl เข้มข้น 75 mM ทรีทเมนต์ที่ 5 เกลือ NaCl เข้มข้น 100 mM ผลการทดลองพบว่า พริกพันธุ์เหลืองลูกผสม พริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ในระดับความเข้มข้น 50 mM ในพริกพันธุ์แดงจินดา พริกพันธุ์หนุ่มขาวลูกผสม พริกพันธุ์กะเหรี่ยง และพริกพันธุ์หยวกลูกผสม พบว่า สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ดังนั้น พริกพันธุ์เหลืองลูกผสมพริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม มีศักยภาพในการทนเค็ม 50 mM (NaCl) สมควรส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม
- เอกสารอ้างอิง :
เกษตรตำบล.คอม. 2565. พริกกะเหรี่ยง นิยมนำมาทำพริกแห้งเพราะให้น้ำหนักดี มีความเผ็ดและหอม. พืชผัก. แหล่งที่มา:https://www.kasettambon.com/พริกกะเหรี่ยง-นิยมนำมาท/, 30 พฤศจิกายน 2565.
กรมพัฒนาที่ดิน. ม.ป.ป. ดินเค็ม. การจัดการดินปัญหา. แหล่งที่มา: https://www.ldd.go.th/Web_Soil/salty.htm, 30 พฤศจิกายน 2565.
ธนพงศ์ เง่าพิทักษ์กุล, จำนอง โสมกุล, ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ, รัชชานนท์ ทองแผ่น, วิทยา สารคุณ และ อัญมณี อาวุชานนท. 2562. การประเมินความสามารถในการทนเค็มของเชื้อพันธุกรรมมะเขือม่วงในสภาพโรงเรือน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
นวฤทธิ์ ตุ้มม่วง. 2558. การประเมินความสามารถ การทนทานเค็มของมะเขือเปราะ 13 พันธุ์ ในสภาพโรงเรือน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 27 น.
นิรนาม. 2561. สูตร และการผสมสารละลายธาตุอาหาร ของผักสลัด (ปุ๋ยAB). เส้นทาผักไฮโดรโป นิกส์. แหล่งที่มา: https://www.coachnong.com/archives/614, 30 พฤศจิกายน 2565.
บริษัท เจียไต๋ จำกัด. ม.ป.ป. พริกหนุ่มเขียว มณีมรกต. เมล็ดพันธุ์พริก. แหล่งที่มา: https://www.chiataiseed.com/product/hotpepper-maneemorakot, 30 พฤศจิกายน 2565.
บริษัท ซีดไลน์ จำกัด. ม.ป.ป. พริกหนุ่มขาวลูกผสม มะลิวัลย์ (MALIWAN). เมล็ดพันธุ์ผัก. แหล่งที่มา: https://www.seedline.co.th/index.php/th/products/vegetable-seedsl, 30 พฤศจิกายน 2565.
บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). 2560. พริกจินดา. ช่วงนี้มีอะไร. แหล่งที่มา: https://www.technologychaoban.com/what-news/article_29212, 30 พฤศจิกายน 2565.
53
บริษัท ออลล์เกษตร (ประเทศไทย) จำกัด. ม.ป.ป. เมล็ดพันธุ์พริกหนุ่มเขียวลูกผสม F1 กังสดาล. เมล็ดผัก. แหล่งที่มา: https://www.allkaset.com/เมล็ดผัก/เมล็ดพันธุ์พริกหนุ่มเขียวลูกผสมF1_กังสดาล_SEEDLINE-2290.php, 30 พฤศจิกายน 2565.
บริษัท ออร์แกนิค ดีไซน์ จำกัด. ม.ป.ป. ปุ๋ย AB คืออะไร. บทความ. แหล่งที่มา: https://idesignorganic.com/ปุ๋ยab/, 30 พฤศจิกายน 2565.
บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด. ม.ป.ป. พริกหยวกลูกผสม มณีกาญจน์. เมล็ดพันธุ์. แหล่งที่มา: https://th.eastwestseed.com/crops/capsicum-annuum-l/maneekarn-f1, 30 พฤศจิกายน 2565.
ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์. 2556. การปลูกและการขยายพันธุ์. สำนักพิมพ์เพชรกะรัต จำกัด, กรุงเทพฯ.
พีเอสเอ เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย จำกัด. 2563. โซเดียมคลอไรด์ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ใช้ทำ อะไรบ้าง. สาระน่ารู้. แหล่งที่มา: https://psasupply.com/โซเดียมคลอไรด์/, 30 พฤศจิกายน 2565.
มติชน. 2564. ปลูกพริก ต้องรู้! 10 สายพันธุ์ พริกยอดนิยมที่ตลาดต้องการ. Featured. แหล่งที่มา: https://www.technologychaoban.com/featured/article_108191, 30 พฤศจิกายน 2565.
วีระ ภาคอุทัย และเยาวรัตน์ ศรีวรานนท์. 2557. พริก ปลูกอย่างไรในภาวะโลกกำลังร้อน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 30 น.
วิชิตพล มีแก้ว, ณัฐพล ขันธปราบ และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. 2553. การปรับตัวของพืชภายใต้ภาวะ ที่มี ความเค็ม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภาพร แสนดี. 2550. การประเมินมะเขือ 14 พันธุ์ ในสภาพความเค็มระดับล่าง, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, นครปฐม. 26 น.
54
สมศรี จณิณฑ์. 2540. ดินเค็มในประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตร และสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 251.
สุดชล วุ้นประเสริฐ และฐิติพร มะชิโกวา. 2556. โครงการการพัฒนาการผลิตพริก และมะเขือเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการให้น้ำแบบประหยัด และการให้ปุ๋ยในระบบน้ำ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
อาริยา อินทร์เอียด. 2557. การประเมินระดับความสามารถการทนทานเค็มของมะเขือ 11 พันธุ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม 28 น.
อัญมณี อาวุชานนท์, ปัญจรัตน์ แซ่ตัน, ปิยะณัฐ ผกามาศ และธรธ อำพล. 2561. การประเมินศักยภาพในการทนเค็มของมะเขือการค้า 11 พันธุ์ในสภาพโรงเรือน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
อุรณี ยูวะนิยม, 2546. การจัดการปัญหาดินเค็มเอกสารวิชาการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการ จัดการดินเค็ม สำนักวิจัยและพัฒนาการ จัดการที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.
Goyal, S.S., Sharma, S.K. and Rains, D.W. 2003. Crop production in saline environments: Global and integrative perspectives. Haworth Press New York, USA. 427.
Greenway, H.a.R.M. 1980. Mechnisms of salt tolerance in nonhalophytes. Annals Review of Plant Physiol 31: 149-190.
Mayber, P. A. a. J. G. (1975). Plants in Saline Environments. Springer-Verlag, New York.
Miceli, A., Moncada, A. and D’Anna, F. 2003. Effect of salt stress inlettuce cultivation. Acta Horticulturae 609: 371-375.
55
Tzortzakis N.G. 2009. Alleviation of salinity-induced stress in lettuce growth by potassiumsulphate using nutrient filmtechnique. International Journal of Vegetable Science 15: 226-239.
|