- ชื่อเรื่อง : อิทธิพลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตในระยะการงอกของข้าว
- title : INFLUENCE OF SODIUM CHLORIDE IN DIFFERENT CONCENTRATIONS ON GROWTH DURING THE GERMINATION STAGE OF RICE
- ผู้แต่ง : นางสาวฐิตินันท์ วงษ์ประสิทธิ์
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา ปีการศึกษา : 2566 - บทคัดย่อ :
ข้าว (Rice; Oryza sativa L.) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ข้าวจัดเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อสภาวะความเค็มในระยะต้นกล้า โดยสภาวะความเค็มเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง เนื่องจากมีการสะสมของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในดิน ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดสภาวะเครียดเกลือ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะต้นกล้า ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือโซเดียมคลอไรด์ ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันต่อการงอกของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 NaCl 0 mM (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl 25 mM กรรมวิธีที่ 3 NaCl 50 mM กรรมวิธีที่ 4 NaCl 75 mM และกรรมวิธีที่ 5 NaCl 100 mM ผลการทดลองพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีดัชนีการงอก ความทนเค็ม และน้ำหนักสด ที่สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ เปอร์เซ็นต์การงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความสูงต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และอัตราการถูกทำลาย สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 75 mM ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีเปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความยาวราก และน้ำหนักสด สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM อัตราการถูกทำลาย ความสูงต้น น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และเปอร์เซ็นต์การงอก และความทนเค็ม ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้นใดเลย ดังนั้นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนเค็มต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีศักยภาพทนเค็ม ต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM
- เอกสารอ้างอิง :
กรมวิชาการเกษตร. 2562. ข้าวหอมปทุมธานี1. ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐ์. แหล่งที่มา: https://www.doa.go.th/cv/view.php?id=187&fbclid, 17 พฤศจิกายน 2565.
กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. แหล่งที่มา: https://www.ricethailand.go.th/rkb3/, 17 พฤศจิกายน 2565.
งามชื่น คงเสรี. 2539. คุณภาพข้าวสารและข้าวสุก. ในเอกสารประกอบการบรรยายสัมมนา. ข้าวกับคน. เพชรบุรี.
ธนภูมิ ศิริงาม. 2560. ลักษณะทางสรีรวิทยาของข้าวที่ตอบสนองต่อสภาวะความเค็ม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 25(6): 1025-1038.
ธนากร แสงสง่า, ชโลธร อู่แก้ว และ กฤษฎา รอดสันเทียะ. 2560. ผลของความเครียดเกลือต่อการงอกและการเจริญเติบโตในระยะต้นกล้าของข้าว. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 25(1).
นงคราญ มณีวรรณ และ ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าวและแนวทางแก้ไข. สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
นวรัตน์ อุดมประเสริฐ. 2558. สรีรวิทยาของพืชภายใต้สภาวะเครียด. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ประพาส วีระแพทย์. 2520. ข้าว. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. เล่ม 3 (2520).
พรทิพย์ ศรีมงคล, ธนพร ขจรผล, ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช, ธนกานต์ ประจวบสุข และ ไอลดา เทือกมูล. 2564. อิทธิพลของความเค็มต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวลูกผสมชั่วที่ 2. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 2564(2): 1-7.
42
เล็ก มอญเจริญ. 2540. ความเค็มกับการเจริญเติบโต. เอกสารคู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ. กรุงเทพฯ.
วาสนา วรมิศร์. 2538. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมของไทย. ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก. สถาบันวิจัยข้าว. กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
วิฑูรย์ ปัญญากุล. 2545. ข้าวหอมมะลิอินทรีย์. ที ซี จี พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ.
สมศรี อรุณินท์. 2539. การปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิก. เอกสารคู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐเรื่องดินเค็ม. กรุงเทพฯ.
สุชาวดี สมสำราญ. 2561. ผลของโซเดียมคลอไรด์และไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและการต้านอนุมูลอิสระในต้นอ่อนทานตะวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันท์ วิฑิตสิริ. 2559. ผลิตภัณฑ์จากข้าวไทยและผลพลอยได้ที่น่าสนใจ. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
อรุณี ยูวะนิยม. 2539. การวิจัยพืชทนเค็มและพืชชอบเกลือบางชนิดในพื้นที่ดินเค็มจัด. เอกสารคู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐเรื่องดินเค็ม. กรุงเทพฯ.
อุบล คำฟู. 2550. การปลูกข้าวหอมมะลิโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีพื้นบ้าน ชุมชนตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
Bradbury, L.M.T., Fitzgerald, T.L., Henry, R.J., Jin, Q.S. and Waters, D.L.E. 2005. The gene for fragrance in rice. Plant Biotechnol J 3: 363-370.
Buttery, RG., Ling, LC., Juliano, BO. and Turnbauhg, JG. 1983. Cooked rice aroma and 2-acetyl-1-pyrroline. J Agric. FoodChem 31: 823-826.
43
Cagampang., Gloria, B., Consuelo, M., Juliano. and Bienvenido, J. 1973. A gel consistency test for eating quality of rice. Journal of the Science of Food Agriculture 24(12): 1589-1594.
Chaves, M.M., Flexas, J. and Pinheiro, C., 2009. Photo synthesis under drought and salt stress. 103: 551-560.
Chong, Y.H. 1979. Malnutrition, food patterns, and nutritional requirements in Southeast Asia. In Proc. Of a 1977 workshop held on the interfaces between agriculture, nutrition, and food science. The United Nations University, Tokyo, and International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines.
Cruz, N.D. and Khush, G. J. A. r. 2000. Rice grain quality evaluation procedures. Aromatic Rice. 3: 15-28.
Deng, X.X., Zhang, X.Q., Song, X.J., Lai, K.K., Guo, L.B., Xin, Y.Y., Wang, H.Z. and Xue, D.W. 2011. Response of transgenic rice at germination traits under salt and alkali stress. African Journal of Agricultural Research 6: 4335-4339.
Fricke, W., Akhiyarova, G., Veselov, D., and Kudoyarova, G. 2004. Rapid and tissue-specific changes in ABA and in growth rate in response to salinity in barley leaves. Journal of experimental botany 55(399): 1115-1123.
Glenn, E. 1987. Relationship between cation accumulation and water content of salt-tolerant grasses and a sedge. Plant cell and Environment 10(3): 205-212.
Greenway, H. a. R. M. 1980. Mechnisms of salt tolerance in nonhalophytes. 31: 149-190.
44
Horie, T., Karahara, I. and Katsuhara, M. 2012. Salinity tolerance mechanisms in glycophytes: Anoverview with the central focus on rice plants. 5(1): 1-18.
International Rice Research Institute (IRRI). 1998. Word Rice Statistics. International Rice Research Institute, Manila, Philippines.
Jamil, M., Bae, L.D., Yong, J.K., Ashraf, M., Chun, L.S. and Shik, R.E. 2006. Effect of salt (NaCl) stress on germination and early growth of four vegetables species. Journal of Central European Agriculture 7: 273-282.
Jamil, M. and Rha, E.S. 2007. Response of Transgenic Rice at Germination and Early Seeding Growth under Salt stress. Pakistan Journal of Biological Sciences 10: 4303-4306.
Juliano, B. and Gonzales, L. 1989. Physicochemical and economic aspects of rice grain quality. International Rice Research Institute, Los Bonos, Laguna, Philippines.
Juliano, B.O. 1985. Factors affecting nutritional properties of rice protein. Sci. Technol. 7: 205-216.
Kazemi, K. and Eskandari, H. 2011. Effect of salt stress on germination and early seedling growth of rice (Oryza sativa) cultivars in Iran. African Journal of Biotechnology 10: 17789-17792.
Kumar, I. and Khush, G.S. 1986. Gene dosage effects of amylose content in rice endosperm. Jpn. J. Genet 61: 559-568.
45
Kumari, R., Sharma, P. and Kumar, H. 2018. Evaluation of salinity tolerance of rice varieties through in vitro seed germination and seedling growth. International Journal of Cerrent Microbiology and Applied Sciences, Special Issue 7: 2648-2659.
Little, R. R. J. C. C. 1958. Differential effect of dilute alkali on 25 varieties of milled white rice. Cereal Chem. 35: 111-126.
Malcolm, C. 1986. Production from salt affected soils. Reclamation and revegetation research. 5(1-3): 343-361.
Parida, A., Das, A.B. and Das, P. 2022. NaCl stress causes changes in photosynthetic pigments, protines and other metabolic components in the leaves of a true mangrove, Bruguiera parviflora, in hydroponic culture. Journal of Plant Biology 45(1): 28-36.
Reinhardt, D. H. a. T. L. R. 1995. On the correlation of primary root growth and tracheary element size and distance from the tip in cotton Seedling grown under Salinity. 35: 575-588.
Sanjiva, R.B., Vasudeva, A.R. and Subrahmanya, R.S. 1952. The amylose and amylopectin content of rice and their influence on the cooking quality of cereals. Proc. Indian Acad. Sci 368: 70-80.
Science Society of America. 2022. Sodic soil. Available Source: https://www.soils.org, 17 พฤศจิกายน 2565.
Sripinyowanich, S., Klomsakul, P., Boonburapong, B., Bangyeekhun, T., Asami, T., Gu., H. and Chadchawan, S. 2013. Exogenous ABA induces salt tolerance in indica rice (Oryza sativa L.): the role of OsP5CS1 and OsP5CR gene expression during salt stress. Environmental and Experimental Botany 86: 94-105.
46
Tan, YF, LI, JX, SB, XING, YZ, XU, CG, Zhang and Qifa. 1999. The three important traits for cooking and eating quality of rice grains are controlled by a singer locus in an elite rice hybrid, Shanyou 63. Theoretical Applied Genetics. 1999(3-4): 642-648.
Tanchotikul, U. and Hsieh, T.C.Y. 1991. An improved method for qualification of 2-acetyl-1-pyrroline a popcorn-like aroma, in aromatic rice by high-resolution gas chromatography/mass spectrometry/selected ion monitoring. J. Agric. FoodChem 39: 994-947.
United State Laboratory Staff. 1954. Diagosis and Improvement of Saline and Alkali Soil. Agriculture Handbook. 60: pp.160.
Vanavichit, A. and Yoshihashi, T. 2010. Molecular aspects of fragrance and aroma in rice. Adv Botan Res. 56: 49-73.
Vibhuti., Shahi, C., Bargali, K. and Bargali, S.S. 2015. Assessment of salt stress tolerance in three varieties of rice (Oryza sativa L.). Journal of Progressive Agriculture 6: 50-56.
Zeng, L., Lesch, S.M. and Grieve, C.M. 2003. Rice growth and yield respond to changes in water depth and salinity stress. Water Manage. 59: 67-75.
|