งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเกิด Wooden Breast (WB) ในกล้ามเนื้ออกไก่ต่อค่าสีและเนื้อสัมผัสของเนื้อสด และเนื้อสุก โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) วิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance; ANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตามวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้เนื้ออกไก่ทั้งหมด 75 ตัวอย่าง กลุ่มละ 25 ซ้ำ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เนื้อปกติ (Normal) กลุ่มที่ 2 การเกิด WB ระดับปานกลาง (Moderate) และ กลุ่มที่ 3 การเกิด WB ระดับรุนแรง (Severe) ผลการทดลองพบว่าการเกิด WB ในกล้ามเนื้ออกไก่สดต่อค่าสี มีผลทำให้สีของเนื้อเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่ามีค่าความสว่าง (L*) ของการเกิด WB ระดับรุนแรงและปานกลางมีความแตกต่างจากเนื้อปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ของเนื้อ WB ระดับปานกลางและรุนแรงไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบการเกิด WB ในกล้ามเนื้ออกไก่สุกต่อค่าเนื้อสัมผัสไม่มีความแตกต่างกันจากเนื้อปกติ ในขณะที่เมื่อนำชิ้นเนื้อ WB ที่สุกมาทดสอบค่าแรงเฉือนพบว่ามีความแตกต่างจากเนื้อสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เพราะฉะนั้นผลของการเกิด WB มีผลทำให้ลักษณะภายนอก เช่น สีและความยืดหยุ่นของเนื้ออกไก่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อคุณภาพเนื้อ และส่งผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค กัณฑาภรณ์ ฤทธิ์ชู. 2562. ผลของรูปแบบการเลี้ยงต่อคุณภาพซาก ลักษณะทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อไก่เบตง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คชาภรณ์ เต็มยอด และอัจฉรา ขยัน. 2563. ความสัมพันธ์ของการเกิดเส้นสรขาวแทรกในเนื้อ (White striping) และเนื้อแข็งเหมือนไม้ (Wooden breast) กับสายพันธุ์และการจำแนกลักษณะการเกิดเส้นสีขาวแทรก (White striping) และเนื้อแข็งเหมือนไม้ (Wooden breast) ในเนื้อไก่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จินตนา อุปดิสสกุล. 2540. หลักการและความสำคัญการวัดของการวิเคราะห์ลักษณะเนื้อสัมผัสอาหาร. อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. ธีระพงศ์ หมวดศรี. ม.ป.ป. ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อ วัดแรงตัดและแรงเฉือน ใช้หัววัดรหัส HDP/BS. วิธีการใช้เครื่องวิเคราะห์เนื้อสัมผัส. แหล่งที่มา: http://www.agroindustry.rmutsv.ac.th/agro/from/Machine-Noom. 22 มีนาคม 2566. ปศุศาสตร์ นิวส์. 2566. สถานการณ์แนวโน้มไก่เนื้อ ปี 2566. สถานการณ์และแนวโน้ม “ไก่เนื้อ” ปี 2566 ไทยและต่างประเทศ. แหล่งที่มา: https://www.pasusart.com. 18 มีนาคม 2566. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และจิราภา วิทยาภิรักษ์. 2549. Texture Profile Analysis. Food Network Solution ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. แหล่งที่มา: https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0987/texture-profile-analysis. 09 พฤษจิกายน 2564. ศศิภา เต็กอวยพร. 2554. การพัฒนาระบบวิเคราะห์เชิงภาพถ่ายเพื่อตรวจติดตามคุณภาพของผลติภัณฑ์ขนมปังกรอบ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. ศูนย์ความรู้เอ็กซิม. 2565. กรมปศุสัตว์คาดปริมาณส่งออกไก่ไทยปี 2565 ขยายตัว 2%. ข่าวเศรษฐกิจ. แหล่งที่มา: https://www.kmc.exim.go.th/detail/economy-news/20211216110815. 18 มีนาคม 2566. สุพัตรา สุขเจริญ. 2563. การวัดสีของเนื้อโคโดยการเปรียบเทียบระบบวิเคราะห์เชิงภาพถ่ายและเครื่องวัดสี. งานวิจัยระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สัญชัย จตุรสิทธา. 2543. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. ครั้งที่พิมพ์ 1. โรงพิมพ์ธนบรรณาการพิมพ์, ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี. 2565. องศาที่อาหารปลอดภัยสำหรับอาหาร. อาหารแต่ละประเภทควรเก็บไว้ในอุณหภูมิเท่าไหร่. แหล่งที่มา: https://makrohorecaacademy.com. 18 มีนาคม 2566. Abasht,B., Mutryn, M.F., Michalek. R.D. and Lee. W.R. 2016. Oxidative stress and metabolic perturbations in wooden breast disorder in chickens 4: 1-16. Brambila, S. G., Bowker, B. C., Chatterjee, D. and Zhuang, H. 2018. Descriptive texture analyses of broiler breast fillets with the wooden breast condition stored at 4◦C and –20◦C. Poultry Science 97: 1762-1767. Chatterjee, D., Zhuang, H., Bowker, B. C., Rincon, A. M. and Sanchez-Brambila, G. 2016. Instrumental texture characteristics of broiler pectoralis major with the wooden breast condition. Poultry Science 95(10): 2449-2454. Huang, X. and Ahn. D.U. 2018. The Incidence of Muscle Abnormalities in Broiler Breast Meat. Reviews Korean Journal Food Science Animal 38: 835-850. Mudalal, S., Lorenzi, M., Soglia, F., Cavani, C. and Petracci, M. 2014. Implications of white striping and wooden breast abnormalities on quality traits of raw and marinated chicken meat. Animal 9: 728–734. Namted, S. and Bunchasak, C. 2022. Physical and Chemical Properties of Meat in Relation to Wooden Breast Myopathies in Male Broiler Chickens Raised in Evaporative Cooling Systems. Indian Journal of Animal Research: 1-5. Petracci, M., Soglia, F., Madruga, M., Carvalho, L., Ida, E. and Estévez, M. 2019. Wooden‐breast, white striping, and spaghetti meat: causes, consequences and consumer perception of emerging broiler meat abnormalities. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety 18: 565-583. |