- ชื่อเรื่อง : ผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1
- title : EFFECTS OF DIFFERENT SALINE-ALKALINE LEVELS ON THE GROWTH OF KHAO DAWK MALI 105 AND PATHUM THANI 1 RICE VARIETIES
- ผู้แต่ง : นางสาวกนกพร นิตยผล
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา ปีการศึกษา : 2566 - บทคัดย่อ :
ข้าวเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งของประชากรโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของโลกและเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลและถือเป็นชีวิตจิตใจของคนไทย การทำนาจึงเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และถือได้ว่าข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญยิ่งเนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีดินเค็ม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomizrd Design, CRD) โดยแบ่งออกเป็น 4 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ (Replication) ซ้ำละ 50 เมล็ด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 (T1) คือ ชุดควบคุม (น้ำกลั่น) กรรมวิธีที่ 2 (T2) คือ 50 mM Na+pH7 ( NaCl 49.5 mM + NaHCO3 0.5 mM) กรรมวิธีที่ 3 (T3) คือ 50 mM Na+pH8 (NaCl 48 mM + NaHCO3 2 mM) กรรมวิธีที่ 4 (T4) คือ 50 mM Na+pH9 (Na2CO3 12.5 mM + NaHCO3 25 mM) จากการศึกษาพบว่า ความเค็ม-ด่างในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ที่ระดับความเค็ม-ด่างแตกต่างกัน 50 mM Na+pH7, 50mM Na+pH8, 50 mM Na+pH9 พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในด้านความยาวราก, ค่าเฉลี่ย, อัตราการถูกทำลาย, เปอร์เซ็นต์การงอก, ความแข็งแรงของเมล็ด, การลดลงของความสูง และความทนเค็ม ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีความทนต่อความเคลียดภายใต้สภาวะความเค็ม-ด่างที่ระดับ 50 mM Na+pH7 ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 ในด้าน น้ำหนักสด, น้ำหนักแห้ง, ความยาวต้น, เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ และดัชนีการงอก มีความไวต่อความเค็ม-ด่างในสภาวะที่ไม่รุนแรงในระดับใดได้ ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนความเค็ม-ด่าง อยู่ที่ 50 mM Na+pH7 ซึ่งทนได้มากกว่าข้าวปทุมธานี 1 ที่ไม่สามารถทนในสภาวะใดได้
- เอกสารอ้างอิง :
จันทร์ธิรา ดวงจันทร์ และ ศิริพรรณ บรรหาร. 2559. ผลของเกลือโซเดียคลอไรด์ต่อการเจริญเติบโตปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบปริมาณโพรลีน และกิจกรรมของเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสในถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merrill), วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น 38(2): 36-49.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2531. ข้าวชุมชนอโยธยา-อยุธยา ปัญหาเรื่องวิวัฒนาการทางเศษฐกิจและ สังคม. หน้า108-128 ในข้าวไพร่-ข้าวเจ้าของชาวสยาม.ศิลปวัฒนธรรมพิเศษ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม.
ชิน อยู่ดี. 2531. ข้าวจากโบราณดคีในไทย. หน้า 38-40 ข้าวไพร่-ข้าวเจ้าของชาวสยาม. ศิลปวัฒนธรรมพิเศษ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม.
ธิดา สาระยะ. 2531. ข้าวชุมชนอโยธยา-อยุธยา ปัญหาเรื่องวิวัฒนาการทางเศษฐกิจและสังคม. หน้า 98-107 ในข้าวไพร่-ข้าวเจ้าของชาวสยาม.ศิลปวัฒนธรรมพิเศษ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรม.
บริษัท นีโอนิคส์ จำกัด. 2564 ค่า pH ของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช. แหล่งที่มา: https://www.neonics.co.th, 16 ธันวาคม 2565.
บริษัท ฟาร์มแชนเนล(ประเทศไทย) จำกัด. มปป. ข้าวหอมปทุมธานี 1 แหล่งที่มา: https://farmchannelthailand.com, 15 ธันวาคม 2565.
บุญหงษ์ จงคิด. 2549. โครงการการทดสอบและคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลูกผสมทนแล้ง ที่ได้จากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ดอกพะยอม สาขาเกษตรศาสตร์และ ชีววิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เบญจวรรณ ชิวปรีชา, นภา ตั้งเตรียมจิตมั่น, เกศราภรณ์ จันทร์ประเสริฐ. 2561. โครงการ เปรียบเทียบสมบัติบางประการของข้าว จากนาข้าวอินทรีย์และนาข้าวใช้สารเคมี คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.44 น.
ประพาส วีระแพทย์. 2555. ความรู้เบื้องต้น เรื่องข้าว. สำนักวิจัย และพัฒนาข้าว กรมการข้าว. ISBN: 978-974-403-850-0.
เพิ่มพูน กีรติกสิกร. 2527. ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 250 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม. 2559. ข้าวหอมปทุมธานี1 แหล่งที่มา:https://skm.ssru.ac.th, 17 ธันวาคม 2565.
มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. ม.ป.ป เครื่องมือทำนา แหล่งที่มา:https://thairice.org 19ธันวาคม 2565.
เมดไทย. 2020. เบคกิ้งโซดา (Baking Soda) ประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา 63 ข้อ. แหล่งที่มา: https://medthai.com/depression, 23 ธันวาคม 2565.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2524. ดินเค็มและดินโซดิก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.กรุงเทพฯ.
รำพึง พูลสุข. 2534. พืชเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เชียงใหม่. 307 หน้า.
วัชระ ภูรีวิโรจน์กุล. 2542. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานโรคแมลง. รายงานศูนย์วิจัย ข้าวปทุมธานี,สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 200 หน้า.
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร. 2555. คู่มือที่6 การปลูกข้าว พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. หน้าที่ 5.
สงกรานต์ จิตรากร. 2531. ข้าว. ความสำคัญและวิวัฒนาการ.หน้า 26-36 ใน ข้าวไพร่-ข้าวเจ้าของชาวสยาม.ศิลปวัฒนธรรมพิเศษ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม.
อนุสิษฐ์เกื้อกูล. 2560. ค่า ph ของสารละลาย. ในสารละลายกรด-เบส. แหล่งที่มา:http://www.scimath.org/lesson-chemistry, 9 มกรคม 2566.
สมศรีอรุณินท. 2539. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 6 (พ. ศ. 2530-2534) กับ โครงการพัฒนาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หนา 14-17. ใน สมศรีอรุณินท. เอกสาร คูมือเจาหนาที่ของรัฐโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม ความรูเรื่องดินเค็มในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ.กรมพัฒนาที่ดิน. กรุงเทพฯ.
อรอนงค์ นัยวิกุล. 2547. ข้าว : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 366 หน้า การใช้ประโยชน์จากข้าวในการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 1: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
องค์ความรู้เรื่องข้าว. 2559. กองวิจัยและพัฒนาข้าว. แหล่งที่:https://www.ricethailand.go.th, 7 มกราคม 2566.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ผศ, นิธิยา รัตนาปนนท์. 2022. Food Network Solutionศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร แหล่งที่มา:https://www.foodnetworksolution.com, 8 มกราคม 2566.
Suriyan Cha-uma Chalermpol Kirdmaneeb 2009. Comparative Effects of Salt Stress and Extreme pH Stress Combined on Glycinebetaine Accumulation, Photosynthetic Abilities and Growth Characters of Two Rice Genotypes.
Chun, S.-C., Schneider, R. W., and Cohn, M. A. 1997. Sodium hypochlorite: Effect of solutionpH on rice seed disinfestation and its direct effect on seedling growth. Plant Dis. 81:821-824.
Flower, T. J., Troke, P. E., and Yeo, A. R. 1977. The mechanism of salt tolerance halophytes. Annu. Rev.Plant Physiol. 28: 89-121.
Henandez, J., A. Jimenez, Mullineaux, P. & Sevilla, F. 2000. Tolerance of pea plants (Pisum sativum) to long-term salt stress is associated with induction of antioxidant defences. Plant Cell Environ., 23, 853-862.
M.; Jiadkong, K.; Chuamnakthong, S.; Wangsawang, T.; Sreewongchai, T2021.; Ueda, A. Different Rhizospheric pH Conditions Affect Nutrient Accumulations in Rice under Salinity Stress. Plants.
Sumana Chuamnakthonga, Mami Nampeib, Akihiro Uedaa. 2019. Characterization of Na+ exclusion mechanism in rice under saline-alkaline stress conditions. Plant Science 2019 (287): 739-852.
|