งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบพันธุ์ทานตะวันพันธุ์ Red Sunflower (RS) ปลูกทั้งหมดจำนวน 60 ต้น โดยการผสมสายพันธุ์เดียวกันและผสมข้ามสายพันธุ์ มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Red Sunflower (OLR) , Red Sunflower (OS), พันธุ์เหลืองสดดอกใหญ่ (BY) จากนั้นทำการเก็บเมล็ดพันธ์ุ เพื่อใช้ในขยายพันธุ์ต่อ จากการปลูกทานตะวันพันธุ์ Red Sunflower (RS) รุ่นที่1 (F1) ทำการเก็บอัตราการงอก เปอร์เซ็นต์การงอกที่ได้คือ 75 เปอร์เซ็นต์ เมื่อต้นกล้าทานตะวันอายุ 14 วัน ทำการย้ายลงปลูกในกระถางขนาด 12 นิ้ว โดยอัตราการรอดชีวิตตั้งแต่วันแรกที่ย้ายลงกระถางเป็น ระยะเวลา 14 วัน อัตราการรอดชีวิตคือ 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวนเมล็ดทานตะวันพันธุ์ Red Sunflower (RS) ที่ได้จากการผสมพันธุ์เดียวกันได้ทั้งหมด 196 เมล็ด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 24.5 เมล็ดต่อดอก จำนวนเมล็ดทานตะวันที่ได้จากการผสมข้าม พันธุ์Red sunflower (OLR) ได้ทั้งหมด 490 เมล็ด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 44.55 เมล็ดต่อดอก จำนวนเมล็ดทานตะวันที่ได้จากการผสมข้าม พันธุ์Red sunflower (OS) ได้ทั้งหมด 59 เมล็ด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.75 เมล็ดต่อดอก จำนวนเมล็ดทานตะวันที่ได้จากการผสมข้าม พันธุ์เหลืองสดดอกใหญ่ (BY) ได้ทั้งหมด 68 เมล็ด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 34.0 เมล็ดต่อดอก หลังจากให้เมล็ดพักตัวเป็นเวลา 2 เดือน ได้ทำการปลูกทดสอบรุ่นที่2 (F2) เพื่อดูลักษณะลูกผสม พบว่า ลูกผสมที่เกิดจากการพันธุ์ RS X RS มีลักษณะดอกมีดอกออกตามข้อใบ ดอกวงนอกมีสีเหลืองแซมด้วยสีส้ม ดอกวงในสีน้ำตาลเข้ม กลีบดอกใหญ่ แหลมเป็นกลีบซ้อน ลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ RS X OLR มีลักษณะมีดอกออกตามข้อใบ มีดอกใหญ่ ดอกวงนอกมีสีแดงแซมด้วยสีน้ำตาล ดอกวงในสีน้ำตาลเข้ม กลีบดอกใหญ่ แหลมเป็นกลีบซ้อน ก้านดอกยาว ลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ RS X BY มีลักษณะมีดอกออกตามข้อใบ มีดอกใหญ่ ดอกวงนอกมีสีเหลืองสด ดอกวงในสีน้ำตาล กลีบดอกใหญ่ แหลมเป็นกลีบซ้อน มีดอกออกตามข้อใบ จากลูกผสมรุ่นที่2 (F2) ที่ปลูกทดสอบคู่RS X RS และ คู่RS X OLR มีความแตกต่างกันแค่เพียงสีดอก ส่วนคู่RS X BY มีขนาดดอกที่ใกล้เคียงกับต้นแม่ สีเหมือนต้นพ่อ มีลักษณะลำต้นที่คล้ายกันกับต้นแม่ ส่วนสีลำต้นคล้ายกันกับต้นพ่อ กนกวรรณ เสรีภาพ. 2555, การพักตัวของเมล็ด, คู่มือประกอบสื่อการสอนวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาชีววิทยา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน และคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร. 2548, คู่มือปุ๋ยอินทรีย์. พิมพค์รั้งที่1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศ ไทย, กรุงเทพฯ. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553, ทานตะวัน. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.doae.go.th/plant/ sun.htm กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2544, ปรับปรุงพันธุ์พืช : ความหลากหลายของแนวคิด. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์. 2556, เอกสารประกอบการสอน วิชา หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. 2558, การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก. แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น. กรุงเทพฯ. นันทิยา วรรธนะภูติ. 2545, คู่มือการปลูกไม้ดอก. สำนักพิมพ์ตรัสวิน, เชียงใหม่. ประดิษฐ์ พงษ์ทองคำ. 2543, พันธุศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. ปิิยนันท์ ขุนทองจันทร์. 2549, การนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนมาใช้ในการปลูก พืช โดยวิธิีแท่งเพาะชำ. วิทยานิพนธป์ริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. ยงยุทธ โอสถสภา. 2543, ธาตุอาหารพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. สุขเกษม จิตรสิงห์. 2543, การพัฒนาพันธุ์ทานตะวัน ของภาคเอกชน, น. 54-60. เอกสาร ประกอบ สัมมนาวิชาการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์ พืช ครั้งที่ 13 เทคโนโลยีใหม่-พันธุ์พืช ใหม่. สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่ง ประเทศไทย, กรุงเทพฯ. สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์. 2528, การปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมเกษตร แห่งชาติ, นครปฐม. อฤชร พงษ์ไสว. 2549, ไม้ดอกแสนสวย. สำนักพิมพ์ บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. อนุชิตา รัตนรัตน์. 2559, การศึกษาลักษณะเกสร เพศผู้เป็นหมันเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ทานตะวันตัดดอก. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. อภิชาติ ศรีสอาด, พัชรี สาโรงเย็น. 2559, เมล่อนคนเมือง. นาคา อินเตอร์มีเดีย จำกัด. สมุทรสาครฯ. อภิรักษ์ หลักชัยกุล. 2539, การศึกษาเปรียบเทียบวัสดุเพื่อใช้เป็นวัสดปลูกพืชไม่ใช้ดินใน ผักกาดหอม. วิทยานิพนธป์ริญญาโท. มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. อำพล เสนาณรงค์. 2536, แนวทางสู่เกษตรยั่งยืน. เกษตรยั่งยืน : อนาคตของการเกษตรไทย. เอกสารวิชาการประจำปี 2536 กรมวิชาการเกษตร. 32-7. Laosuwan. P. 1997, Sunflower production and research in Thailand. Suranaree J.Sci. Technol. 4(3): 159-167 |