งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการแปรปริมาณดักแด้ไหมในหน้าปลาแห้งต่อคุณภาพทางประสาทสัมผัส ทางเคมี และทางกายภาพ ศึกษาต้นทุนการผลิตหน้าปลาแห้งสูตรควบคุมและสูตรที่ผู้บริโภคยอมรับมากที่สุด งานวิจัยในขั้นแรกได้ศึกษาการคัดเลือกสูตรควบคุมหน้าปลาแห้งจำนวน 3 สูตร คะแนนประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสในทุกๆด้านแตกต่างกับสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) โดยหน้าปลาแห้งสูตรที่ 2 ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบในทุกๆ ด้านสูงกว่าสูตรที่ 1 และสูตรที่ 3 จึงเลือกสูตรที่ 2 ไปศึกษาต่อในขั้นตอนที่สอง โดยได้ศึกษาการแปรปริมาณปริมาณ ดักแด้ไหม : ปลาช่อนเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 0 : 100, 20 : 80 และ 25 : 75 ตามลำดับ พบว่า ปริมาณ ดักแด้ไหมที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้คะแนนความชอบในทุกๆด้านลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) โดยผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบในทุกๆ ด้านที่ระดับ 20 : 80 ใกล้เคียงกับสูตรควบคุมมากที่สุด ค่า aw และค่าความหนาแน่นลดลงตามปริมาณดักแด้ไหมที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) ปริมาณดักแด้ไหมที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีค่าความสว่าง (L*) และค่าสีเหลือง (b*) ลดลง ในขณะที่ค่าสีแดง (a*) เพิ่มมากขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีหน้าปลาแห้งสูตรควบคุมและสูตรที่ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนการยอมรับมากที่สุด (20 : 80) พบว่า ส่งผลต่อร้อยละของโปรตีนและเถ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) โดยหน้าปลาแห้งสูตร 20 : 80 ให้โปรตีนสูงกว่าสูตรควบคุม จึงกล่าวได้ว่าหน้าปลาแห้งสูตรนี้สามารถเป็นแหล่งโปรตีนให้กับผู้บริโภคได้ และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าสูตรควบคุม กรินทร์ สุขสำราญ. 2564. การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกนรกปลาย่างทดแทนด้วยแมงสดิ้งผง. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูประถัมภ์. กานดา ล้อแก้วมณี และ รุ่งทิพย์ มาสเมธาทิพย์. 2555. องค์ประกอบทางเคมีของดักแด้ไหมพันธ์ไทย พื้นบ้าน. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 58 (1): 50-56. ครัวบ้านสวนทวี. 2564. ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง วิธีทำหน้าปลาแห้ง หน้าปลาแห้งแตงโม แบบ โบราณ สูตรครัวบ้านสวนทวี. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=P5JgBoflLdE. ธัญญรัตน์ บุญโสภณ์, อรวัลถ์ อุปถัมภานนท์, เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์. 2559. การศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ปลาทุบจากเนื้อปลาเส้นใยสั้นและเนื้อปลาเส้นใยยาว. การประชุมวิชาการระดับชาติมหวิทยาลัยราช มงคล ครั้ง7. นภาพร ก้อนมณี. 2556 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการผลิตและคุณภาพของพริกแกงเผ็ดอัดก้อน. วิทยานิพนธ์ปิญญาโท, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. นันทิยา จงใจเทศ, พิมพร วัชรางค์กุล, ปิยนันท์ เผ่าม่วง และเพ็ญพโยม ประภาศิริ. (ม.ป.ป.). คุณภาพ โปรตีนและไขมันในแมลงที่กินได้. นิธิยา รัตนาปนนท์. 2558. หลักการแปรรูปอาหารเบื่องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. นิธิยา รัตนาปนนท์ และ พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. ม.ป.ป. บรรจุภัณฑ์/ภาชนะบรรจุ. ศูนย์เครือข่าย ข้อมูลอาหารครบวงจร. แหล่งที่มา: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0558/, 4 กุมภาพันธ์ 2561. Food For all: เพื่อโลก เพื่อสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่า นฤดล ดอกกุหลาบ ชนิดา ประเสริฐสังข์ พัชราภรณ์ แซ่ลิ้ม วัฒนี บุญวิทยา นันท์ปภัทร์ ทองคำ ภาสุรี ฤทธิเลิศ. 2564. ผลิตภัณฑ์ไส้อั่วดับเบิ้ลโปรตีน. Food For al l: เพื่อโลก เพื่อสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่า พัฒนวิชญ์ จูภาวัง และ วรางคณา สมพงษ์. 2564. สมบัติทางเคมีกายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนสกัด จากดักแด้หนอนไหม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. เพียรพรรณ สุภะโครต, กลมมาศ ชุมศรี และ ยศกร เสน่หา. 2563 การประชุมวิชาการระดับชาติ นนทรี อีสาร ครั้งที่ 8. มหาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. แม่ซี น้องมดดี้. 2561. วิธีทำหน้าปลาแห้ง ไว้ทานกับข้าวเหนียวมูนหรือแตงโมแช่เย็น. Youtube. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=p8FcgMXb2d.
วิไล รังสาดทอง. 2545. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ศรานนท์ เจริญสุข. ม.ป.ป. ผักสวนครัว. สำนักพิมพ์ ส่งเสริมอาชีพธุรกิจ เพชรกะรัต จำกัด, กรุงเทพฯ. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ กาญจนบุรี. ม.ป.ป. วงจรชีวิตของตัวไหม. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิม พระ เกียรติฯ กาญจนบุรี. แหล่งที่มา: https://qsds.go.th/newqssckri /วงจรชีวิตของตัวไหม. 12 มีนาคม 2566. สมสมร แก้วบริสุทธิ์. มปป. การแปรรูปแมลงเพื่อเพิ่มมูลค่า. สานักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดาริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุภาพรรณ เยี่ยมชัยภูมิ, ผู้รวบรวม. 2548. ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน. บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, กรุงเทพฯ. สุภาษิต ชูกลิ่น. 2563. การพัฒนาขนมขบเคี้ยวจากข้าวไร่พื้นเมืองนครเสริมโปรตีนผงจิ้งหรีดด้วย เครื่องเอกซ์ทรูเดอร์สกรูคู่สู่ผลิตภัณฑ์ทางการค้า. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวช. 2542. สารานุกรมปลาไทย. เอม ซัพพลาย, กรุงเทพฯ. สุวิทย์ แพงกันยา, อดิศักกดิ์ นาถกรณกุล และ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. 2564 การผลิตดักแด้ไหมกรอบโดยการ อบแห้ง ด้วยไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน . วารสารวิทยาศาสตร์บรูพา 26 (3): 1476-1489. อรพินท์ จินตสถาพร. 2547. การผลิตอาหารสัตว์น้าจากมันสาปะหลัง วัสดุพื้นบ้าน และสมุนไพร กวาวเครือ. คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. แหล่งที่มา: http:/www.rdi.ku.ac.th. 17 มีนาคม 2565. AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17 th ed., Maryland, USA. Biogang. 2554. ดักแด้. แหล่งที่มา: http:/www.biogang.net. 19 มีนาคม 2565 Natteewan, U, Sumeth, I, Chotika, G, Mariena, K. 2019. Nutritional Values and Functional Properties of House Cricket (Acheta domesticus) and Field Cricket (Gryllus bimaculatus). Japanese Society for Food Science and Technology 25(4) : 597-605. Huis, A. V., Itterbeeck, J. V., Klunder, H., Mertens, E., Halloran, A., Muir, G., & Vantomme, P. 2013. Edible insects: future prospects for food and feed security. FAO Forestry paper. |