- ชื่อเรื่อง : การเสริมน้ำหมักปลาต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยและการให้ ผลผลิตของเห็ดนางรมฮังการี
- title : SUPPLEMENTATION OF FISH FERMENTED WATER ON MYCELIA GROWTH AND YIELD OF PLEUROTUS SPP. OSTREATUS STRAIN
- ผู้แต่ง : นายเท่าฟ้า มานพ
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมกฤษณ์ แสงเงิน หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา ปีการศึกษา : 2566 - บทคัดย่อ :
การศึกษาผลของการเสริมน้ำหมักปลาต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรมฮังการี โดยการเสริมน้ำหมักปลาในสูตรที่ 2 วัสดุเพาะหมักเติมน้ำหมักปลา ให้การเจริญของเส้นใยดีที่สุด 6.55 เซนติเมตร หลังจากเพาะเป็นเวลา 30 วัน สูตรที่ 2 วัสดุเพาะหมักเติมน้ำหมักปลา ให้จำนวนดอกมากที่สุด 30 ดอกต่อช่อ ให้น้ำหนักมากที่สุดเฉลี่ย 94.50 กรัมต่อช่อ ความกว้างดอกมากที่สุด ในสูตรที่ 3 วัสดุเพาะหมักไม่เติมน้ำหมักปลาอยู่ที่ 31 เซนติเมตร ความกว้างก้านดอกมากที่สุด ในสูตรที่ 4 วัสดุเพาะไม่หมักเติมน้ำหมักปลาอยู่ที่ 13.50 เซนติเมตร ความยาวก้านดอก 9.22 เซนติเมตร ความหวาน 1.67 บริกซ์ ในเวลา 2 เดือน
- เอกสารอ้างอิง :
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ความเป็นมาของเห็ดนางรมฮังการี. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia. org, 16 มิถุนายน 2562.
ขวัญนภา ธนะวัฒน์. 2558. ผลของน้ำหมักชีวภาพจากผัก ปลา และสมุนไพรทีมีต่อการเจริญเติบโต และลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของโหระพาสีม่วงทีปลูกในระบบไฮโดรพอนิกส์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี
จันจิรา รสพิกุล และ วารีย์ ทวนไธสง. 2559. การเพาะเห็ด. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
ณัฐภูมิ สุดแก้ว และ คมสันต์ หุตะแพทย์. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรมฮังการี.
แหล่งที่มา: http://www.chokdeefarm.in.th, 16 มิถุนายน 2565.
บุญส่ง วงศ์เกรียงไกร. 2556. วงจรชีวิตของเห็ดนางรมฮังการี. พิมพ์ครั้งที่ 2. เกษตรบุ๊ค, นนทบุรี.
ประจักษ์ สรรถการอักษรกิจ. 2550. ลักษณะการเจริญเติบโตของเห็ดนางรมฮังการี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
พราวมาส เจริญรักษ์. 2563. สาขาการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี.
วีณารัตน์ มูลรัตน์. 2553. ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทน กากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตของผักโขม ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ และผักบุ้งจีน. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
วุฒิกร จันทร์มาก และ ชาตรี เกิดธรรม. (2552). การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพ จากปลาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้ที่ปลูกแบบไร้ดิน.
สำเนาว์ ฤทธิ์นุช. 2550. นวัตกรรมใหม่การเพาะเห็ดนางรม. รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์ จำกัด. กรุงเทพฯ. 68 หน้า.
สมชาย แสงทอง. 2561. การเตียมโรงเรือนเพาะเห็ดนางรมฮังการี. แหล่งที่มา: https://www.simuang. ac.th, 27 มิถุนายน 2565.
อดิศักดิ์ เหล่าพิมพ์. 2558. การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษปลา. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยหมัก จากปลา. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด. ประจวบคีรีขันธ์.
อัญชลี จาละ. 2557. การผลิตเห็ดนางรมขี้เลื่อยไม้ยางพาราสำหรับทำก้อนเชื้อในแนวเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 22(4): 495-500.
อานนท์ เอื้อตระกูล. 2554. การเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารเห็ด. 15(10): 25-26.
เอกรัตน์ วสุเพ็ญ. 2556. การใช้ประโยชน์ขี้เลื่อยยางพารามาผลิตเป็นวัสดุเพาะเห็ด. วารสารวิชาการ และวิจัย มทร.พระนคร. 5(พิเศษ): 20-26.
อรรถ บุญนีธี. 2556. น้ำหมักปลา. แหล่งที่มา : https://www.hrdi.or.th, 27 มิถุนายน 2565.
|