งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลิตภัณฑ์ฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่เสริมลงไปในไอศกรีม โดยศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ศึกษาปริมาณฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ต่อคุณภาพทางทางประสาทสัมผัส กายภาพและเคมี ของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยแปรปริมาณฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็น 3 ระดับ คือ 0:100, 50:50 และ 100:0 ผลการศึกษา พบว่าการคัดเลือกสูตรที่เหมาะสมโดยการทดสอบสมบัติทางกายภาพ ผลจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ทั้ง 3 สูตร พบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนในด้านลักษณะปรากฎ สี รสชาติ ความมัน ความเนียนและความชอบโดยรวม ในสูตรที่ 0:100 กับ 50:50 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อยู่ในระดับความชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง แต่ในสูตร 100:0 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) อยู่ในระดับความชอบเฉยๆ ส่วนด้านกลิ่น 0:100 ผู้บริโภคยอมรับมากที่สุด รองลงมา คือสูตร 50:50 ค่าความสว่าง (L*)และค่าสีเหลือง (b*) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ส่วนค่าสีแดง (a*) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ในสูตร 100:0 มีค่าสีแดงมาก รองลงมา คือสูตร 50:50 ตามลำดับ ในด้านความหนืด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่ในสูตรที่ 0:100 มีค่ามากกว่า รองลงมาคือสูตร 50:50 ตามลำดับ อัตราการละลายของไอศกรีมและการขึ้นฟู ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในด้านความชื้น ไขมัน และเถ้าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนด้านโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และพลังงาน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) จิรนาถ บุญคง และ นงค์นุช วงค์แก้ว. 2548. การผลิตไอศกรีมน้ำนมถั่วเหลือง. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม 1(1):31-39. จิราภัทร โอทอง, ลัดดาวัลย์ กลิ่นมาลัย และ อมรรัตน์ เจริญชัย. 2563. การใช้อินนูลินทดแทน น้ำตาลทรายในไอศกรีมนมเสริมอกไก่. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร. 10300. ชาญพิทยา ฉิมพาลี. 2558. “ทิศทางและศักยภาพการผลิตข้าวไทย” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thairiceexporters.or.th/. (13 มกราคม 2566). นฤมล ประภาสุวรรณกุล, สุพัฒน์ชลี สิธิโชควรกิตติ์, นันทพร อัคนิจและ สุภาวินี แสนทวีสุข. 2555. การผลิตไอศกรีมจากน้ำตาลมะพร้าว. ได้รับทุนอุดหนุน . มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. นิธิยา รัตนาปนนท์. 2545. เคมีอาหาร. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. นรินทร์ เจริญพันธ์. 2562. การผลิตไอศกรีมใขมันต่ำจากน้ำนมข้าวเหนียวดำ. วารสารเทคโนโลยี การอาหาร. มหาวิทยาลัยสยาม 14 (1): 1-11. นภา โล่ทอง. 2535. กล้าเชื้ออาหารหมักและเทคโนโลยีการผลิต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิชญ์อร วนาอินทรายุธและวราวุฒิ ครูส่ง. 2535. การส่งเสริมกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายในเทม เป้. วารสารอาหาร, 22 (1), 18-23. พนิตา กิตตินานนท์. 2559. การยอมรับของผู้บริโภคต่อข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวเจ้าหอมมะลิ ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พรดรัล จุลกลัป์. 2560. การผลิตเทมเป้ถั่วเหลืองด้วยผงเชื้อ RHIZOPUS OLIGOSPORUS TISTR 3089 ในระดับครัวเรือนและการนําไปใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ในผงปรุงรส. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences, 18 (1), 201-208. พรดรัล จุลกลัป์และธนพล กิจพจน์. 2560. การผลิตเทมเป้ถั่วเหลืองด้วยผงเชื้อ RHIZOPUS OLIGOSPORUS TISTR 3089 ในระดับห้องปฎิบัติการ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยราฏพิบูลสงคราม 14 (1): 32-41. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงค์และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2566. การแช่เยือกแข็ง (Freezing). [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.foodnetworksolution.com/. (19 ตุลาคม 2566). พรรัตน์ สินชัยพานิช, กุลรภัส บุตรพงษ์, ศศพินทุ์ ดิษนิล และ เรณู ทวิชชาติวิทยากุล. 2560. ผลของแป้ง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ใช้ทดแทนแป้งสาลีในบราวนี่: เนื้อสัมผัสและลักษณะคุณภาพ. สถาบันโภชนาการ. มหาวิทยาลัยมหิดล. ศาลายา. นครปฐม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม .2560. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แป้งสาลีชนิดอเนกประสงค์. มอก.375-2560. ยศพล เลิศวิมลชัยศิริ. 2563. แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์เทมเป้ เนื้อสัมผัสละเอียดพร้อมรับประทาน “ตรา เบปเบ้ (BEPPE)”. สารพิพนธ์, ปริญญาการจัดการมหาบัญฑิต, มหาวิทยาลัยการจัดการ. มหาลัยมหิดล. ละอองดาว ตุ้ยแป้. 2564. ผลของแป้งข้าวทับทิมชุมแพต่อตุณภาพของคุกกี้บราวนี้. คณะ เทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วิจาร์ณี ศรีนวล. 2551. การพัฒนาเทมเป้สำหรับการผลิตภัณฑ์อาหารมังสวิรัติ. ได้รับทุนอุดหนุน. มหาวิทยาลัยสยาม หน้า 43-51. วัฒนี บุญวิทยา, นันท์ปภัทร์ ทองคำ, นิศารัตน์ ตามสมัครและปาริชาต โคตะมะ. 2565. นวัตกรรมการผลิตอาหารสุขภาพจากข้าวไรซ์เบอร์รี่บนพื้นฐานเศรษฐกิจตาม BCG Model. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วนิดา โอศิริพันธ์และเทคโนโลยีชีวภาพ. 2546. การผลิตนมถั่วเหลืองที่มีปริมาณวิตามินและเกลือแร่ สู่จากเทมเป้. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต. วรรณา ตั้งเจริญชัยและวิบูลย์ศักดิ์ กาวิละ. 2531. นมและผลิตภัณฑ์นม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. วราวุฒิ ครูส่ง. 2535. เรามารู้จักเทมเป้กันดีกว่า. เอกสารประกอบนิทรรศการ “ลาดกระบัง” ครั่งที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หน้า 68-73. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2556. เรื่อง ไอศกรีม. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. ฉบับที่354. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 หน้า 84. หฤทัย นามมัน. 2562. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเสริมถั่วแดงเพาะงอก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. อัจฉรา อยู่คง, กมลวรรณ กันแต่ง, รัชฎาพร สุวรรณรัตน์และลดาวัลย์ จึงสมานุกูล. 2558. การสำรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยาของไอศกรีม. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถนนติวานนท์ นนทบุรี. 57(1). อรพิน ชัยประสพ. 2544. ไอศกรีมและผลิตภัณฑ์. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Andreasen, T.G.and Nielsen,H. 1992. Lce Cream and Aerated Dessert. ln the Technology of Dairy Products. Edited by Early, R.New York:VCH Publishers. Liu, K. H. 1997. Soybeans chemistry. technology and utilization. New York: Chapman Hall Press. National Nutrient Database for Standard Reference. (2018). Tempeh, cooked. Retrieved from https://fdc.nal.usda.gov/fdc- app.html#/food-details/172467/nutrients. Moh. Su'i, Hendrawan Ardy Pradana, Suprihana and Frida Dwi Anggraeni. 2020. Substitution of coconut milk and soybean tempeh flour to produce ice cream that qualified and healthy. Faculty of Agriculture, Widyagama Malang University, Borobudur Street no. 35, Malang.
Varnam, A.H. and Sutherland, J.P. 1994. Milk and Milk Products: Technology, Chemistry and microbio-logy. London: Chapman & Hall. William Shurtleff, Akiko Aoyagi. 1979. The Book of Tempeh. Soyinfo Center. Retrieved From https://books.google.co.th/. |