- ชื่อเรื่อง : การศึกษาคุณค่าทางอาหาของยะอินทรีย์ที่มีศัยภาพ เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
- title : A Study on the Nutritional Value of Organic Waste that has Potential as Ruminant Feed
- ผู้แต่ง : นายชวกรณ์ งอกศักดา
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ปณัท สุขสร้อย หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ ประธานหลักสูตร : อาจารย์ณัฐกานต์ พิสุทธิ์บูลวงศ์ ปีการศึกษา : 2567 - บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาคุณค่าทางอาหารของขยะอินทรีย์ที่มีศักยภาพ เพียงพอต่อการนำมาเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งได้แก่ เศษกะหล่ำปลี เศษกะหล่ำดอก เศษผักกาดขาว เศษผักกาดหอม และเศษข้าวโพดฝักอ่อน ที่ได้จากการคัดทิ้ง และตัดแต่ง ภายในตลาดพืชผักผลไม้ศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว วิเคราะห์ความแปรปรวนของ องค์ประกอบทางเคมีตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ผลพบว่าวัตถุแห้ง (DM) ของ เศษกะหล่ำดอกมีค่าสูงที่สุด คือ ร้อยละ 12.42 ขยะอินทรีย์ที่มีปริมาณโปรตีนรวม (CP) มีค่าสูงที่สุด ได้แก่ เศษ ผักกาดหอม (ร้อยละ 14.59) ขยะอินทรีย์ที่มีปริมาณเยื่อใยรวม (CF) สูงที่สุดคือ ได้แก่ เศษข้าวโพดฝักอ่อน (ร้อยละ 22.53) และขยะอินทรีย์ที่มีปริมาณเยื่อใยผนังเซลล์ (NDF) และเยื่อใย ลิกโนเซลลูโลส (ADF) สูงที่สุด ได้แก่ เศษข้าวโพดฝักอ่อน (ร้อยละ 52.68 และ 24.65 ตามลำดับ) จากผลการทดลองพบว่าเศษกะหล่ำปลีเป็นขยะอินทรีย์ที่มี ศักยภาพเพียงพอต่อการนำมาเป็นอาหาร สัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยพิจารณาจากปริมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ช่วงระยะเวลาที่มีผลผลิต และคุณค่าทางโภชนา แต่ทั้งนี้ปริมาณความชื้นของเศษกะหล่ำปลีมีค่อนข้างสูง (ร้อยละ 92.29) ทำให้เน่าเสียเร็ว เมื่อนำมาเลี้ยงสัตว์จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้เป็นเวลานานได้ จึงต้องนำมาถนอมโดย การหมัก - เอกสารอ้างอิง :
น.สุนทร เรื่องเกษม, 2540. ผักกินใบ. ม.ป.พ. กรุงเทพฯ ประพันธ์ จิโน, 2511. การเปรียบเทียบการเก็บถนอมอาหารหยาบเพื่อเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยใช้ถังหมักแบบสูญกาศสแตนเลสและถังหมักพลาสติกทั่วไป. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วิชัย ลิขิตพรรักษ์, 2556. ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์, แหล่งข้อมูล https://www.slideshare.net/meenahidol/ss-34130836 วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2567.
สุพัตรา ชุมผาง. 2553. การใช้เศษผักเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง, ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สุนทร ตรีนันทวัน 2553. สัตว์เคี้ยวเอื้อง, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
FAO. 2006. World agriculture: towards 2030/2050. Interim report, Global
Perspective Studies Unit. Rome, Italy. Econornics (ESA), Rome, Italy
FAO. 2012. World agriculture towards 2030/2050. Agricultural Development IFIF. 2016. Global feed production. (Online). Available: http://www.ifif.org [2017, July 16]
Roser, M. and E.O. Ospina. 2017. World Population Growth. (Online). Available: https://ourworldindata.org [2017, July 11]. Wilkinson. (2011). Animal Nutrition, 7th ed. Prentice Hall. Scotland |