- ชื่อเรื่อง : การเปรียบเทียบวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของเมล่อนพันธุ์ไข่ทองคำในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน
- title : Comparison of Growing Media on Growth of ‘Khaithongkham’ Melon Soilless Culture System
- ผู้แต่ง : นางสาวศศิธร มั่นคง
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา นามี หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ณัฐกานต์ พิสุทธิ์พิบูลวงศ์ ปีการศึกษา : 2567 - บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อเมล่อนสายพันธุ์
ไข่ทองคำในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน โดยการเปรียบเทียบการใช้วัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมล่อนพันธุ์ไข่ทองคำที่ปลูกในระบบโรงเรือน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design : CRD) จำนวน 3 กรรมวิธี 3 ซ้ำๆ ละ 10 ถุง ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1
ฟิวเตอร์เค้ก อัตราส่วน 100% กรรมวิธีที่ 2 ฟิวเตอร์เค้ก อัตราส่วน 50% ผสมกับวัสดุปลูก 50% และกรรมวิธีที่ 3 วัสดุปลูกอัตราส่วน 100% โดยบันทึกผลการทดลองการเจริญเติบโตทางด้าน
ต้นเมล่อนและขนาดผลของเมล่อน เริ่มทำการวัดการเจริญเติบโตของเมล่อน เป็นระยะเวลา 7, 14, 21 และ 28 วัน ทำการบันทึกข้อมูลดังนี้ 1) ความสูงของต้นเมล่อนเถาหลัก (เซนติเมตร),
2) ความกว้างใบ (เซนติเมตร), 3) ความยาวใบ (เซนติเมตร), 4) จำนวนใบ (ใบ), 5) จำนวนข้อ (ข้อ), 6) เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น (เซนติเมตร), 7) เส้นผ่าศูนย์กลางผล (เซนติเมตร) 8) ความยาวผล (มิลลิเมตร) และ 9) น้ำหนักผล (กิโลกรัม) ผลการทดลองพบว่าการใช้ฟิวเตอร์เค้ก อัตราส่วน 100% ช่วยส่งเสริมให้ความสูง ความกว้างใบ จำนวนใบ และจำนวนข้อของเมล่อนเจริญได้ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ฟิวเตอร์เค้ก อัตราส่วน 100% และฟิวเตอร์เค้ก 50% ผสมกับวัสดุปลูก 50% ส่งผลให้ขนาดลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลางผล ความยาวผล
และน้ำหนักผล เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฟิวเตอร์เค้ก อัตราส่วน 100% ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)
- เอกสารอ้างอิง :
คู่มือแนวทางการปลูกเมล่อนญี่ปุ่น. 2563. คู่มือแนวทางปลูกเมล่อนญี่ปุ่นเบื้องต้น. แหล่งที่มา: https://www.rukkla.com/content/10739/, 7 เมษายน 2563.
จานุลักษณ์ ขนบดี. 2541. การผลิตเม็ดพันธุ์ผัก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.
จุมพล สาระนาด, อรพรรณ วิเศษสังค์ และจักรพงษ์ เจิมศิริ. 2539. คู่มือนักวิชาการภาคสนามโรคผัก. กรมวิชาการเกษตร. อักษรสยามการพิมพ์. กรุงเทพฯ.
เฉลิมพล แซมเพชร. 2535. ความสมดุลของไนโตรเจน ในระบบการปลูกพืชบนที่ดอน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ธงชัย เนมขุนทด. 2531. แคนตาลูป. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน. กรุงเทพมหานคร. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com. 2 มิถุนายม 2560.
ธัญสินี สมงามทรัพย์, ปริยานุช จุลกะ และพิจิตรา แก้วสอน. 2564. ผลของการจัดการการให้น้ำต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของเมล่อนที่ปลูกในโรงเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ววท.). 29(5): 838-849.
ธิติพัฒน์ วีเปลี่ยน, ปริยานุช จุลกะ, พิจิตรา แก้วสอน และศวพร ศุภผล. 2554. ผลของความชื้นในดินและปริมาณแคลเซียมต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตแตงเทศพันธุ์ Honey ball. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ.
นพพร คล้ายพงษ์พันธ์. 2546. เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.
นิพนธ์ ไชยมงคล. 2544. ฐานข้อมูลพืชผัก. แหล่งที่มา: http://www.agricprod. mju.ac.th/vegetable/file_link/melon.pdf, 28 มิถุนายน 2564
ทรงศักดิ์ จุนถิระพงศ์. 2550. อุตุนิยมวิทยาเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.
บริษัท เจียไต๋ จ้ากัด. 2552. โรคและแมลงที่สำคัญของเมล่อน. แหล่งที่มา: http://www.chiataigroup.com/Default.aspx?PageContentID=35&tabid=160, 1 มิถุนายม 2560.
ลิลลี่ กาวีต๊ะ, มาลี ณ นคร, ศรีสม สุวรรณวงศ์ และสุรียา ตันติวิวัฒน์. 2552. สรีรวิทยาของพืช. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา, ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชัยสิทธิ์ ทองจู. 2551. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สมเกียรติ ศรีพงษ์ประไพ. 2557. ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของลักษณะผลที่เกี่ยวข้องกับอายุการเก็บรักษาของลูกผสมระหว่างแตงไทยกับแคนตาลูป. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.
สำนักงานประชาสัมพันธ์สระแก้ว. 2565. เมล่อน ปลอดสารพิษ. แหล่งที่มา:https:// sakaeo.prd.go.th/th/content/category/detail/id/390/iid/100115, 8 มิถุนายน 2565.
สราวุธ อินทร์จันทร์, กิตติพันธ์ บรรพต และพงศธร ประคองสิน. 2560. การเปรียบเทียบวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของเมล่อนพันธุ์กรีนเน็ตในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน. ปัญหาพิเศษ. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์.
ศุภัครชา อภิรติกร, คริษฐ์สพล หนูพรหม และศุจิรัตน์ สรประสิทธิ์. 2563. การเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อน 4 พันธุ์ที่ปลูกภายใต้โรงเรือนในจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(8): 1450-1461.
อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2553. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเชิงธุรกิจในประเทศไทย. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. กรุงเทพฯ.
Cantwell, M. 2011. Overview Melon Quality and Postharvest Handling. Postharvest physiology, handling, and storage of vegetables including specialty and fresh cut vegetables Department of Plant Sciences, University of California.
Dunlap, J.R. 1986. Influence of soil temperature on the early growth of three muskmelon cultivars. Scientia Horticulturae 29:221-228.
Kong, Q., Gao, L., Cao, L., Liu, Y., Saba, H., Huang, Y. and Bie, Z. 2016. Assessment of Suitable Reference Genes for Quantitative Gene Expression Studies in Melon Fruits. Front Plant Sci. 7: 1178.
Kotsiras, A., Olympios, C.M., Drosopoulos, J. and Passam, H.C. 2002. Effects of nitrogen form and concentration on the distribution of ions within cucumber fruits. Scientia Horticulturae. 95(3): 175-183.
Perez-Zamora, O., Cigales-Rivero, M.R., Orozco-Santos, M. and Pérez-Castro, K.G. 2004. Soil moisture tension and nitrogen fertilization on cantaloupe melon: Part II. Agrociencia. 38(3):251-272.
Rungruksatham, P. and Khurnpoon, L. 2016. Effect of Shade Net and Fertilizer Application on Growth and Quality in muskmelon (Cucumis melo. L. var. reticulatus) after Harvest. International Journal of Agricultural Technology. 12(7.1): 1407-1417.
Sharma, S.P., Leskovar, D.I., Crosby, K.M., Volder, A. and Ibrahim, A.M.H. 2014. Root growth, yield, and fruit quality responses of reticulatus and inodorus melons (Cucumis melo L.) to deficit subsurface drip irrigation. Agricultural Water Management. 136: 75-85.
Tuna, A.L., C. Kaya, D. Higgs, B. Murillo-Amador, S. Aydemir and A.R. Girgin. 2008. Silicon improves salinity tolerance in wheat plants. Environmental and Experimental Botany. 62 (1): 10–16.
Zeng, C.Z., Bie, Z.L., Yuan, B.Z. 2009. Determination of optimum irrigation water amount for drip-irrigated muskmelon (Cucumis melo L.) in plastic greenhouse. Agric. Water Manage. 96: 595-602.
|