- ชื่อเรื่อง : ผลของการเสริมผงสะระแหน่ในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต
- title : EFFECTS OF SUPPLEMENTING MINT POWDER IN LAYING HEN DIET ON PRODUCTION PERFORMANCE
- ผู้แต่ง : นายธีรภัทร พันธุ์ไม้
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ ประธานหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร นามเทศ ปีการศึกษา : 2568 - บทคัดย่อ :
วัตถุประสงค์ของการทดลอง เพื่อศึกษาสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ที่ได้รับอาหารเสริมผงสะระแหน่ที่ระดับต่างๆ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งไก่ลูกผสมทางการค้าสายพันธุ์เปปครอป โดยทดลองในแม่ไก่ไข่ที่อายุ 95 สัปดาห์ จำนวน 120 ตัว เป็น 3 กลุ่มการทดลอง กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว กลุ่มทดลองคือ กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ(กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมผงสะระแหน่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่ 3 อาหารปกติเสริมผงสะระแหน่ 1 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่าสมรรถภาพการผลิตค่า อัตราการไข่ มวลไข่ ปริมาณอาหารที่กิน ประสิทธิภาพการใช้อาหารและอัตราการเลี้ยงรอด ตลอดการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ค่าน้ำหนักไข่และต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตไข่ 1 กิโลกรัม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผลการทดลององค์ประกอบทางเคมีจากการทดลองการเสริมผงสะระแหนในอาหารไก่ไข่ที่ระดับ 0.5 และ 1 เปอร์เซ็นต์ พบว่าค่า เยื่อใย ตลอดการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05) แต่ค่าความชื้น มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) โดยกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติมีค่าความชื้นสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และ กลุ่มที่ได้รับผงสะระแหน่ 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าความชื้นต่ำที่สุดำหรับค่าค่าไขมันพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่ได้รับการเสริมผงสะระแหน่ 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าไขมันสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และ กลุ่มที่ได้รับการเสริมที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าไขมันต่ำที่สุด ค่าเถ้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่ได้รับ 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเถ้าสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และ กลุ่มที่ได้รับอาหารปกติมีค่าเถ้าต่ำ ที่สุด ค่าโปรตีน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่ได้รับการเสริมผงสะระแหน่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าโปรตีนสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และ กลุ่มที่ได้รับการเสริมที่ 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าโปรตีนต่ำที่สุด
- เอกสารอ้างอิง :
เกียรติศักดิ์ สร้อยสุวรรณ. 2545. โภชนะศาสตร์และการให้อาหารสัตว์ปีก. คณะวิชาสัตวศาสตร์สถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช.
ไชยา อุ้ยสูงเนิน. 2532. การเลี้ยงไก่ไข่. พิมพ์ครั้งที่ 4. สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่,
กรุงเทพฯ.
จรัญ จันลักขณา. 2557. สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. ไทยวัฒนาพาณิช, กรุงเทพฯ.
บุหรัน พันธุ์สวรรค์. 2556. อนุมูลอิสระสารต้านอนุมูลอิสระและการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูล อิสระ.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21 (3): 276-280.
ปฐม เลาหะเกษตร. 2540. การเลี้ยงสัตว์ปีก. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ.
ศิริพร ตันจอ, ตรีรัตน์ สายวรรณ, ประภาศรี ภูวเสถียร, อังคารสิริ ตรีอ่วม, และครรชิต จุดประสงค์,
2558. คุณค่าทางโภชนาการของไข่ที่นิยมบริโภคและผลของการประกอบอาหาร. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23 (4): 651-666.
Association official Analytica Chemists (AOAC). 1995. Official Methods Analysis.
Washington D.C.
Answers Corporation. 1999. Mangostin. answers.com. Available Source:
http://www.answers.com/mangostin. February 26, 2021.
Abou-Elezz, F. M. K., L. Sarmiento-Franco, R. Santos-Ricalde and F. Solorio-Sanchez.
2011. Nutritional effects of dietary inclusion of Leucaena leucocephala and
Moringa oleifera leaf meal on Rhode Island Red hens performance. Cub J.
Agri. Sci. 45: 163-169.
Banerjee S., S. K. Mukhopadhayay, S. Haldar, S. Ganguly, S. Pradhan, N. C. Patra, D.
Niyogi and D. P. Isore. 2013. Effect of phytogenic growth promoter on broile birds. J. Pharmacogn. Phytochem. 1: 183-188.
Chen, L., J. Y. Hu and S. Q. Wang. 2012. The role of antioxidants in
photoprotection: a critical review. J. Am. Acad. Dermatol. 67(5): 1013-1024.
Chung, K., T. Z. Lu and M. W. Chou. 1998. Mechanism of tannic acid and related
compounds on the growth of intestinal bacteria. Food Chemi. Toxi. 36:
1053-1060.
Dorge, W. 2002. Free radicals in physiological control of cellular function.
Physio. Rew. 82: 47-95.
Eggum, B. O., G. Thorbek, R. M. Beames, A. Chwalibag and S. Henckel. 1982.
Influence of diet and microbial activity in the digestive tract on digestibility, nitrogen and energy metabolism in rat and pig. Br. J. of Nutr. 48: 161-175.
Embuscado, M.E. 2015. Spices and herbs natural sources of antioxidants (a mini
review). J. Funct. Foods. 18811-819.
Gardner, F. A. and L. L. Young. 1972. The influence of dietary protein and energy
levels on the protein and lipid content of the hen's egg. Poult. Sci., 51: 994
997.
Gamal, A. A., A. M. Mamdouh, A. E. C. Ghadir, M. A. E. G. Zenab and S. H. Mervat.
2016. Effect of pomegranate peel extract as natural growth promoter on the productive performance and intestinal microbial of broiler chickens. Afr.
J. Agric. Sci. Technol. 3: 514-519.
Kakengi, A. M. V., J.T. Kaijage, S. V. Sarwatt, S. K. Mutayoba, M. N. Shem and T.
Fujihara. 2007. Effect of Moringa oleifera leaf meal as a substitute for sunflower seed meal on performance of laying hens in Tanzania. Livestock Res. Rur. Develop. 19: 363-367.
Lin, H., E. Decuypere and J. Buyse. 2004. Oxidative stress induced by
corticosterone administration in broiler chickens. Chronic exposure.
Comp. Biochem. Physiol. Part B. 139: 737-744.
Mateus, M., E. Carvalho and G. Luis. 2004. Influence of the tannin structure on the
disrugtion affect of carbohydrates on protein-tannin aggregates. J. Anim.
Feed Sci. 513: 135.
Mutayoba, S. K., E. Dierenfeld, V. A. Mercedes, Y. Frances and C. D. Knight. 2011.
Determination of chemical composition and anti-nutritive components for Tanzanian locally avaiable poultry feed ingredients. Int. J. Poult. Sci. 10:
350-357.
Scalbert, A. 1991. Antimicrobial properties of tinnins. Physiology-
Photochem. 30: 1875-1883.
Sampath, P. D. and K. Vijayaraghavan. 2007. Xanthones in mangosteen. J.
Biochem. Molecular Toxico. 21: 336-339.
|