งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับฟางแห้ง ข้าวโพดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยอัตราส่วนของพืชหมักคือ หญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด จะแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 อัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 30:20:30 ต่อน้ำหนักพืชสด กลุ่มที่ 2 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:20:40 ต่อน้ำหนักพืชสด และกลุ่มที่ 3 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสด ทั้ง 3 กลุ่มมีการเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 ทำการทำการทดลองจำนวนกลุ่มละ 3 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้พืชหมักจำนวน 9 ถุง รวมทั้งหมด 27 ถุง 1 โดยใช้ระยะเวลาในการหมัก 21 วัน โดยเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพืชหมัก คือ ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น และเนื้อสัมผัส รวมทั้งข้อมูลค่าความเป็นกรด-ด่างของพืชหมักทั้ง 3 กลุ่ม มาเปรียบเทียบกัน และนำข้อมูลมาวางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) คำนวณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean ± SD) วิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance; ANOVA) และเปรียบเทียบคนแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan's new multiple range test (DMRT) ที่ระดับความ เชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพและเคมีของพืชหมัก กลุ่มที่ 3 โดยอัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสดและเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 เหมาะสำหรับการทำพืชหมักเพื่อใช้ป็นอาหารสัตว์มากที่สุด ด้านลักษณะปรากฏของสี พืชหมักมีสีเหลืองอมเขียว กลิ่นลักษณะคล้ายผลไม้ดอง เนื้อสัมผัสไม่เละ ไม่จับกันเป็นก้อน ไม่มียีสต์หรือเชื้อราเจือปน และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.69 ซึ่งเป็นกรดปานกลาง กรมปศุสัตว์. (2544). หญ้าหมัก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร. กรมปศุสัตว์. (2547). มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักของกองอาหารสัตว์. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร. กรมปศุสัตว์. (2558). ผลงานพัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์ (หน้า 11-88). สำนักพัฒนาอาหารสัตว์. สืบค้นจาก nutrition2@dld.go.th หรือ www.dld.th/nutrition เกียรติศักดิ์ กล่ำเอม. (2565). การผลิตหญ้าแห้งคุณภาพดี. ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชอาหารสัตว์, สำนักพัฒนาอาหารสัตว์. คณะเทคโนโลยีการเกษตร. (2558). พืชอาหารสัตว์และการถนอมพืชอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ครัชนี บัวระภา, เกชา คูหา, กฤษณธร สินตะละ และ ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์. (2562). ผลของคุณค่าทางโภชนาการในอาหารที่มีวัตถุดิบหลักจากข้าวโพด และผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารหยาบคุณภาพ. แก่นเกษตร 47 ฉบับพิเศษ 2 : หน้า 723-728 ฑิฆัมพร ธรรมชีวัน, ศุภชัย นาควิสุทธ. (2561). ผลของความแตกต่างของสารเสริมหญ้าหมักที่มีผลต่อคุณภาพและคุณค่าทางอาหารต่อการทำหญ้าหมัก. หน้า 1-83. บรรหาร ทินประบุตร และกองบรรณาธิการ. (2554). ข้าวโพดกินอร่อย ต้านโรค. กรุงเทพฯ: แบงค์คอกบุ๊คส์. บุญส่ง และคณะ. (2555). การศึกษาคุณภาพของพืชหมักในถุงพลาสติกที่อายุการเก็บรักษาต่างๆ. กรมปศุสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. บุญฤา วิไลพล. (2539). พืชอาหารสัตว์เขตร้อนและการจัดการ. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4. ภาควิชาสัตวศาสตร์, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1: มกราคม-มิถุนายน. เมธา วรรณพัฒน์. (2529). คุณภาพของพืชหมักในถุงพลาสติกที่เติมสารในโภชนะศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง (หน้า 317). ภาควิชาสัตวศาสตร์, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารุณี พานิชผล. (2547). เทคนิคการทำพืชอาหารหมัก. กรมปศุสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร. วารุณี พานิชผล, ฉายแสง ไผ่แก้ว, สมคิด พรหมมา, โสภณ ชินเวโรจน์, จันทกานต์ อรณนันท์, วิโรจน์ ฤทธิ์ฤาชัย, วรรณา อ่างทอง. (2547). มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักคุณภาพดี. กรมปศุสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร. วีระพล ไกรลาส, และ คณะ. (2541). ระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของหญ้าเนเปียร์หมักในถุงพลาสติก. รายงานผลงานวิจัยกองอาหารสัตว์ประจำปี 2541, หน้า 272-282. กรมปศุสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ศศิพร ช่อลำไย, อัศวิน สายเชื้อ, ครรชิต ศรีพลาน. (2558). ผลงานพัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์ (หน้า 11-88). สำนักพัฒนาอาหารสัตว์, กรมปศุสัตว์. สืบค้นจาก nutrition2@dld.go.th หรือ www.dld.th/nutrition เสริมศักดิ์ สุวรรณศิลป์. (2543). พืชอาหารสัตว์และการจัดการทุ่งหญ้า. ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์, คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. โชคชัย เอกทัศนาวรรณ, เกตุอร ทองเครือ. (2561). การปลูกข้าวโพด. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2567, สืบค้นจาก http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herbgar/corn2 เทียนทิพย์ ไกรพรม, สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์, ปัทมา หมาดทิ้ง, ฮามีน๊ะ ดือราซอ. (2561). การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย., 3(2), หน้า 1-7. ธนาภรณ์ ปราณีตพลกรัง, แพรวพรรณ ชูช่วย และ กรรณิกา อัมพุช. (2565). ผลการเสริมยีสต์ที่มีผลต่อคุณภาพของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับหญ้ารูซี่. วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. 2(1): 36-42. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร กำแพงแสน ภาควิชาพืชไร่นา. (2558). บทปฏิบัติการที่ 4 ข้าวโพด (Corn). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2567, สืบค้นจากhttp://agron.agri.kps.ku.ac.th/index.php/th/2015-04-20-02-02-25/30-economic-crops/70-economic-crops-corn วัชรินทร์ ซุ้นสุวรรณ. (2558). ข้าวโพด: Corn, Maize. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2567, สืบค้นจาก http://www.natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510211 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560). ถิ่นฐานดั้งเดิมของข้าวโพด. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2567, สืบค้นจาก https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=8961 |