- ชื่อเรื่อง : การปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดงาดำที่เสื่อมสภาพด้วยสารจิบเบอเรลลิลและความร้อน
- title : QUALITY IMPROVEMENT OF EXPIRED BLACK SESAME (SESAMUM INDICUM L.) SEEDS BY GIBBERRELLIN AND HEAT
- ผู้แต่ง : นายธนายุทธ กันฉุน
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.นุชรัฐ บาลลา ปีการศึกษา : 2565 - บทคัดย่อ :
งาเป็นพืชทนแล้งที่มีอายุเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์งาดำที่เพิ่มขึ้นนอกจากทำให้เมล็ดงาดำมีความแข็งแรงลดลงแล้วยังทำให้ความมีชีวิตเมล็ดพันธุ์ลดลงเช่นกันสารละลายจิบเบอเรลลิลสามารถแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์เนื่องจากการกำจัดออกซิเจนได้จากการแตกตัวให้ออกซิเจนแก่เมล็ดพันธุ์ที่ช่วยให้เมล็ดพันธุ์มีการหายใจเพิ่มขึ้นจึงมีผลให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็วขึ้นดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารละลายจิบเบอเรลลิลและอุณหภูมิในการอบลมร้อนที่เหมาะสมต่อการงอกของการเมล็ดพันธุ์งาดำที่เสื่อมสภาพโดยวางแผนการทดลองแบบ(Completey Randomized Design (CRD) แบ่งออกเป็น7กรรมวิธี (Treatment: T) กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ (Replication: R) ซ้ำละ 50 เมล็ด ใช้สารละลายจิบเบอเรลลิลความเข้มข้น 250ppm 500ppm และ 750ppm และใช้อบลมร้อนด้วยเครื่อง Hot air oven ที่อุณหภูมิ 40°C, 45°C และ 50°C เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง นำเมล็ดงาดำรุ่นเดียวกันไปทดลองตามชุดการทดลองที่ได้กล่าวไปข้างต้น บันทึกข้อมูลเปอร์เซ็นต์ความงอกเปอร์เซ็นต์ต้นกล้าปกติ,ดัชนีการงอก,จำนวนใบ,ความยาวต้น,ความสูงต้น,น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งผลการทดลองพบว่าการอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสมีดัชนีการงอกของเมล็ดงาดำสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการทดลองครั้งนี้เกิดความคลาดเคลื่อนจึงทำให้การทดลองไม่สำเร็จเนื่องจากเมล็ดพันธุ์งาดำ ตรา สามเอ หมดอายุปี 2563 แต่กลับให้ผลการเจริญเติบโตของต้นงาดำไม่ต่างจากเมล็ดงาดำที่ไม่หมดอายุอาจเกิดผิดพลาดได้หลายปัจจัยเช่นสภาพการมีชีวิตของเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จึงไม่เหมาะสมทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการทดลองนี้จากงานวิจัยนี้แนะนำในอนาคตว่าควรหาสารชนิดอื่นมาทดแทนหรือหรือใช้อุณหภูมิที่ต่ำลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ และมีความน่าเชื่อถือก่อนจะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไป - เอกสารอ้างอิง :
|