- ชื่อเรื่อง : ผลของการเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มต่อคุณภาพเนื้อของไก่กระทง
- title : EFFECT OF ELCTROLYTE SUPPLEMENTATION IN DRINKING WATER ON MEAT QUALITY OF BROILER CHICKENS.
- ผู้แต่ง : นางสาวสุมิตรา นวลมิตร
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.ราชาวดี ยอดเศรณี ปีการศึกษา : 2563 - บทคัดย่อ :
ศึกษาผลของการเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มต่อคุณภาพเนื้อของไก่กระทง ใช้ไก่รอส 308 อายุ 35 วัน จำนวน 120 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) การทดลองแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 2 ซ้ำๆ 6 ตัว (ทั้งหมด 36 ตัว) โดยกลุ่มที่ 1 ไม่เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่ม (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ในน้ำดื่ม 0.05 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 3 วัน และกลุ่มที่ 3 เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่ม 0.1เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่า ค่าสี L* ของกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขณะที่ค่าสี a* และค่าสี b* ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของคุณภาพเนื้อพบว่า เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็นที่ 48 ชั่วโมง การสูญเสียน้ำจากการทำละลายและการสูญเสียน้ำหลังจากการปรุงสุก มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 1 มีแนวโน้มการสูญเสียน้ำจากการแช่เย็นที่ 24 ชั่วโมงมากกว่ากลุ่มที่ 3 (P=0.08) ส่วนค่าแรงตัดผ่านของชิ้นเนื้อมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการเสริมสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มของไก่กระทง ส่งผลต่อสีเนื้อทำให้เนื้อมีสีที่เข้มขึ้นและคุณภาพเนื้อมีความนุ่มขึ้นเนื่องจากค่าแรงตัดผ่านชิ้นเนื้อมีค่าที่ต่ำ - เอกสารอ้างอิง :
กนกอร อินทราพิเชฐ, มาโนชญ์ สุธีรวัฒนานนท์และวิศิษฐิพร สุขสมบัติ. 2646. การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติองค์ประกอบทางเคมีและคุณภาพทางประสาทสัมผัสของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมือง ไก่กระทงและไก่เพศผู้. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
กมลวรรณ โรจน์สุนทรกิตติ. 2550. วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์. โรงพิมพ์มาสเตอร์พริ้นต์, พิษณุโลก.
จินตนา อุปดิสสกุล. 2540. หลักการและความสำคัญการวัดของการวิเคราะห์ลักษณะเนื้อสัมผัสอาหาร. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. 2538. เอกสารประกอบการสัมมนา. กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์. กรมปศุสัตว์. 12: 36-39.
เจริญชัย เหลืองอ่อน. 2553. การวัดสีด้วยเทคนิค UV-VIS-NIR SPECTROPHOTOMETRY. วารสารเทคโนโลยีวัสดุ. 59: 8-13.
ชัยณรงค์ คันธนิต. 2529. วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่1. โรงพิมพ์ไทยวัฒนพานิช, กรุงเทพฯ.
ณฐมน เสมือนคิด. 2548. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเทคโนโลยีเนื้อและผลิตภัณฑ์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยลัย ราชภัฎสงขลา.
ทับทิม สำแดงไชย. 2559. ผลของการเสริมวิตามินอี ซีลิเนียม และโอเมก้า3 ในอาหารต่อการ ผสมติดและการฝักออกของแม่ไก่พันธุ์มทส. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นิตย์ ถาวรกันต์. 2511. คู่มือการเลี้ยงไก่กระทง. พิมพ์ครั้งที่2. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, กรุงเทพมหานคร.
นิรนาม. 2561. พันธุ์ไก่เนื้ออาร์เบอร์ เอเคอร์เลี้ยงไก่เนื้อแค่ 40-42 วันขายในระบบประกันราคา. พลังเกษตร. แหล่งที่มา: https://www.palangkaset.com. 25 มิถุนายน 2562.
|