- ชื่อเรื่อง : การเพิ่มปริมาณต้นเปปเปอร์มินท์ในสภาพปลอดเชื้อ
- title : Micropropagation of Mentha × piperita L. via in vitro Culture
- ผู้แต่ง : นางสาวกนกวรรณ ยิ่งวันเจริญ
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : อาจารย์ ดร.ราชาวดี ยอดเศรณี ปีการศึกษา : 2561 - บทคัดย่อ :
เปปเปอร์มินท์ เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรตระกูลมินท์ ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ด้วยความหอมสดชื่นที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งกลิ่นและรสชาติ จึงถูกนามาเป็นส่วนผสมในหลากหลายผลิตภัณฑ์ แต่เปปเปอร์มินจากประเทศญึ่ปุ่นเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ได้ช้า จึงจาเป็นต้องมีการขยายพันธุ์ให้ได้จานวนมาก และปลอดโรค ในระยะเวลาอันสั้นโดยการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งในการทดลองนี้ได้ทาการศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการชักนาให้เกิดรากและยอด โดยนาต้นอ่อนในสภาพปลอดเชื้อมาเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS, 1962) ที่เติม BA ความเข้มข้น 0.5 1.0 1.5 2.0 หรือ 2.5 มิลลิลิตรต่อลิตร เพื่อชักนาให้เกิดยอด และ NAA ความเข้มข้น 0.5 1.0 หรือ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับผงถ่านกัมมันต์ 0.125 หรือ 0.25 กรัมต่อลิตร เพื่อชักนาให้เกิดราก เติมวุ้น 2.5 กรัมต่อลิตร เติมน้าตาลซูโครส 30 กรัมต่อลิตร ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 5.7 ผลการทดลองพบว่าในระยะเวลา 4 สัปดาห์ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จานวนยอดเฉลี่ยสูงที่สุด 10.00 ยอดต่อต้น เมื่อเปรียบเทียบกับต้นควบคุมให้จานวนยอด 2.12 ยอดต่อต้น สูตรอาหาร MS ที่เติม NAA 1.0 กรัมต่อลิตรให้จานวนรากเฉลี่ยมากที่สุด 10.38 รากต่อต้น เมื่อเปรียบเทียบกับต้นควบคุมให้จานวนราก 0.00 รากต่อต้น
- เอกสารอ้างอิง :
กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล, 2555, การชักนาแคลลัสเพื่อชักนาให้เกิดต้นของขมิ้นชัน, วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 22 (1), หน้าที่ 1-13
ปิยะพร แสนสุข, 2547, อิทธิพลของ NAA และ BA ต่อการเกิดแคลลัสและยอดของผักชีช้าง, วารสารวิจัย มข. 9 (2), หน้าที่ 31-39
นิรนาม, 2556, สะระแหน่, แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/faifah07218/info, สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561
นิรนาม, 2559, มินต์ สรรพคุณและประโยชน์, แหล่งที่มา : http://www.chivitchiva.com, สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561
นิรนาม, 2560, สมุนไพรสะระแหน่ญี่ปุ่น, แหล่งที่มา : http://www.คลังสมุนไพร.com /2017/09/สะระแหน่ญี่ปุ่น, สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561
บจก.เคมีภัณฑ์ คอร์ปอเรชั่น, 2561, น้ามันหอมระเหย เปปเปอร์มินท์, แหล่งที่มา : https://www.chemipan.com, สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561
มณฑล สงวนเสริมศรี รัฐพร จันทร์เดช พีระวุฒิ วงศ์สวัสดิ์ วารุต อยู่คง และภพเก้า พุทธรักษ์, 2556, ผลร่วมของ α-naphthaleneacetic acids กับ N6-benzyladenine ต่อการเพิ่มจานวนของยอดผักโขม, วารสารนเรศวรพะเยาปี ที่ 6 (3), หน้าที่ 202-206
ยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ และอัญชลี จาละ, 2557, อิทธิพลของ BA และ NAA ที่มีต่อการเพิ่มจานวนยอดต้นพรมมิ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, Thai Journal of Science and Technology ปีที่ 3 (1), หน้าที่ 7-14
สกุลรัตน์ แสนปุตะวงษ์ ทิวา รักนิ่ม และทัศนี ขาวเนียม, 2561, ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและผงถ่านต่อการสร้างแคลลัสและการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ของพรมมิ, วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ปีที่5 (1), หน้าที่ 7-12
อนุพันธกงบังเกิด, 2549, ผลของไซโตไคนินและออกซินตอการพัฒนาของเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงกระเจียวขาว, NU Science Journal 2006, ปีที่ 2 (2), หน้าที่ 183 - 201
อรพิน เสละคร, 2557, ผลของ BA และ IBA ต่อการเพิ่มปริมาณหน่อและการออกรากของผักหวานป่า ในสภาพปลอดเชื้อ, ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร ปีที่ 16 (1), หน้าที่ 86-93
|