- ชื่อเรื่อง : ผลของการฉายรังสีแกมมาที่มีต่อคุณภาพข้าวหอมนิล
- title : EFFECT OF GAMMA IRRADIATION ON QUALITIES OF HOM NIL RICE
- ผู้แต่ง : นางสาวแพรมาศ แสงรัตนกุล
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัณนภา สุขลิ้ม หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประธานหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนี บุญวิทยา ปีการศึกษา : 2561 - บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฉายรังสีแกมมา 0, 1, 2 และ 3 กิโลเกรย์ที่มีผล
ต่อคุณภาพของข้าวหอมนิล เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องนาน 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่าการฉายรังสีไม่มี
ผลต่อค่าสี a* ก่อนหุงสุกและค่าความแข็งของเมล็ดข้าว (ระดับการสลายตัวในด่างเท่ากับ 4) เมื่อน า
ข้าวหอมนิลฉายรังสีมาหุงต้มข้าวดูดซึมน้ า 1.97-2.06 เท่า และมีปริมาตรเพิ่มขึ้น 1.77-2.36 เท่า ส่วน
ข้าวไม่ฉายรังสีดูดซึมน้ า 1.99 เท่า และปริมาตรเพิ่มขึ้น 1.94 เท่า นอกจากนี้ข้าวฉายรังสี 1 และ 2
กิโลเกรย์ ยังสามารถหุงสุกเร็วขึ้นเล็กน้อยโดยใช้เวลาหุงสุก 17 นาที เปรียบเทียบกับข้าวที่ไม่ฉายรังสี
ใช้เวลา 18 นาที สอดคล้องกับค่า peak time ของข้าวฉายรังสีที่มีค่าเท่ากับ 5.73-5.95 นาที ซึ่งน้อย
กว่าข้าวไม่ฉายรังสี 6.06 นาที
ข้าวฉายรังสีที่หุงสุกยังจัดอยู่ในกลุ่มของเจลนุ่มเช่นเดียวกับข้าวไม่ฉาย รังสี
แต่ค่าความคงตัวของแป้งสุกวัดจากระยะทางการไหลของแป้งสุกเท่ากับ 52.60-57.60 มม. มากกว่า 45.20 มม.
ของข้าวไม่ฉายรังสี นอกจากนี้ยังพบว่าค่า setback viscosity ของข้าวฉายรังสีมี ค่าอยู่ในช่วง
418.67-947.33 RVU ต่ ากว่า 1486 RVU ของข้าวที่ไม่ฉายรังสีซึ่งค่า setback viscosity
แปรผกผันกับปริมาณอะไมโลส
ในระหว่างการเก็บรักษาข้าวฉายรังสีและข้าวไม่ฉายรังสีนาน 3 เดือน ข้าวจะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงคุณภาพในด้านต่างๆ เปรียบเทียบกันดังนี้ ค่าสี a* มีค่าแตกต่างกันเล็กน้อยโดยมีค่าอยู่
ในช่วง 2.25-3.49 ความแข็งของเมล็ดข้าวซึ่งวัดจากค่าการสลายตัวในด่างไม่แตกต่าง (ระดับที่4) โดย เมื่อน
าข้าวหอมนิลมาหุงต้ม ข้าวหอมนิลฉายรังสีดูดซึมน้ า 1.98-2.07 เท่า มากกว่าข้าวหอมนิลที่ไม่ ฉายรังสี
(1.90 เท่า) แต่ไม่มีผลต่อการขยายตัวหรือเพิ่มปริมาตรของข้าวเมื่อหุงสุก ข้าวหอมนิลฉาย
รังสีสามารถหุงสุกได้เร็วกว่าข้าวหอมนิลไม่ฉายรังสีโดยใช้ระยะเวลาหุงสุกเท่ากับ 16 นาที เปรียบเทียบกับ
18 นาที และมีค่า Peak time อยู่ในช่วง 5.73-6.04 นาที ข้าวฉายรังสี 2 และ 3 กิโล
เกรย์ที่หุงสุกจะมีความคงตัวของเจลวัดจากระยะทางการไหลของแป้งสุกต่ ากว่าข้าวไม่ฉายรังสีแต่ก็ยัง
จัดอยู่ในกลุ่มของเจลนุ่ม ซึ่งเมื่อน ามาวัดค่าความแข็งจะพบว่ามีค่าในช่วง 4.57-5.17 kg.force (P>0.05)
แต่เมื่อพิจารณาค่า setback viscosity จะพบว่าข้าวฉายรังสีจะมีค่า setback viscosity
ต่ ากว่าข้าวที่ไม่ฉายรังสีเมื่อปริมาณรังสีสูงขึ้น (P<0.05)
การฉายรังสีท าให้สารสกัดจากแป้งข้าวหอมนิลสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH• และ
ABTS•+ ได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อปริมาณรังสีเพิ่มขึ้น โดยข้าวฉายรังสี 1, 2, 3 กิโลเกรย์
สามารถยับยั้งอนุมูล อิสระ DPPH• ได้เท่ากับ 75.11% 91.62% และ 95.07%
ซึ่งสูงกว่าข้าวไม่ฉายรังสีที่ยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH• ได้เท่ากับ 55.42% (P<0.05) และข้าวฉายรังสี 1,
2, 3 กิโลเกรย์ สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS•+ ได้เท่ากับ 85.55%, 86.07% และ 92.35%
ซึ่งสูงกว่าข้าวที่ไม่ฉายรังสีมีค่าเท่ากับ 66.77% (P<0.05)
เมื่อเก็บรักษาข้าวนาน 3 เดือน จะพบว่าสารสกัดข้าวหอมนิลฉายรังสี 1,2 และ 3 กิโลเกรย์
สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH• ได้สูงกว่าข้าวไม่ฉายรังสีโดยสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH• ได้
เท่ากับ 84.06-87.99% ส่วนข้าวที่ไม่ฉายรังสีสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้เท่ากับ 48.54% ส่วนฤทธิ์
ต้านอนุมูลอิสระ ABTS•+ ของสารสกัดข้าวหอมนิลฉายรังสี 1 และ 3 กิโลเกรย์ ในระหว่างการเก็บ
รักษามีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ABTS•+ สารสกัดข้าวหอมนิลฉาย รังสี 1
กิโลเกรย์ลดลงในเดือนที่ 1 จากนั้นมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเก็บรักษานาน 3 เดือนจะพบว่าสารสกัด
ข้าวหอมนิลฉายรังสีสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS•+ ได้มากกว่าข้าวที่ไม่ฉายรังสี
- เอกสารอ้างอิง :
|