- ชื่อเรื่อง : อิทธิพลของ BA NAA และถ่านกัมมันต์ ต่อการขยายพันธุ์ปทุมมาลูกผสมจากช่อดอกอ่อน
- title : Influence of BA NAA and Activated Charcoal on Micropropagation of Curcuma Hybrid from Inflorescence Flowers
- ผู้แต่ง : นางสาวเนตรนภา หล้าเวียง
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ประธานหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช ปีการศึกษา : 2561 - บทคัดย่อ :
ปทุมมา เป็นไม้ดอกที่พบได้ตามชายป่าดอกมีสีสันสวยงาม จึงมีผู้สนใจปลูกเลี้ยงกันมากเป็นเหตุให้หัวของปทุมมาถูกขุดออกมาจากป่า ทาให้ปทุมาในป่ามีจานวนน้อยลง จึงต้องมีการขยายพันธุ์ให้ได้จานวนมากในระยะเวลาอันสั้นโดยการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ การทดลองนี้ทาการศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการชักนาให้เกิดรากและยอด โดยนาต้นอ่อนในสภาพปลอดเชื้อมาเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0.5 1.0 1.5 2.0 หรือ 2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนาให้เกิดยอด และ NAA ความเข้มข้น 0.5 1.0 หรือ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับผงถ่านกัมมันต์ 0.125 หรือ 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนาให้เกิดราก เติมวุ้น 2.5 กรัมต่อลิตร เติมน้าตาลซูโครส 30 กรัมต่อลิตร ปรับ pH 5.7 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) พบว่าระยะเวลา 1 เดือน อาหารสูตร MS ที่เติม BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จานวนใบสูงสุดเฉลี่ย 1.50 ± 1.06 ใบ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ความยาวใบสูงสุดเฉลี่ย 3.75 ± 3.16 เซนติเมตร อาหารสูตร MS ที่เติม NAA 0.5 ให้จานวนรากสูงสุดเฉลี่ย 10.25 ± 9.16 ราก อาหารสูตร MS ที่เติม ผงถ่าน 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ความยาวรากสูงสุดเฉลี่ย 2.12 ± 1.55 เซนติเมตร ระยะเวลา 2 เดือน อาหารสูตร MS ให้จานวนยอดเฉลี่ยสูงที่สุดเฉลี่ย 2.75 ± 1.28 ยอด อาหารสูตร MS ให้จานวนใบสูงสุดเฉลี่ย 4.50 ± 2.13 ใบ อาหารสูตร MS ให้ความยาวใบสูงสุดเฉลี่ย 7.37 ± 3.10 เซนติเมตร อาหารสูตร MS ที่เติม NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จานวนรากสูงสุดเฉลี่ย 14.62 ± 10.39 ราก อาหารสูตร MS ที่เติม ผงถ่าน 0.125 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ความยาวรากสูงสุดเฉลี่ย 5.25 ± 1.43 เซนติเมตร
ดังนั้น สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพิ่มจานวนยอด คือ สูตรอาหาร MS และสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และสูตรอาหารที่ชักนาให้เกิดราก คือ สูตรอาหาร MS ที่เติม NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
- เอกสารอ้างอิง :
อัญชลี จาละ. 2557. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลร่วมกับ BA ในการขยายพันธุ์ ปทุมมา (Curcuma
sp.) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารThai Journal of Science and Technology. ปีที่
3 (1) : 16-22.
อัญชลี จาละ และกิตติ บุดิพัทมา. 2555. Low Concentration of Paclobutrazol Induced
Multiple Shoot and Plantlet Formation in Amethyst Curcuma. วารสารวิชาการ
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 22 (3) : 505-510.
อุบล สมทรง, วรรณา กอวัฒนาวรานนท์ และไสว แจ่มแจ้ง. 2554. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันเสา.
วารสารวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. ปีที่ 2 (1) : 31-39.
อัญชลี จาละ และยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ. 2557. การเพิ่มจานวนอย่างรวดเร็วของต้นเปเปอร์โรเมียใบ
ด่างโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 22 (2) : 218-221.
ปริญา สุคนธรัตน์, ทัศนี ขาวเนียม, และสมปอง เตชะโต. 2559. การขยายพันธุ์ขมิ้นชันโดยวิธีการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากหน่องอกนอกหลอดทดลอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ปีที่ 3
(2) : 1-5.
กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล, ศักดิ์ชัย กรรมารางกรู และจีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา. 2560. การเกิดต้นจาก
การเพาะเลี้ยงแคลลัสของขมิ้นชันในหลอดทดลอง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 22 (1) :
1-13.
กรองทอง ซีบังเกิด. 2553. การศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการชักนาและเพิ่ม
จานวนแคลลัส ยอด และรากต้นพรมมิ Bacopa monnieri (L.) Pennel ในสภาพปลอดเชื้อ. โครงการปัญหาพิเศษ. ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต. ปทุมธานี.
คมกิต สีสมาน. 2552. ปทุมมาไม้ดอกล้าค่า. แหล่งที่มา : www.vchakarn.com. สืบค้นเมื่อ 15
กุมภาพันธ์ 2561
เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์. 2557. พันธุ์พืชปทุมมา. แหล่งที่มา : http://portal.rae.mju.ac.th. สืบค้นเมื่อ
15 กุมภาพันธ์ 2561
สมชาย สุคนธสิงห์ และคณะ. 2555. การปลูกปทุมมาและกระเจียว. กรมส่งเสริมการเกษตร.
แหล่งที่มา : http://oknation.nation.tv/blog/marua/. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561
นิรนาม. 2561. ปทุมมาและกระเจียว. แหล่งที่มา : http://www.ptcn.ac.th. สืบค้นเมื่อ 15
กุมภาพันธ์ 2561
มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน). 2549. ไม้ตัดดอกและไม้ตัด
ใบไม้ตัดดอกตระกูลขิง (Zingilbevaceae) ปทุมมาและกระเจียว. แหล่งที่มา :
https://mis.hrdi.or.th. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561
พีรเดช ทองอาไพ. 2557. การใช้ออกซินสังเคราะห์. แหล่งที่มา : http://www.thaikasetsart.com.
สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561
ดนัย บุณยเกียรติ. 2546. ฮอร์โมนพืช. แหล่งที่มา : http://web.agri.cmu.ac.th. สืบค้นเมื่อ 20
กุมภาพันธ์ 2561
นิรนาม. 2554. อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. แหล่งที่มา : vittayasat.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 20
กุมภาพันธ์ 2561
เดชา ศิริภัทร. ม.ป.ป. 2550. ปทุมมาไม้ตัดดอกพันธุ์ไทย. แหล่งที่มา : https://www.doctor.or.th.
สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2561
|