ผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ข้าวเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งของประชากรโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของโลกและเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลและถือเป็นชีวิตจิตใจของคนไทย การทำนาจึงเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และถือได้ว่าข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญยิ่งเนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีดินเค็ม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomizrd Design, CRD) โดยแบ่งออกเป็น 4 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ (Replication) ซ้ำละ 50 เมล็ด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 (T1) คือ ชุดควบคุม (น้ำกลั่น) กรรมวิธีที่ 2 (T2) คือ 50 mM Na+pH7 ( NaCl 49.5 mM + NaHCO3 0.5 mM) กรรมวิธีที่ 3 (T3) คือ 50 mM Na+pH8 (NaCl 48 mM + NaHCO3 2 mM) กรรมวิธีที่ 4 (T4) คือ 50 mM Na+pH9 (Na2CO3 12.5 mM + NaHCO3 25 mM) จากการศึกษาพบว่า ความเค็ม-ด่างในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ที่ระดับความเค็ม-ด่างแตกต่างกัน 50 mM Na+pH7, 50mM Na+pH8, 50 mM Na+pH9 พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในด้านความยาวราก, ค่าเฉลี่ย, อัตราการถูกทำลาย, เปอร์เซ็นต์การงอก, ความแข็งแรงของเมล็ด, การลดลงของความสูง และความทนเค็ม ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีความทนต่อความเคลียดภายใต้สภาวะความเค็ม-ด่างที่ระดับ 50 mM Na+pH7 ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 ในด้าน น้ำหนักสด, น้ำหนักแห้ง, ความยาวต้น, เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ และดัชนีการงอก มีความไวต่อความเค็ม-ด่างในสภาวะที่ไม่รุนแรงในระดับใดได้ ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนความเค็ม-ด่าง อยู่ที่ 50 mM Na+pH7 ซึ่งทนได้มากกว่าข้าวปทุมธานี 1 ที่ไม่สามารถทนในสภาวะใดได้ ข้าวเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งของประชากรโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของโลกและเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลและถือเป็นชีวิตจิตใจของคนไทย การทำนาจึงเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และถือได้ว่าข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญยิ่งเนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีดินเค็ม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomizrd Design, CRD) โดยแบ่งออกเป็น 4 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ (Replication) ซ้ำละ 50 เมล็ด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 (T1) คือ ชุดควบคุม (น้ำกลั่น) กรรมวิธีที่ 2 (T2) คือ 50 mM Na+pH7 ( NaCl 49.5 mM + NaHCO3 0.5 mM) กรรมวิธีที่ 3 (T3) คือ 50 mM Na+pH8 (NaCl 48 mM + NaHCO3 2 mM) กรรมวิธีที่ 4 (T4) คือ 50 mM Na+pH9 (Na2CO3 12.5 mM + NaHCO3 25 mM) จากการศึกษาพบว่า ความเค็ม-ด่างในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ที่ระดับความเค็ม-ด่างแตกต่างกัน 50 mM Na+pH7, 50mM Na+pH8, 50 mM Na+pH9 พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในด้านความยาวราก, ค่าเฉลี่ย, อัตราการถูกทำลาย, เปอร์เซ็นต์การงอก, ความแข็งแรงของเมล็ด, การลดลงของความสูง และความทนเค็ม ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีความทนต่อความเคลียดภายใต้สภาวะความเค็ม-ด่างที่ระดับ 50 mM Na+pH7 ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 ในด้าน น้ำหนักสด, น้ำหนักแห้ง, ความยาวต้น, เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ และดัชนีการงอก มีความไวต่อความเค็ม-ด่างในสภาวะที่ไม่รุนแรงในระดับใดได้ ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนความเค็ม-ด่าง อยู่ที่ 50 mM Na+pH7 ซึ่งทนได้มากกว่าข้าวปทุมธานี 1 ที่ไม่สามารถทนในสภาวะใดได้ |