ผลการเสริมยีสต์สกัดและเบต้ากลูแคนในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีน้อย ชุ่มคำ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลการใช้ยีสต์สกัด และเบต้ากลูแคนเป็นสารเสริมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ ทำการทดลองในไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าพันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 28 สัปดาห์ จำนวน 150 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ให้อาหารดังนี้ กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารปกติเสริมยีสต์สกัด 0.25% กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารปกติเสริมเบต้ากลูแคน 0.05% เก็บข้อมูล 6 ช่วง ช่วงละ 14 วัน พบว่าอัตราการไข่ น้ำหนักไข่ มวลไข่ ปริมาณอาหารที่กิน ปริมาณอาหารที่กินต่อน้ำหนักไข่ 1 กิโลกรัม ปริมาณอาหารที่กินต่อผลผลิตไข่ 1 โหล น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง อัตราการเลี้ยงรอด ไข่ขนาดใหญ่ ไข่ขนาดกลาง และไข่ขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นการใช้ยีสต์สกัดในระดับ 0.25% และเบต้ากลูแคนในระดับ 0.05% เป็นสารเสริมในอาหารไก่ไข่จึงไม่มีผลเสียอย่างไรต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลการใช้ยีสต์สกัด และเบต้ากลูแคนเป็นสารเสริมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ ทำการทดลองในไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าพันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 28 สัปดาห์ จำนวน 150 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ให้อาหารดังนี้ กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารปกติเสริมยีสต์สกัด 0.25% กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารปกติเสริมเบต้ากลูแคน 0.05% เก็บข้อมูล 6 ช่วง ช่วงละ 14 วัน พบว่าอัตราการไข่ น้ำหนักไข่ มวลไข่ ปริมาณอาหารที่กิน ปริมาณอาหารที่กินต่อน้ำหนักไข่ 1 กิโลกรัม ปริมาณอาหารที่กินต่อผลผลิตไข่ 1 โหล น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง อัตราการเลี้ยงรอด ไข่ขนาดใหญ่ ไข่ขนาดกลาง และไข่ขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นการใช้ยีสต์สกัดในระดับ 0.25% และเบต้ากลูแคนในระดับ 0.05% เป็นสารเสริมในอาหารไก่ไข่จึงไม่มีผลเสียอย่างไรต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ |