การศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียว (ZEA MAYS L. VAR. CERATINA) 5 พันธุ์ ในดินอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียว 5 พันธุ์ ที่เหมาะสมในดิน ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวจำนวน 5 พันธุ์ คือ Sweet Violet Sweet wax254 Chai Nat2 Violet White926 และChai Nat84-1 ระหว่างเดือน มิถุนายนถึงกันยายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ Chai Nat2 ให้จำนวนฝักที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมด น้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักที่ปอกเปลือก น้ำหนักฝักทั้งเปลือกของฝักที่ดีที่สุด 5 ฝัก และความยาวของฝักดีที่สุด และมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรีได้ดี เหมาะที่จะแนะนำส่งเสริมให้แก่เกษตรกรใช้เป็นพันธุ์ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวจากงานวิจัยนี้แนะนำให้ควรทำการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือก่อนจะนำไปเผยแพร่แก่เกษตรกรใช้ต่อไป งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียว 5 พันธุ์ ที่เหมาะสมในดิน ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวจำนวน 5 พันธุ์ คือ Sweet Violet Sweet wax254 Chai Nat2 Violet White926 และChai Nat84-1 ระหว่างเดือน มิถุนายนถึงกันยายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ Chai Nat2 ให้จำนวนฝักที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมด น้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักที่ปอกเปลือก น้ำหนักฝักทั้งเปลือกของฝักที่ดีที่สุด 5 ฝัก และความยาวของฝักดีที่สุด และมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรีได้ดี เหมาะที่จะแนะนำส่งเสริมให้แก่เกษตรกรใช้เป็นพันธุ์ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวจากงานวิจัยนี้แนะนำให้ควรทำการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือก่อนจะนำไปเผยแพร่แก่เกษตรกรใช้ต่อไป |