อิทธิพลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตในระยะการงอกของข้าว อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ข้าว (Rice; Oryza sativa L.) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ข้าวจัดเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อสภาวะความเค็มในระยะต้นกล้า โดยสภาวะความเค็มเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง เนื่องจากมีการสะสมของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในดิน ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดสภาวะเครียดเกลือ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะต้นกล้า ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือโซเดียมคลอไรด์ ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันต่อการงอกของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 NaCl 0 mM (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl 25 mM กรรมวิธีที่ 3 NaCl 50 mM กรรมวิธีที่ 4 NaCl 75 mM และกรรมวิธีที่ 5 NaCl 100 mM ผลการทดลองพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีดัชนีการงอก ความทนเค็ม และน้ำหนักสด ที่สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ เปอร์เซ็นต์การงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความสูงต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และอัตราการถูกทำลาย สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 75 mM ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีเปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความยาวราก และน้ำหนักสด สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM อัตราการถูกทำลาย ความสูงต้น น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และเปอร์เซ็นต์การงอก และความทนเค็ม ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้นใดเลย ดังนั้นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนเค็มต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีศักยภาพทนเค็ม ต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ข้าว (Rice; Oryza sativa L.) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ข้าวจัดเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อสภาวะความเค็มในระยะต้นกล้า โดยสภาวะความเค็มเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง เนื่องจากมีการสะสมของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในดิน ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดสภาวะเครียดเกลือ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะต้นกล้า ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือโซเดียมคลอไรด์ ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันต่อการงอกของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 NaCl 0 mM (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl 25 mM กรรมวิธีที่ 3 NaCl 50 mM กรรมวิธีที่ 4 NaCl 75 mM และกรรมวิธีที่ 5 NaCl 100 mM ผลการทดลองพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีดัชนีการงอก ความทนเค็ม และน้ำหนักสด ที่สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ เปอร์เซ็นต์การงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความสูงต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และอัตราการถูกทำลาย สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 75 mM ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีเปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความยาวราก และน้ำหนักสด สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM อัตราการถูกทำลาย ความสูงต้น น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และเปอร์เซ็นต์การงอก และความทนเค็ม ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้นใดเลย ดังนั้นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนเค็มต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีศักยภาพทนเค็ม ต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM |