ผลการใช้ใบไผ่ผสมแกลบเป็นวัสดุรองพื้นต่อคุณภาพซากไก่กระทง อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ราชาวดี ยอดเศรณี หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ ผลการศึกษาการใช้ใบไผ่ผสมแกลบเป็นวัสดุรองพื้นต่อคุณภาพซากของไก่กระทงทำการทดลองในไก่กระทงพันธุ์ ROSS 308 คละเพศ อายุ 1 วัน จำนวน 120 ตัว เลี้ยงไก่กระทงตั้งแต่อายุ 1 วัน ถึง 42 วัน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว สุ่มให้แต่ละกลุ่มใช้วัสดุรองพื้นดังนี้ กลุ่มที่ 1 แกลบ กลุ่มที่ 2 แกลบผสมใบไผ่ ร้อยละ 25 กลุ่มที่ 3 แกลบผสมใบไผ่ ร้อยละ 50 ได้รับ ใช้เลี้ยงไก่ทั้งสิ้น 42 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการสุ่มไก่กระทงเพศเมียมาซ้ำละ 2 ตัว รวมจำนวนทั้งสิ้น 24 ตัว เพื่อศึกษาคุณภาพซาก ผลการทดลองพบว่าคุณภาพซากของไก่กระทงทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักซาก เปอร์เซ็นต์ซาก และชิ้นส่วนต่างๆ ของซาก (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ซากของน้ำหนักมีชีวิต) ได้แก่ ปีก เนื้ออกนอก เนื้ออกใน สะโพกและน่อง ขา หัวใจ และตับ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นวัสดุรองพื้นทั้ง 3 กลุ่มไม่ส่งผลต่อคุณภาพซากของไก่กระทง (P>0.05) ผลการศึกษาการใช้ใบไผ่ผสมแกลบเป็นวัสดุรองพื้นต่อคุณภาพซากของไก่กระทงทำการทดลองในไก่กระทงพันธุ์ ROSS 308 คละเพศ อายุ 1 วัน จำนวน 120 ตัว เลี้ยงไก่กระทงตั้งแต่อายุ 1 วัน ถึง 42 วัน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว สุ่มให้แต่ละกลุ่มใช้วัสดุรองพื้นดังนี้ กลุ่มที่ 1 แกลบ กลุ่มที่ 2 แกลบผสมใบไผ่ ร้อยละ 25 กลุ่มที่ 3 แกลบผสมใบไผ่ ร้อยละ 50 ได้รับ ใช้เลี้ยงไก่ทั้งสิ้น 42 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการสุ่มไก่กระทงเพศเมียมาซ้ำละ 2 ตัว รวมจำนวนทั้งสิ้น 24 ตัว เพื่อศึกษาคุณภาพซาก ผลการทดลองพบว่าคุณภาพซากของไก่กระทงทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักซาก เปอร์เซ็นต์ซาก และชิ้นส่วนต่างๆ ของซาก (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ซากของน้ำหนักมีชีวิต) ได้แก่ ปีก เนื้ออกนอก เนื้ออกใน สะโพกและน่อง ขา หัวใจ และตับ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นวัสดุรองพื้นทั้ง 3 กลุ่มไม่ส่งผลต่อคุณภาพซากของไก่กระทง (P>0.05) |