คุณภาพซากและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อโคนมคัดทิ้งที่ขุน ด้วยเศษกะหล่ำปลีหมัก อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.จารุนันท์ ไชยนาม หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
งานวิจัยนี้ศึกษาคุณภาพซาก และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อแม่โคนมคัดทิ้งขุนด้วยเศษ
กะหล่ำปลีหมัก โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design, CRD การทดลองที่ 1 การศึกษาคุณภาพซากโคนมคัดทิ้งสายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน เพศเมีย น้ำหนักเฉลี่ย 530 – 655 กิโลกรัม เลี้ยงขุนเป็นเวลา 3 เดือน ด้วยอาหาร 2 สูตร คือกลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารข้น 1 % ร่วมกับฟางแบบเต็มที่ (Control) และกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารข้น 1% เสริมด้วยกะหล่ำปลีหมัก 10% ร่วมกับฟางข้าวแบบเต็มที่ (Ensiled cabbage waste) การทดลองที่ 2 ทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point hedonic scale โดยใช้เนื้อตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเนื้อโคนม (Control) กลุ่ม (Ensiled cabbage waste) และกลุ่มเนื้อวัวทางการค้า (Commercial) ผลการทดลองที่ 1 พบว่าน้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักซากเย็น เปอร์เซ็นต์ซากของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่น้ำหนักเนื้อสันนอกของกลุ่ม Ensiled cabbage waste มีน้ำหนักสูงกว่ากลุ่ม Control และผลการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค พบว่าลักษณะปรากฏ กลิ่นรส รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และการยอมรับโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) โดยตัวอย่างเนื้อโคนมคัดทิ้งขุน พบว่าไม่มีความแตกต่างทั้งลักษณะปรากฏ กลิ่นรส รสชาติ ลักษณะ สัมผัส และการยอมรับโดยรวม กับกลุ่ม Commercial (P>0.05)
|