ผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมต่อคุณภาพซากของไก่กระทง อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การศึกษาผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมต่อคุณภาพซากไก่กระทง พันธุ์ ROSS 308 เพศผู้ อายุ 1 วัน จำนวน 192 ตัว เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ระยะเวลาในการทดลอง 36 วัน วางแผนการทดลองแบบ T-Test แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 ทรีทเมนต์ๆ 8 ซ้ำๆ คือกลุ่มควบคุม และกลุ่มเสริมแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ได้รับอาหารเหมือนกัน ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักมีชีวิตและเปอร์เซ็นต์ซาก ได้แก่ เนื้ออก สันใน สะโพก น่อง ปีกเต็ม แข้งเท้า โครง ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่มีความแตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่ส่งผลต่อคุณภาพซากไก่กระทง การศึกษาผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมต่อคุณภาพซากไก่กระทง พันธุ์ ROSS 308 เพศผู้ อายุ 1 วัน จำนวน 192 ตัว เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ระยะเวลาในการทดลอง 36 วัน วางแผนการทดลองแบบ T-Test แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 ทรีทเมนต์ๆ 8 ซ้ำๆ คือกลุ่มควบคุม และกลุ่มเสริมแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ได้รับอาหารเหมือนกัน ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักมีชีวิตและเปอร์เซ็นต์ซาก ได้แก่ เนื้ออก สันใน สะโพก น่อง ปีกเต็ม แข้งเท้า โครง ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่มีความแตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่ส่งผลต่อคุณภาพซากไก่กระทง |