ผลการเสริมยีสต์ในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีน้อย ชุ่มคำ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมเซลล์ยีสต์และยีสต์เซลล์แตก เพื่อเป็นสารเสริมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ใช้ไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าจำนวน 150 ตัว อายุ 28 สัปดาห์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 เสริม เซลล์ยีสต์ 5% และ ยีสต์เซลล์แตก 2% ในอาหาร ระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่าปริมาณอาหารที่กิน อัตราการไข่ น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง อัตราการรอดชีวิต ปริมาณอาหารที่กินต่อผลผลิตไข่ 1 โหล ไข่ขนาดกลางและไข่ขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ประสิทธิภาพการใช้อาหารมีแนวโน้มจะมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P=0.10) แต่น้ำหนักไข่ มวลไข่ และไข่ขนาดใหญ่ในกลุ่มที่ได้รับเซลล์ยีสต์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยีสต์เซลล์แตก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นการเสริมเซลล์ยีสต์ที่ระดับ 5% ในอาหารไก่ไข่จะช่วยเพิ่มน้ำหนักไข่ มวลไข่ และจำนวนไข่ขนาดใหญ่มากขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมเซลล์ยีสต์และยีสต์เซลล์แตก เพื่อเป็นสารเสริมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ใช้ไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าจำนวน 150 ตัว อายุ 28 สัปดาห์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 เสริม เซลล์ยีสต์ 5% และ ยีสต์เซลล์แตก 2% ในอาหาร ระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่าปริมาณอาหารที่กิน อัตราการไข่ น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง อัตราการรอดชีวิต ปริมาณอาหารที่กินต่อผลผลิตไข่ 1 โหล ไข่ขนาดกลางและไข่ขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ประสิทธิภาพการใช้อาหารมีแนวโน้มจะมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P=0.10) แต่น้ำหนักไข่ มวลไข่ และไข่ขนาดใหญ่ในกลุ่มที่ได้รับเซลล์ยีสต์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยีสต์เซลล์แตก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นการเสริมเซลล์ยีสต์ที่ระดับ 5% ในอาหารไก่ไข่จะช่วยเพิ่มน้ำหนักไข่ มวลไข่ และจำนวนไข่ขนาดใหญ่มากขึ้น |