ผลการเสริมยีสต์ในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพไข่ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีน้อย ชุ่มคำ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมยีสต์ในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพไข่ โดยวางแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว เป็นไก่ไข่พันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 28 สัปดาห์ จำนวน 150 ตัว ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมเซลล์ยีสต์ 5% กลุ่มที่ 3 อาหารปกติเสริมยีสต์เซลล์แตก 2% ผลการทดลองปรากฏว่า น้ำหนักไข่เฉลี่ยต่อฟอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่เสริมเซลล์ยีสต์ 5% มีน้ำหนักมากกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารปกติ และกลุ่มที่เสริมยีสต์เซลล์แตก 2% เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ และค่าความถ่วงจำเพาะของกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติมีแนวโน้มจะมีค่าต่ำที่สุด และค่าฮอกยูนิต เปอร์เซ็นต์ไข่แดง เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว ดัชนีไข่แดง ความหนาเปลือกไข่ และสีไข่แดง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นการเสริมเซลล์ยีสต์ 5% ในอาหารจะช่วยเพิ่มน้ำหนักไข่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมยีสต์ในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพไข่ โดยวางแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว เป็นไก่ไข่พันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 28 สัปดาห์ จำนวน 150 ตัว ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมเซลล์ยีสต์ 5% กลุ่มที่ 3 อาหารปกติเสริมยีสต์เซลล์แตก 2% ผลการทดลองปรากฏว่า น้ำหนักไข่เฉลี่ยต่อฟอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่เสริมเซลล์ยีสต์ 5% มีน้ำหนักมากกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารปกติ และกลุ่มที่เสริมยีสต์เซลล์แตก 2% เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ และค่าความถ่วงจำเพาะของกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติมีแนวโน้มจะมีค่าต่ำที่สุด และค่าฮอกยูนิต เปอร์เซ็นต์ไข่แดง เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว ดัชนีไข่แดง ความหนาเปลือกไข่ และสีไข่แดง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นการเสริมเซลล์ยีสต์ 5% ในอาหารจะช่วยเพิ่มน้ำหนักไข่ |