ผู้เยี่ยมชม : 43,802
หลักสูตร (ทั้งหมด) แขนงวิชาสัตวศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ปีการศึกษา (ทั้งหมด) 2568 2567 2566 2565 2564 2563 2562 2561 2560 2559 2558 2557 2556 2555 2552 2551
ค้นหา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของอุณหภูมิและเวลาในการทาลายการพักตัวด้วยความร้อนในห้องปฏิบัติการและโรงเรือนทดลอง 2) เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นกล้าหลังการทาลายการพักตัวด้วยความร้อนในห้องปฏิบัติการและโรงเรือนทดลอง 3) เพื่อวิเคราะห์วิธีการที่เหมาะสมในการทาลายการพักตัวของเมล็ดงาแดงอุบลราชธานี 2 ด้วยความร้อน โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 ซ้า 6 กรรมวิธีคือ 1) การให้ความร้อนแก่เมล็ดโดยการตากแดดจัด 3-4 แดด (29 – 37 องศาเซลเซียส) 2) อบลมร้อนด้วยเครื่อง hot air oven 45 องศาเซลเซียส นาน 48 ชั่วโมง 3) อบลมร้อนด้วยเครื่อง hot air oven 45 องศาเซลเซียส นาน 72 ชั่วโมง 4) อบลมร้อนด้วยเครื่อง hot air oven 70 องศาเซลเซียส นาน 48 ชั่วโมง 5) อบลมร้อนด้วยเครื่อง hot air oven 70 องศาเซลเซียส นาน 72 ชั่วโมง และ 6) เมล็ดที่ไม่ผ่านการทาลายการพักตัว พบว่า การทาลายการพักตัวของเมล็ดงาแดงอุบลราชธานี 2 ที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการและในโรงเรือนด้วยการอบลมร้อนที่ 70 องศาเซลเซียส นาน 48 ชั่วโมง และ 70 องศาเซลเซียส นาน 72 ชั่วโมง ทาให้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกและดัชนีการงอก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยการทดสอบในห้องปฏิบัติการอบที่เวลา 48 ชั่วโมง ทาให้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกและดัชนีการงอกมากกว่าการอบที่ 72 ชั่วโมง คือ เปอร์เซ็นต์ความงอก 67.00 และ 65.00 เปอร์เซ็นต์ และดัชนีการงอก 2.79 และ 2.71 ตามลาดับ สาหรับการทดสอบในโรงเรือน การอบลมร้อนที่ 70 องศาเซลเซียส 48 ชั่วโมง ทาให้เมล็ดงอกน้อยกว่า แต่งอกได้เร็วกว่า (เปอร์เซ็นต์การงอก 99 % และ ดัชนีการงอก 1.76) เมื่อเปรียบเทียบกับการอบที่อุณหภูมิเดียวกัน แต่ใช้เวลา 72 ชั่วโมง (เปอร์เซ็นต์ความงอก 100% และดัชนีการงอก 1.70) สาหรับเมล็ดที่ไม่ผ่านการทาลายการพักตัว ทดสอบในห้องปฏิบัติการมีเปอร์เซ็นต์ความงอกอยู่ที่ 48.00 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีการงอกอยู่ที่ 2.00 และทดสอบในโรงเรือนทดลองมีเปอร์เซ็นต์ความงอกอยู่ที่ 63.00 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีการงอกอยู่ที่ 1.12 ตามลาดับ