ผลการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารไก่ไข่ระยะปลดไข่ต่อคุณภาพเปลือกไข่และคุณภาพภายในของไข่ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีน้อย ชุ่มคำ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพเปลือกไข่และคุณภาพภายในของไข่ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าจำนวน 120 ตัว อายุ 79 สัปดาห์ ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ10 ตัว ให้อาหารไก่ไข่ที่เสริมกวาวเครือขาวในระดับต่างๆดังนี้ กลุ่มควบคุมไม่เสริมกวาวเครือขาว กลุ่มที่ 2 และ3 เสริมกวาวเครือขาวในระดับ 50, 100 ppm ตามลำดับ ระยะเวลาการทดลอง 84 วัน พบว่าอัตราการไข่ (70.15-77.98%), น้ำหนักไข่ (62.27-62.59 กรัม), เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว (65.56-66.24), เปอร์เซ็นต์ไข่แดง (25.13-25.27), เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ (9.32-9.58), ค่าความถ่วงจำเพาะ (1.087-1.089), ความหนาเปลือกไข่ (0.346-0.355 มิลลิเมตร), สีไข่แดง (13.91-14.00), ดัชนีไข่แดง (45.18-46.15) และค่าฮอฟ์ยูนิต (77.32-79.91) ตลอดการทดลอง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีแนวโน้มว่าเปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ของกลุ่มที่เสริมกวาวเครือขาว 100 ppm จะมากกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพเปลือกไข่และคุณภาพภายในของไข่ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าจำนวน 120 ตัว อายุ 79 สัปดาห์ ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ10 ตัว ให้อาหารไก่ไข่ที่เสริมกวาวเครือขาวในระดับต่างๆดังนี้ กลุ่มควบคุมไม่เสริมกวาวเครือขาว กลุ่มที่ 2 และ3 เสริมกวาวเครือขาวในระดับ 50, 100 ppm ตามลำดับ ระยะเวลาการทดลอง 84 วัน พบว่าอัตราการไข่ (70.15-77.98%), น้ำหนักไข่ (62.27-62.59 กรัม), เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว (65.56-66.24), เปอร์เซ็นต์ไข่แดง (25.13-25.27), เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ (9.32-9.58), ค่าความถ่วงจำเพาะ (1.087-1.089), ความหนาเปลือกไข่ (0.346-0.355 มิลลิเมตร), สีไข่แดง (13.91-14.00), ดัชนีไข่แดง (45.18-46.15) และค่าฮอฟ์ยูนิต (77.32-79.91) ตลอดการทดลอง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีแนวโน้มว่าเปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ของกลุ่มที่เสริมกวาวเครือขาว 100 ppm จะมากกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 |