ศึกษาผลของกากอ้อยในวัสดุเพาะต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดหิมาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.คมกฤษณ์ แสงเงิน หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช การศึกษาผลของกากอ้อยในวัสดุเพาะต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดหิมาลัย โดยนำเชื้อเห็ดหิมาลัยเลี้ยงบนก้อนอาหารที่มีส่วนผสมของกากอ้อยที่แตกต่างกัน จำนวน 5 Treatmentประกอบด้วย Treatment 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์Treatment 2 กากอ้อย 5 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 95 เปอร์เซ็นต์Treatment 3 กากอ้อย 10 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 90 เปอร์เซ็นต์Treatment4 กากอ้อย 15 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 85 เปอร์เซ็นต์ และ Treatment5 กากอ้อย 20 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 80 เปอร์เซ็นต์ ทำTreatment ละ 5 ซ้ำเก็บข้อมูลหลังจากหยอดเชื้อเป็นเวลา 7 วัน และเก็บข้อมูลในครั้งต่อๆ ไปทุก 4 วัน เป็นจำนวน 11 ครั้ง พบว่า Treatment ที่ดีที่สุด คือ Treatment1 และ 2 มีการเจริญของเส้นใย 13 เซนติเมตร หลังจากเพาะเป็นเวลา 31 วัน ในขณะที่ Treatment3, 4 และ 5 มีการเจริญของเส้นใย 14.00, 13.56 และ 13.24 เซนติเมตรหลังจากเพาะเป็นเวลา 43, 47 และ 47 วัน ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า สามารถนำกากอ้อยมาใช้เป็นส่วนผสมทดแทนขี้เลื้อยได้ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาผลของกากอ้อยในวัสดุเพาะต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดหิมาลัย โดยนำเชื้อเห็ดหิมาลัยเลี้ยงบนก้อนอาหารที่มีส่วนผสมของกากอ้อยที่แตกต่างกัน จำนวน 5 Treatmentประกอบด้วย Treatment 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์Treatment 2 กากอ้อย 5 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 95 เปอร์เซ็นต์Treatment 3 กากอ้อย 10 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 90 เปอร์เซ็นต์Treatment4 กากอ้อย 15 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 85 เปอร์เซ็นต์ และ Treatment5 กากอ้อย 20 เปอร์เซ็นต์ และ ขี้เลื่อย 80 เปอร์เซ็นต์ ทำTreatment ละ 5 ซ้ำเก็บข้อมูลหลังจากหยอดเชื้อเป็นเวลา 7 วัน และเก็บข้อมูลในครั้งต่อๆ ไปทุก 4 วัน เป็นจำนวน 11 ครั้ง พบว่า Treatment ที่ดีที่สุด คือ Treatment1 และ 2 มีการเจริญของเส้นใย 13 เซนติเมตร หลังจากเพาะเป็นเวลา 31 วัน ในขณะที่ Treatment3, 4 และ 5 มีการเจริญของเส้นใย 14.00, 13.56 และ 13.24 เซนติเมตรหลังจากเพาะเป็นเวลา 43, 47 และ 47 วัน ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า สามารถนำกากอ้อยมาใช้เป็นส่วนผสมทดแทนขี้เลื้อยได้ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ |