ผลของวัสดุปลูกต่างชนิดต่อ การเจริญเติบโตของไมโครกรีนไควาเระ อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมาพร เรืองสังข์ หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ไมโครกรีนคือต้นอ่อนผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปัจจุบันมีผู้บริโภคผักไมโครกรีนในประเทศ ไทยและต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจัยที่สำคัญในการผลิตไมโครกรีนไควาเระในถาดเพาะ ได้แก่ วัสดุ ปลูกที่เหมาะสม มีน้ำหนักเบาและธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต การทดลองนี้จึงมี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกต่างชนิดต่อการงอกของเมล็ดไควาเระ 2) เพื่อศึกษาผลของ วัสดุปลูกต่างชนิดต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีนไควาเระ 3) เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกต่างชนิดต่อ คุณภาพของผลผลิตไมโครกรีนไควาเระ ทำการทดลอง ณ โรงเรือนปลูกพืชเศรษฐกิจ คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2564 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 กรรมวิธีคือ 1) ดิน+แกลบดำ อัตราส่วน 1.1 2) ดิน ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 3) ดิน+แกลบดำ ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1:1 4) ดิน ทำการเพาะ ไมโครกรีนไควาเระเป็นเวลา 10 วัน จากผลการทดลองพบว่า กรรมวิธี ดินขุย มะพร้าว (T2) และ ดิน+แกลบดำ+ขุยมะพร้าว (T3) มีผลทำให้ เปอร์เซ็นต์ความงอก 82.36 % และ 84.30 % ดัชนีการงอก 14.59 และ 17.80 ความยาวราก 8.19 เซนติเมตร/ต้น และ 6.65 เซนติเมตร/ ต้น น้ำหนักสดราก 0.045 กรัม/ต้น และ 0.043 กรัม/ต้น ความสูงต้น 9.30 เซนติเมตร/ต้น และ 10.66 เซนติเมตร/ต้น น้ำหนักสดต้น 0.341 กรัม/ต้น และ 0.312 กรัม/ต้น ปริมาณน้ำตาล 0.0125 เท่ากัน ปริมาณเส้นใย 0.823 % FW และ 0.779 % FW ตามล่าดับ ไมโครกรีนคือต้นอ่อนผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปัจจุบันมีผู้บริโภคผักไมโครกรีนในประเทศ ไทยและต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจัยที่สำคัญในการผลิตไมโครกรีนไควาเระในถาดเพาะ ได้แก่ วัสดุ ปลูกที่เหมาะสม มีน้ำหนักเบาและธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต การทดลองนี้จึงมี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกต่างชนิดต่อการงอกของเมล็ดไควาเระ 2) เพื่อศึกษาผลของ วัสดุปลูกต่างชนิดต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีนไควาเระ 3) เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกต่างชนิดต่อ คุณภาพของผลผลิตไมโครกรีนไควาเระ ทำการทดลอง ณ โรงเรือนปลูกพืชเศรษฐกิจ คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2564 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 กรรมวิธีคือ 1) ดิน+แกลบดำ อัตราส่วน 1.1 2) ดิน ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 3) ดิน+แกลบดำ ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1:1 4) ดิน ทำการเพาะ ไมโครกรีนไควาเระเป็นเวลา 10 วัน จากผลการทดลองพบว่า กรรมวิธี ดินขุย มะพร้าว (T2) และ ดิน+แกลบดำ+ขุยมะพร้าว (T3) มีผลทำให้ เปอร์เซ็นต์ความงอก 82.36 % และ 84.30 % ดัชนีการงอก 14.59 และ 17.80 ความยาวราก 8.19 เซนติเมตร/ต้น และ 6.65 เซนติเมตร/ ต้น น้ำหนักสดราก 0.045 กรัม/ต้น และ 0.043 กรัม/ต้น ความสูงต้น 9.30 เซนติเมตร/ต้น และ 10.66 เซนติเมตร/ต้น น้ำหนักสดต้น 0.341 กรัม/ต้น และ 0.312 กรัม/ต้น ปริมาณน้ำตาล 0.0125 เท่ากัน ปริมาณเส้นใย 0.823 % FW และ 0.779 % FW ตามล่าดับ |