ผลของอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มและอุณหภูมิซากต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และคุณภาพเนื้อของไก่กระทง อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
ศึกษาผลของอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มและอุณหภูมิซากต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และคุณภาพเนื้อของไก่กระทง ใช้ไก่กระทงพันธุ์ ROSS 308 ที่อายุ 45 วัน จำนวน 128 ตัว โดยมีการสุ่มด้วยวิธี Completely Randomized Design (CRD) การทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 8 ตัว (ทั้งหมด 128 ตัว) โดยกลุ่มที่ 1 ไม่เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เสริมสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ในน้ำ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 3 วัน กลุ่มที่ 3 เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 3 วัน และกลุ่มที่ 4 เสริมสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ในน้ำ 0.15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 1 วัน ผลการทดลองพบว่า การเสริมอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มและผลของอุณหภูมิซากไม่ส่งผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของเนื้อไก่กระทง ซากอุ่นและซากเย็น ที่เวลา 0 นาที และที่เวลา 45 นาที เช่นเดียวกับคุณภาพเนื้อ ได้แก่ ค่าสีของเนื้อไก่ (L* a* b*) การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น (Drip loss) การสูญเสียน้ำจากการต้มสุก (Cooking loss) และแรงตัดผ่านเนื้อสัมผัส (Shear fore) แสดงให้เห็นว่าการทดลองการเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่ม ไม่ส่งผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างและคุณภาพเนื้อของไก่กระทง
|