การเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้าและไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้าและไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ทำการทดลองในไก่เพศผู้ จำนวน 20 ตัว สายพันธุ์ละ 10 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบ T-test for Independent Sample ( T-test ) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้า และกลุ่มที่ 2 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยน้ำหนักรวม เปอร์เซ็นต์อก ปีกรวม และสะโพก ของไก่พันธุ์พื้นเมืองทางการค้าและพันธุ์ตองหนึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์น่อง เท้า ซี่โครง ไขมันในช่องท้อง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลของคุณภาพสี พบว่า ค่าสี L* ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ค่าสี a* และค่า b* แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคุณภาพเนื้อ พบว่า เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น การสูญเสียน้ำจากการแช่แข็ง ค่าแรงตัดผ่านชิ้นเนื้อ มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่พันธุ์ตองหนึ่งมีแนวโน้มการสูญเสียน้ำจากการต้มสุกมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้า ดังนั้นจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่งมีคุณภาพซากชิ้นส่วนสำคัญภายในดีกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้าถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนัก การเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้าและไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ทำการทดลองในไก่เพศผู้ จำนวน 20 ตัว สายพันธุ์ละ 10 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบ T-test for Independent Sample ( T-test ) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้า และกลุ่มที่ 2 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยน้ำหนักรวม เปอร์เซ็นต์อก ปีกรวม และสะโพก ของไก่พันธุ์พื้นเมืองทางการค้าและพันธุ์ตองหนึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์น่อง เท้า ซี่โครง ไขมันในช่องท้อง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลของคุณภาพสี พบว่า ค่าสี L* ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ค่าสี a* และค่า b* แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคุณภาพเนื้อ พบว่า เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น การสูญเสียน้ำจากการแช่แข็ง ค่าแรงตัดผ่านชิ้นเนื้อ มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่พันธุ์ตองหนึ่งมีแนวโน้มการสูญเสียน้ำจากการต้มสุกมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้า ดังนั้นจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่งมีคุณภาพซากชิ้นส่วนสำคัญภายในดีกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้าถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนัก |