การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นันท์ปภัทร์ ทองคำ หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลิตภัณฑ์ฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่เสริมลงไปในไอศกรีม โดยศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ศึกษาปริมาณฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ต่อคุณภาพทางทางประสาทสัมผัส กายภาพและเคมี ของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยแปรปริมาณฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็น 3 ระดับ คือ 0:100, 50:50 และ 100:0 ผลการศึกษา พบว่าการคัดเลือกสูตรที่เหมาะสมโดยการทดสอบสมบัติทางกายภาพ ผลจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ทั้ง 3 สูตร พบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนในด้านลักษณะปรากฎ สี รสชาติ ความมัน ความเนียนและความชอบโดยรวม ในสูตรที่ 0:100 กับ 50:50 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อยู่ในระดับความชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง แต่ในสูตร 100:0 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) อยู่ในระดับความชอบเฉยๆ ส่วนด้านกลิ่น 0:100 ผู้บริโภคยอมรับมากที่สุด รองลงมา คือสูตร 50:50 ค่าความสว่าง (L*)และค่าสีเหลือง (b*) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ส่วนค่าสีแดง (a*) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ในสูตร 100:0 มีค่าสีแดงมาก รองลงมา คือสูตร 50:50 ตามลำดับ ในด้านความหนืด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่ในสูตรที่ 0:100 มีค่ามากกว่า รองลงมาคือสูตร 50:50 ตามลำดับ อัตราการละลายของไอศกรีมและการขึ้นฟู ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในด้านความชื้น ไขมัน และเถ้าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนด้านโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และพลังงาน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลิตภัณฑ์ฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่เสริมลงไปในไอศกรีม โดยศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ศึกษาปริมาณฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ต่อคุณภาพทางทางประสาทสัมผัส กายภาพและเคมี ของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยแปรปริมาณฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็น 3 ระดับ คือ 0:100, 50:50 และ 100:0 ผลการศึกษา พบว่าการคัดเลือกสูตรที่เหมาะสมโดยการทดสอบสมบัติทางกายภาพ ผลจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของไอศกรีมฟลาวเทมเป้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ทั้ง 3 สูตร พบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนในด้านลักษณะปรากฎ สี รสชาติ ความมัน ความเนียนและความชอบโดยรวม ในสูตรที่ 0:100 กับ 50:50 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อยู่ในระดับความชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง แต่ในสูตร 100:0 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) อยู่ในระดับความชอบเฉยๆ ส่วนด้านกลิ่น 0:100 ผู้บริโภคยอมรับมากที่สุด รองลงมา คือสูตร 50:50 ค่าความสว่าง (L*)และค่าสีเหลือง (b*) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ส่วนค่าสีแดง (a*) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ในสูตร 100:0 มีค่าสีแดงมาก รองลงมา คือสูตร 50:50 ตามลำดับ ในด้านความหนืด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่ในสูตรที่ 0:100 มีค่ามากกว่า รองลงมาคือสูตร 50:50 ตามลำดับ อัตราการละลายของไอศกรีมและการขึ้นฟู ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในด้านความชื้น ไขมัน และเถ้าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนด้านโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และพลังงาน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) |