ผลของเกลือ 5 ชนิด ที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต และลักษณะ ทางสรีรวิทยาของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ และอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลกแต่ในปัจจุบันประชากรของโลกเพิ่มสูงขึ้นความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ ต่อความต้องการเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ประสบปัญหาสภาวะดินเค็มส่งผลต่อ การเจริญเติบโต ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทนเค็มของข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 ในเกลือ 5 ชนิด ที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต และลักษณะ ทางสรีรวิทยา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยแบ่งออกเป็น 6 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่ 3 MgCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่4 CaCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่5 MgSO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM และกรรมวิธีที่ 6 Na2SO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM ผลการทดลองพบว่า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มต่อเกลือ NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ได้ดีกว่าปทุมธานี 1 และเกลือที่มีความรุนแรงต่อข้าว คือเกลือ Na2SO4 ที่ขาวดอกมะลิ 105 สามารถทนได้เพียง 1 ด้าน ในขณะที่ปทุมธานี 1 ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ในทุกๆ ด้าน ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ และอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลกแต่ในปัจจุบันประชากรของโลกเพิ่มสูงขึ้นความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ ต่อความต้องการเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ประสบปัญหาสภาวะดินเค็มส่งผลต่อ การเจริญเติบโต ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทนเค็มของข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 ในเกลือ 5 ชนิด ที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต และลักษณะ ทางสรีรวิทยา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยแบ่งออกเป็น 6 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่ 3 MgCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่4 CaCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่5 MgSO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM และกรรมวิธีที่ 6 Na2SO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM ผลการทดลองพบว่า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มต่อเกลือ NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ได้ดีกว่าปทุมธานี 1 และเกลือที่มีความรุนแรงต่อข้าว คือเกลือ Na2SO4 ที่ขาวดอกมะลิ 105 สามารถทนได้เพียง 1 ด้าน ในขณะที่ปทุมธานี 1 ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ในทุกๆ ด้าน |