การพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้ง อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาสุรี ฤทธิเลิศ หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งโดยศึกษาคุณภาพทางกายภาพและเคมีของมะม่วงน้ำดอกไม้ผลสด ศึกษากระบวนการแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้ที่เหมาะสมต่อกระบวนการแช่อิ่มอบแห้ง และศึกษาองค์ประกอบเคมี คุณภาพทางกายภาพ และทางจุลินทรีย์ของมะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้ง พบว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ผลสดเปลือกและเนื้อด้านในที่ระยะสุกจะมีค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) มากกว่าระยะกึ่งสุก ในขณะที่เนื้อด้านนอกของระยะกึ่งสุกมีสีขาวอมเหลือง ทำให้มีค่า L* มากกว่าระยะสุก และมีค่า a* b* มีค่าน้อยลง ส่วนค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของมะม่วงน้ำดอกไม้ระยะสุกมีค่ามากกว่าระยะกึ่งสุก และมีปริมาณกรดที่ไตรเตรทได้ น้อยกว่าระยะกึ่งสุก กระบวนการแช่อิ่มมีผลต่อระยะการสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้โดยระยะกึ่งสุกเหมาะกับกระบวนการแช่อิ่มแบบเร็ว และระยะสุกเหมาะกับกระบวนการแช่อิ่มแบบช้า จากการทดลองพบว่ากระบวนการแช่อิ่มแบบช้าใช้ระยะเวลาในการอบแห้งนานกว่า การลดขนาดมะม่วงน้ำดอกไม้ด้วยการหั่นเป็นแผ่นปริมาณ 2 ชิ้น ทำให้ชิ้นมะม่วงที่ได้มีลักษณะเป็นแผ่น และมีเนื้อสัมผัสที่ดี อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการอบแห้งลดลง ค่าaw ที่ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 0.6-0.7 จากนั้นนำมาพัฒนาโดยการแปรปริมาณความเข้มข้นของน้ำเชื่อม 3 ระดับ ได้แก่ 50, 60 และ 70 ⸰Brix ปริมาณความเข้มข้นของน้ำเชื่อมส่งผลต่อค่าสี L* a* b*, C* และ H* เพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบของมะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งที่ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม 70 ⸰Brix ด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวมมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) เมื่อแปรปริมาณกลีเซอรอล เป็น 4 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 พบว่าปริมาณกลีเซอรอลมีผลต่อค่าสี L* a* b*, C* และ H* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่จุ่มกลีเซอรอลแต่มีแนวโน้มลดลงเมื่อความเข้มข้นของ กลีเซอรอลเพิ่มขึ้น ชิ้นมะม่วงที่ได้มีความนุ่ม หนึบ เคี้ยวได้ง่าย มะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งมีองค์ประกอบทางเคมีได้แก่ ความชื้น, ไขมัน, โปรตีน, เถ้า, เส้นใย,คาร์โบไฮเดรต และพลังงาน เท่ากับ 12.86, 0.41, 1.51, 1.23, 3.39, 80.61 และ 332.12 กิโลแคลอรี่ตามลำดับ เมื่อเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 วันพบว่าค่าสีมีการเปลี่ยนแปลงโดยค่าสี L* และ dE* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และผลการวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์พบว่าปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 25 CFU/g ยีสต์และราไม่เกิน 25 CFU/g และไม่พบ Escherichia coli ตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เรื่องผักและผลไม้แช่อิ่ม (มผช. 161/2558) งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งโดยศึกษาคุณภาพทางกายภาพและเคมีของมะม่วงน้ำดอกไม้ผลสด ศึกษากระบวนการแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้ที่เหมาะสมต่อกระบวนการแช่อิ่มอบแห้ง และศึกษาองค์ประกอบเคมี คุณภาพทางกายภาพ และทางจุลินทรีย์ของมะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้ง พบว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ผลสดเปลือกและเนื้อด้านในที่ระยะสุกจะมีค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) มากกว่าระยะกึ่งสุก ในขณะที่เนื้อด้านนอกของระยะกึ่งสุกมีสีขาวอมเหลือง ทำให้มีค่า L* มากกว่าระยะสุก และมีค่า a* b* มีค่าน้อยลง ส่วนค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของมะม่วงน้ำดอกไม้ระยะสุกมีค่ามากกว่าระยะกึ่งสุก และมีปริมาณกรดที่ไตรเตรทได้ น้อยกว่าระยะกึ่งสุก กระบวนการแช่อิ่มมีผลต่อระยะการสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้โดยระยะกึ่งสุกเหมาะกับกระบวนการแช่อิ่มแบบเร็ว และระยะสุกเหมาะกับกระบวนการแช่อิ่มแบบช้า จากการทดลองพบว่ากระบวนการแช่อิ่มแบบช้าใช้ระยะเวลาในการอบแห้งนานกว่า การลดขนาดมะม่วงน้ำดอกไม้ด้วยการหั่นเป็นแผ่นปริมาณ 2 ชิ้น ทำให้ชิ้นมะม่วงที่ได้มีลักษณะเป็นแผ่น และมีเนื้อสัมผัสที่ดี อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการอบแห้งลดลง ค่าaw ที่ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 0.6-0.7 จากนั้นนำมาพัฒนาโดยการแปรปริมาณความเข้มข้นของน้ำเชื่อม 3 ระดับ ได้แก่ 50, 60 และ 70 ⸰Brix ปริมาณความเข้มข้นของน้ำเชื่อมส่งผลต่อค่าสี L* a* b*, C* และ H* เพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบของมะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งที่ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม 70 ⸰Brix ด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวมมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) เมื่อแปรปริมาณกลีเซอรอล เป็น 4 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 พบว่าปริมาณกลีเซอรอลมีผลต่อค่าสี L* a* b*, C* และ H* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่จุ่มกลีเซอรอลแต่มีแนวโน้มลดลงเมื่อความเข้มข้นของ กลีเซอรอลเพิ่มขึ้น ชิ้นมะม่วงที่ได้มีความนุ่ม หนึบ เคี้ยวได้ง่าย มะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งมีองค์ประกอบทางเคมีได้แก่ ความชื้น, ไขมัน, โปรตีน, เถ้า, เส้นใย,คาร์โบไฮเดรต และพลังงาน เท่ากับ 12.86, 0.41, 1.51, 1.23, 3.39, 80.61 และ 332.12 กิโลแคลอรี่ตามลำดับ เมื่อเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่มอบแห้งที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 วันพบว่าค่าสีมีการเปลี่ยนแปลงโดยค่าสี L* และ dE* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และผลการวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์พบว่าปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 25 CFU/g ยีสต์และราไม่เกิน 25 CFU/g และไม่พบ Escherichia coli ตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เรื่องผักและผลไม้แช่อิ่ม (มผช. 161/2558) |