ผลของน้ำหมักชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์และผักสดที่เป็นส่วนเหลือทิ้งจากตลาดสด ต่อปริมาณจุลินทรีย์ ในภาชนะถังหมัก เป็นระยะเวลา 21 และ28 วัน อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นและหาปริมาณจุลินทรีย์ จากน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักหญ้าเนเปียร์และเศษผักที่อายุการหมักต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบ independent t-test แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 หมักนาน 21 วัน กลุ่มที่ 2 หมักนาน 28 วัน จากผลการทดสอบของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และ อายุการหมัก 28 วัน พบว่ามีค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และ 4.42 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และอายุการหมัก 28 วัน ทั้งสองตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) คือ 22.5×106 และ 5.76×106 cfu/ml ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นและหาปริมาณจุลินทรีย์ จากน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักหญ้าเนเปียร์และเศษผักที่อายุการหมักต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบ independent t-test แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 หมักนาน 21 วัน กลุ่มที่ 2 หมักนาน 28 วัน จากผลการทดสอบของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และ อายุการหมัก 28 วัน พบว่ามีค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และ 4.42 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และอายุการหมัก 28 วัน ทั้งสองตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) คือ 22.5×106 และ 5.76×106 cfu/ml ตามลำดับ |