ผลของ PBZ ต่อการเจริญเติบโตของว่านน้ำทองในสภาพปลอดเชื้อ อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมกฤษณ์ แสงเงิน หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช การศึกษาผลของ PBZ เพื่อให้ได้ระดับความเข้มข้นสารควบคุมการเจริญเติบโตที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของว่านน้ำทองในสภาพปลอดเชื้อ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยนำส่วนข้อมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม PBZ ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายใต้ความเข้มแสง 1,000 ลักซ์ อุณหภูมิ 26 ± 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า การเพาะเลี้ยงว่านน้ำทองบนอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต PBZ มีความเหมาะสมในการเจริญเติบโตทางด้านความสูง จำนวนใบ จำนวนราก และความยาวรากของต้นว่านน้ำทองมากที่สุด การศึกษาผลของ PBZ เพื่อให้ได้ระดับความเข้มข้นสารควบคุมการเจริญเติบโตที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของว่านน้ำทองในสภาพปลอดเชื้อ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยนำส่วนข้อมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม PBZ ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายใต้ความเข้มแสง 1,000 ลักซ์ อุณหภูมิ 26 ± 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า การเพาะเลี้ยงว่านน้ำทองบนอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต PBZ มีความเหมาะสมในการเจริญเติบโตทางด้านความสูง จำนวนใบ จำนวนราก และความยาวรากของต้นว่านน้ำทองมากที่สุด |