คุณภาพทางกายภาพของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวานในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ ![]() ![]() งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพทางกายภาพของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวานในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 อัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวาน เท่ากับ 30:20:30 ต่อน้ำหนักพืชสด กลุ่มทดลองที่ 2 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวาน เท่ากับ 20:20:40 ต่อน้ำหนักพืชสด และกลุ่มทดลองที่ 3 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวาน เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสด ทั้ง 3 กลุ่มมีการเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 ทำการทดลองจำนวนกลุ่มละ 3 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้พืชหมักจำนวน 9 ถุง รวมทั้งหมด 27 ถุง ใช้ระยะเวลาในการหมักทั้งหมด 21 วัน และเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพืชหมัก คือ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส และค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของพืชหมักทั้ง 3 กลุ่มทดลอง มาเปรียบเทียบกัน โดยนำข้อมูลมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติแบบหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of Variance : One way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองโดยใช้วิธี Duncan, s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลการทดลองพบว่า เนื้อสัมผัส กลิ่น สี ของทั้ง 3 กลุ่มทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p>0.05) ส่วนค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p≤0.05) และผลคะแนนสามารถระบุคุณภาพของพืชหมักทั้ง 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 จัดว่าเป็นพืชหมักที่มีคุณภาพระดับดี ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 จัดว่าเป็นพืชหมักที่มีคุณภาพระดับดีมาก เหมาะสำหรับการทำพืชหมักเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์มากที่สุด ซึ่งพืชหมักกลุ่มที่ 3 มีลักษณะทางกายภาพ คือ เนื้อสัมผัสไม่เละ ไม่จับกันเป็นก้อน ไม่มียีสต์หรือเชื้อราเจือปน กลิ่นของพืชหมักคล้ายผลไม้ดอง สีของพืชหมักมีสีเหลืองอมเขียว และค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.69 ซึ่งมีความเป็นกรด งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพทางกายภาพของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวานในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 อัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวาน เท่ากับ 30:20:30 ต่อน้ำหนักพืชสด กลุ่มทดลองที่ 2 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวาน เท่ากับ 20:20:40 ต่อน้ำหนักพืชสด และกลุ่มทดลองที่ 3 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อเศษผักสดและฝักข้าวโพดหวาน เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสด ทั้ง 3 กลุ่มมีการเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 ทำการทดลองจำนวนกลุ่มละ 3 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้พืชหมักจำนวน 9 ถุง รวมทั้งหมด 27 ถุง ใช้ระยะเวลาในการหมักทั้งหมด 21 วัน และเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพืชหมัก คือ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส และค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของพืชหมักทั้ง 3 กลุ่มทดลอง มาเปรียบเทียบกัน โดยนำข้อมูลมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติแบบหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of Variance : One way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองโดยใช้วิธี Duncan, s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลการทดลองพบว่า เนื้อสัมผัส กลิ่น สี ของทั้ง 3 กลุ่มทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p>0.05) ส่วนค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p≤0.05) และผลคะแนนสามารถระบุคุณภาพของพืชหมักทั้ง 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 จัดว่าเป็นพืชหมักที่มีคุณภาพระดับดี ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 จัดว่าเป็นพืชหมักที่มีคุณภาพระดับดีมาก เหมาะสำหรับการทำพืชหมักเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์มากที่สุด ซึ่งพืชหมักกลุ่มที่ 3 มีลักษณะทางกายภาพ คือ เนื้อสัมผัสไม่เละ ไม่จับกันเป็นก้อน ไม่มียีสต์หรือเชื้อราเจือปน กลิ่นของพืชหมักคล้ายผลไม้ดอง สีของพืชหมักมีสีเหลืองอมเขียว และค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.69 ซึ่งมีความเป็นกรด |