การศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อการกลายพันธุ์ของเปเปอร์มินท์ บนอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อ อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช เปปเปอร์มินท์ เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรตระกูลมินท์ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ด้วยความหอมสดชื่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งกลิ่นและรสชาติ จึงถูกนำมาเป็นส่วนผสมในหลากหลายผลิตภัณฑ์ ในการศึกษาผลของรังสีแกมมาที่มีต่อการเจริญเติบโตและลักษณะสัณฐานวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไปของต้นเปเปอร์มินท์ โดยการพะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนของลำต้นซึ่งผ่านการฉายรังสีแบบเฉียบพลัน ที่ระดับรังสี 0, 20, 40, 60, 80, และ100 เกรย์ และฉายรังสีซ้ำที่ระดับ 0+0, 20+20, 40+40, และ 60+60 เกรย์ โดยนำชิ้นส่วนในสภาพปลอดเชื้อ เลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS. 1962) จากการศึกษาผลของรังสีแกกมมาที่มีผลต่อการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาสรุปได้ว่า ในปริมาณรังสีที่ส่งผลให้ต้นเปเปอร์มินท์เจริญเติบโตได้ดีที่สุดอยู่ที่ระดับรังสี 0 เกรย์ และระดับรังสีแกมมาที่ส่งผลต่อการกลายพันธุ์ของต้นเปเปอร์มินท์ได้ดีที่สุดที่ระดับรังสี 40+40 เกรย์ เปปเปอร์มินท์ เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรตระกูลมินท์ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ด้วยความหอมสดชื่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งกลิ่นและรสชาติ จึงถูกนำมาเป็นส่วนผสมในหลากหลายผลิตภัณฑ์ ในการศึกษาผลของรังสีแกมมาที่มีต่อการเจริญเติบโตและลักษณะสัณฐานวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไปของต้นเปเปอร์มินท์ โดยการพะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนของลำต้นซึ่งผ่านการฉายรังสีแบบเฉียบพลัน ที่ระดับรังสี 0, 20, 40, 60, 80, และ100 เกรย์ และฉายรังสีซ้ำที่ระดับ 0+0, 20+20, 40+40, และ 60+60 เกรย์ โดยนำชิ้นส่วนในสภาพปลอดเชื้อ เลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS. 1962) จากการศึกษาผลของรังสีแกกมมาที่มีผลต่อการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาสรุปได้ว่า ในปริมาณรังสีที่ส่งผลให้ต้นเปเปอร์มินท์เจริญเติบโตได้ดีที่สุดอยู่ที่ระดับรังสี 0 เกรย์ และระดับรังสีแกมมาที่ส่งผลต่อการกลายพันธุ์ของต้นเปเปอร์มินท์ได้ดีที่สุดที่ระดับรังสี 40+40 เกรย์ |