การประเมินความสามารถในการทนเค็มของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ ในสภาพโรงเรือน อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช พริก เป็นพืชผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง พริกในประเทศไทยมีหลายชนิด ได้แก่ พริกชี้ฟ้า และพริกขี้หนู เป็นต้น ความเค็มเป็นปัญหาหนึ่งทางด้านการเกษตรของประเทศ เพราะพื้นที่ที่มีความเค็มไม่สามารถทำการเกษตรหรือปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้เพราะความเค็ม ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือ โซเดียมคลอไรด์ ที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) แบ่งออกเป็น 5 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น ได้แก่ 1.เหลืองลูกผสม 2.เขียวหนุ่มลูกผสม 3.เขียวหนุ่ม 4.แดงจินดา 5.หนุ่มขาวลูกผสม 6.กะเหรี่ยง 7.หยวกลูกผสม ทรีทเมนต์ที่ 1 Control (น้ำกลั่น) ทรีทเมนต์ที่ 2 เกลือ NaCl เข้มข้น 25 mM ทรีทเมนต์ที่ 3 เกลือ NaCl เข้มข้น 50 mM ทรีทเมนต์ที่ 4 เกลือ NaCl เข้มข้น 75 mM ทรีทเมนต์ที่ 5 เกลือ NaCl เข้มข้น 100 mM ผลการทดลองพบว่า พริกพันธุ์เหลืองลูกผสม พริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ในระดับความเข้มข้น 50 mM ในพริกพันธุ์แดงจินดา พริกพันธุ์หนุ่มขาวลูกผสม พริกพันธุ์กะเหรี่ยง และพริกพันธุ์หยวกลูกผสม พบว่า สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ดังนั้น พริกพันธุ์เหลืองลูกผสมพริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม มีศักยภาพในการทนเค็ม 50 mM (NaCl) สมควรส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม พริก เป็นพืชผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง พริกในประเทศไทยมีหลายชนิด ได้แก่ พริกชี้ฟ้า และพริกขี้หนู เป็นต้น ความเค็มเป็นปัญหาหนึ่งทางด้านการเกษตรของประเทศ เพราะพื้นที่ที่มีความเค็มไม่สามารถทำการเกษตรหรือปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้เพราะความเค็ม ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือ โซเดียมคลอไรด์ ที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) แบ่งออกเป็น 5 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น ได้แก่ 1.เหลืองลูกผสม 2.เขียวหนุ่มลูกผสม 3.เขียวหนุ่ม 4.แดงจินดา 5.หนุ่มขาวลูกผสม 6.กะเหรี่ยง 7.หยวกลูกผสม ทรีทเมนต์ที่ 1 Control (น้ำกลั่น) ทรีทเมนต์ที่ 2 เกลือ NaCl เข้มข้น 25 mM ทรีทเมนต์ที่ 3 เกลือ NaCl เข้มข้น 50 mM ทรีทเมนต์ที่ 4 เกลือ NaCl เข้มข้น 75 mM ทรีทเมนต์ที่ 5 เกลือ NaCl เข้มข้น 100 mM ผลการทดลองพบว่า พริกพันธุ์เหลืองลูกผสม พริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ในระดับความเข้มข้น 50 mM ในพริกพันธุ์แดงจินดา พริกพันธุ์หนุ่มขาวลูกผสม พริกพันธุ์กะเหรี่ยง และพริกพันธุ์หยวกลูกผสม พบว่า สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ดังนั้น พริกพันธุ์เหลืองลูกผสมพริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม มีศักยภาพในการทนเค็ม 50 mM (NaCl) สมควรส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม |