อิทธิพลของสารละลายปักแจกัน (Holding Solution) ที่มีต่ออายุการปักแจกัน ของดอกกุหลาบย้อมสีเขียว (ฟาสต์กรีน เอ็ฟซีเอ็ฟ) อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คำทอง มหวงศ์วิริยะ หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช การทดลองนำดอกกุหลาบสีขาวดอกใหญ่มาย้อมสีเขียว (ฟาสต์กรีน เอ็ฟซีเอ็ฟ) แล้วนำมาปักแจกันในสารละลายต่างๆวางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ทรีตเมนต์ (Tretment) 3 ซ้ำ (Replication) โดยมีทรีตเมนต์ต่างๆดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 น้ำกลั่น (Control) ทรีตเมนต์ที่ 2 เอทานอล 2% + น้ำตาลซูโครส 5% ทรีตเมนต์ที่ 3 กรดซิตริก 150 ppm + น้ำตาลซูโครส 5% ทรีตเมนต์ที่ 4 กรดซาลิไซลิก300 ppm + น้ำตาลซูโครส 5% ผลการทดลองครั้งนี้พบว่า อายุการปักแจกันของดอกกุหลาบย้อมสีเขียว (ฟาสต์กรีน เอ็ฟซีเอ็ฟ) ทรีตเมนต์ที่ 2 และทรีตเมนต์ที่ 4 มีอายุการปักแจกันนานที่สุด คือ 5.06 วันรองลงมาคือทรีตเมนต์ที่ 3 และ 1 มีอายุการปักแจกัน 4.93 และ 3.73 วันตามลำดับ ทรีตเมนต์ที่ 2 ทรีตเมนต์ ที่ 3 และ 4 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 1ปริมาณการดูดน้ำของทุกทรีตเมนต์เริ่มที่ 0 มิลลิลิตร โดยวันที่ 2 และวันที่ 3 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ วันที่ 4 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 1 วันที่ 5 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 6 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 7 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกุหลาบ วันที่ 0 และวันที่ 1 ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยวันที่ 2 ทรีตเมนต์ที่ 1 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 3และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 3 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ วันที่ 4 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 5 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด ทุก ทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ วันที่ 6 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 วันที่ 7 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 คะแนนความสด หลังจากย้อมสีแล้ว ทุกทรีตเมนต์ มีคะแนนความสดเท่ากับ 5 ซึ่งเป็นคะแนนที่ดีมาก และคะแนนจะลดลงเรื่อยๆในวันต่อมาจนสิ้นสุดการทดลองเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสดของดอกกุหลาบทุกทรีตเมนต์จะเริ่มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นในวันที่ 2 และวันที่ 3 แต่ทรีตเมนต์ที่ 1 ของวันที่ 3 มีน้ำหนักลดลงจาก 104.70 เป็น 102.57 เปอร์เซ็นต์ ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ หลังจากนั้นในวันที่ 4 ถึง วันที่ 7 ทุกทรีตเมนต์มีน้ำหนักลดลง โดย ทรีตเมนต์ที่ 1 มีน้ำหนักลดลงมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทุกทรีตเมนต์ ค่า L ของดอกกุหลาบในวันที่ 0 ถึงวันที่ 7 ค่าความสว่างของสี ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติและค่า a ของดอกกุหลาบในวันที่ 1 ถึงวันที่ 7 ค่า a ของทุกทรีตเมนต์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การทดลองนำดอกกุหลาบสีขาวดอกใหญ่มาย้อมสีเขียว (ฟาสต์กรีน เอ็ฟซีเอ็ฟ) แล้วนำมาปักแจกันในสารละลายต่างๆวางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ทรีตเมนต์ (Tretment) 3 ซ้ำ (Replication) โดยมีทรีตเมนต์ต่างๆดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 น้ำกลั่น (Control) ทรีตเมนต์ที่ 2 เอทานอล 2% + น้ำตาลซูโครส 5% ทรีตเมนต์ที่ 3 กรดซิตริก 150 ppm + น้ำตาลซูโครส 5% ทรีตเมนต์ที่ 4 กรดซาลิไซลิก300 ppm + น้ำตาลซูโครส 5% ผลการทดลองครั้งนี้พบว่า อายุการปักแจกันของดอกกุหลาบย้อมสีเขียว (ฟาสต์กรีน เอ็ฟซีเอ็ฟ) ทรีตเมนต์ที่ 2 และทรีตเมนต์ที่ 4 มีอายุการปักแจกันนานที่สุด คือ 5.06 วันรองลงมาคือทรีตเมนต์ที่ 3 และ 1 มีอายุการปักแจกัน 4.93 และ 3.73 วันตามลำดับ ทรีตเมนต์ที่ 2 ทรีตเมนต์ ที่ 3 และ 4 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 1ปริมาณการดูดน้ำของทุกทรีตเมนต์เริ่มที่ 0 มิลลิลิตร โดยวันที่ 2 และวันที่ 3 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ วันที่ 4 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 1 วันที่ 5 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 6 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 7 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีปริมาณการดูดน้ำมากที่สุด ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกุหลาบ วันที่ 0 และวันที่ 1 ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยวันที่ 2 ทรีตเมนต์ที่ 1 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 3และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 3 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ วันที่ 4 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 วันที่ 5 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด ทุก ทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ วันที่ 6 ทรีตเมนต์ที่ 3 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ทรีตเมนต์ที่ 1 วันที่ 7 ทรีตเมนต์ที่ 2 มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทรีตเมนต์ที่ 1 และทรีตเมนต์ที่ 4 คะแนนความสด หลังจากย้อมสีแล้ว ทุกทรีตเมนต์ มีคะแนนความสดเท่ากับ 5 ซึ่งเป็นคะแนนที่ดีมาก และคะแนนจะลดลงเรื่อยๆในวันต่อมาจนสิ้นสุดการทดลองเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสดของดอกกุหลาบทุกทรีตเมนต์จะเริ่มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นในวันที่ 2 และวันที่ 3 แต่ทรีตเมนต์ที่ 1 ของวันที่ 3 มีน้ำหนักลดลงจาก 104.70 เป็น 102.57 เปอร์เซ็นต์ ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ หลังจากนั้นในวันที่ 4 ถึง วันที่ 7 ทุกทรีตเมนต์มีน้ำหนักลดลง โดย ทรีตเมนต์ที่ 1 มีน้ำหนักลดลงมากที่สุด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทุกทรีตเมนต์ ค่า L ของดอกกุหลาบในวันที่ 0 ถึงวันที่ 7 ค่าความสว่างของสี ทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติและค่า a ของดอกกุหลาบในวันที่ 1 ถึงวันที่ 7 ค่า a ของทุกทรีตเมนต์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ |