คุณภาพทางกายภาพของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับฟางแห้ง ข้าวโพดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ ![]() ![]() งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับฟางแห้ง ข้าวโพดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยอัตราส่วนของพืชหมักคือ หญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด จะแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 อัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 30:20:30 ต่อน้ำหนักพืชสด กลุ่มที่ 2 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:20:40 ต่อน้ำหนักพืชสด และกลุ่มที่ 3 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสด ทั้ง 3 กลุ่มมีการเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 ทำการทำการทดลองจำนวนกลุ่มละ 3 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้พืชหมักจำนวน 9 ถุง รวมทั้งหมด 27 ถุง 1 โดยใช้ระยะเวลาในการหมัก 21 วัน โดยเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพืชหมัก คือ ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น และเนื้อสัมผัส รวมทั้งข้อมูลค่าความเป็นกรด-ด่างของพืชหมักทั้ง 3 กลุ่ม มาเปรียบเทียบกัน และนำข้อมูลมาวางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) คำนวณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean ± SD) วิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance; ANOVA) และเปรียบเทียบคนแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan's new multiple range test (DMRT) ที่ระดับความ เชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพและเคมีของพืชหมัก กลุ่มที่ 3 โดยอัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสดและเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 เหมาะสำหรับการทำพืชหมักเพื่อใช้ป็นอาหารสัตว์มากที่สุด ด้านลักษณะปรากฏของสี พืชหมักมีสีเหลืองอมเขียว กลิ่นลักษณะคล้ายผลไม้ดอง เนื้อสัมผัสไม่เละ ไม่จับกันเป็นก้อน ไม่มียีสต์หรือเชื้อราเจือปน และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.69 ซึ่งเป็นกรดปานกลาง งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของหญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับฟางแห้ง ข้าวโพดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยอัตราส่วนของพืชหมักคือ หญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด จะแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 อัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 30:20:30 ต่อน้ำหนักพืชสด กลุ่มที่ 2 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:20:40 ต่อน้ำหนักพืชสด และกลุ่มที่ 3 อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสด ทั้ง 3 กลุ่มมีการเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 ทำการทำการทดลองจำนวนกลุ่มละ 3 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้พืชหมักจำนวน 9 ถุง รวมทั้งหมด 27 ถุง 1 โดยใช้ระยะเวลาในการหมัก 21 วัน โดยเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพืชหมัก คือ ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น และเนื้อสัมผัส รวมทั้งข้อมูลค่าความเป็นกรด-ด่างของพืชหมักทั้ง 3 กลุ่ม มาเปรียบเทียบกัน และนำข้อมูลมาวางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) คำนวณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean ± SD) วิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance; ANOVA) และเปรียบเทียบคนแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan's new multiple range test (DMRT) ที่ระดับความ เชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพและเคมีของพืชหมัก กลุ่มที่ 3 โดยอัตราส่วนของหญ้าเนเปียร์ต่อฟางแห้ง และข้าวโพด เท่ากับ 20:40:20 ต่อน้ำหนักพืชสดและเสริมด้วยกากน้ำตาลร้อยละ 10 เหมาะสำหรับการทำพืชหมักเพื่อใช้ป็นอาหารสัตว์มากที่สุด ด้านลักษณะปรากฏของสี พืชหมักมีสีเหลืองอมเขียว กลิ่นลักษณะคล้ายผลไม้ดอง เนื้อสัมผัสไม่เละ ไม่จับกันเป็นก้อน ไม่มียีสต์หรือเชื้อราเจือปน และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.69 ซึ่งเป็นกรดปานกลาง |